วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่3) แห่ตามฝูงชน

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดเงิน  (ตอนที่3) แห่ตามฝูงชน







ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยกำลังร้อนแรงได้ที่เลยนะครับ...นักลงทุนส่วนใหญ่เล่นหุ้นด้วยความมั่นใจ...ซื้อตัวโน้นแล้วเอามาขายแล้วซื้อตัวใหม่ไปๆมาๆ...หลายๆคนเริ่มคิดว่าตลาดหุ้นเป็นสถานที่ทำเงินได้ง่ายๆ  ไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลและความเสี่ยงใดๆ  ขอแค่รู้สึกว่ามันจะขึ้นก็เข้าไปซื้อ... Derivative warrant ทำกำไรได้เป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในเวลาเพียงไม่กี่วันทั้งที่ราคาตลาดของวอร์แรนต์เมื่อใช้สิทธิแล้วสูงกว่าราคาตลาดของตัวแม่อย่างมากกกก ...เรามาลองดูกันต่อไปนะครับว่าท้ายที่สุดแล้วทุกอย่างจะเป็นอย่างไร...


ที่ผมพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันเนื่องจากต้องเสนอเรื่อง Overconfidence ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน...(ต้น ต.ค. 53) และอีกอันที่เป็นอติที่เห็นชัดๆตอนนี้คือ ...พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน

เราจะมาต่อเรื่อง Behavioral finance ในหัวข้อต่อไปนะครับ...


2. Herd behavior พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน


สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกคือ...การเกิดฟองสบู่และการแตกของฟองสบู่  (Bubbles and bursting of bubble)  ที่เราจะเห็นล่าสุดคือ ...ฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกา... ก่อนหน้านี้ก็ฟองสบู่ดอตคอม..

เพราะอะไรหายนะทางเศรษฐกิจถึงได้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า...ราวกับมนุษย์เป็นเด็กน้อยที่ไม่รู้จักความเจ็บปวด...

มนุษย์เราถูกจัดว่าเป็นสัตว์สังคม...มีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ...ความต้องการภายในลึกๆของมนุษย์นั้นล้วนแต่ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น...เราจะรู้สึกสบายใจและปลอดภัยเมื่อมีคนที่คิดคล้ายๆกับเราและยอมรับเรา...โดยที่ไม่รู้อย่างแท้จริงด้วยซ้ำว่าเรื่องที่ยอมรับกันนั้นเป็นความจริงหรือไม่  เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์หรือไม่...

ผมเคยไปเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีสยาม...แล้วบันไดเลื่อนเกิดเสียเลื่อนไม่ได้...ข้างๆบันไดเลื่อนจะมีบันไดธรรมดาอยู่ด้วย  แต่คนที่อยู่ข้างหน้าผม 20 กว่าคน  เลือกที่จะเดินลงบันไดเลื่อนทุกคน(เดินตามๆกันไปเรื่อยๆ)...ทั้งๆที่ผมมองว่าขั้นของบันไดเลื่อนสูงกว่าและเดินยากกว่าบันไดทั่วไป...ผมเลือกที่จะเดินลงบันไดธรรมดาแล้วหลังจากนั้นก็เริ่มมีคนเดินลงบันไดธรรมดาบ้าง...

ถ้าเราลองสังเกตดูดีๆจะมีพฤติกรรมทำตามๆกันเต็มไปหมดเลยครับ...(รวมถึงตัวเราเองด้วยตอนที่ไม่รู้ตัว...) เช่น  คนส่วนใหญ่จะเลือกเข้าร้านอาหารที่มีคนกินเยอะมากกว่าร้านอาหารที่ไม่มีใครนั่งกินอยู่เลย...(ทั้งๆที่ร้านนั้นอาจจะอร่อยกว่าแต่ยังไม่ถึงเวลาที่ขาประจำจะมานั่งกิน)

ยิ่งสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน  ไม่ปลอดภัย... มนุษย์ยิ่งต้องการที่พึ่ง  เราจะสบายใจถ้ามีคนทำเหมือนเราหลายๆคน

การทำตามๆกันนั้นไม่ได้เป็นเฉพาะด้านจิตใจและพฤติกรรมเท่านั้น  แม้แต่ด้านชีวภาพก็มีการปรับตัวเข้าหากันอย่างน่าอัศจรรย์  มีการทดลองเกี่ยวกับรอบของประจำเดือนในผู้หญิงที่เข้าไปอยู่บ้านเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปปรากฎว่าประจำเดือนของผู้หญิงที่เข้าร่วมในการศึกษาจากเดิมที่ไม่ตรงกันได้เคลื่อนเข้ามาอยู่ในเวลาใกล้เคียงกัน...หรือเราจะเห็นบุคคลิกลักษณะและหน้าตาของคนที่อยู่ด้วยกันนานๆก็จะมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น...

การที่จะคิดไม่เหมือนคนอื่นๆ...ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย...เพราะแม้แต่ปัจจัยทางชีวภาพทางร่างกายส่วนที่เราควบคุมไม่ได้ยังมีการทำตามกัน...แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องความคิดที่เปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย...


สิ่งที่สำคัญกว่าการตระหนักว่าเรากำลังทำตามคนอื่นๆอย่างไม่รู้ตัว คือ...แล้วจริงๆสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้องหรือไม่...มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นหรือไม่  สิ่งที่เราทำมีโทษกับตัวเองและผู้อื่นหรือไม่  เรามีเจตนาหรือต้องการผลลัพธ์อะไรจากการกระทำนี้???


หรือเราแค่ทำไปเพราะความไม่รู้   เพียงเพราะความอุ่นใจว่าเราไม่แปลกแยกจากคนอื่น...โดยที่ผลลัพธ์ของการกระทำนั้นอาจจะเป็นหายนะ

พฤติกรรมเหล่านี้นำด้วยความเชื่อ  ความศรัทธา  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย...แม้ว่าในบางเรื่องความเชื่อนั้นอาจจะพิสูจน์เลยไม่ได้ก็ตามที...ขอเพียงเป็นบุคคลที่เราให้ความวางใจพูดหรือทำเราก็พร้อมที่จะเชื่อและทำตาม...

และพร้อมที่จะทำลายล้างคนที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อเช่นกัน!!!...

นี่คือหนึ่งในพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล (Irrational behavior) ของมนุษย์

มี 2 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทำตามฝูงชน....1. แรงกดดันทางสังคมที่ทำให้คนคล้อยตามกัน  นี่คือสิ่งที่มีอำนาจมาก...คนเราล้วนแต่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและต้องการการยอมรับจากผู้อื่นมากกว่าที่เป็นคนที่ถูกทิ้ง... 2. การให้เหตุผลที่ว่า...”คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะผิด”...แม้ว่าคุณจะมีความคิดว่าความคิดคนส่วนใหญ่ไร้เหตุผลแต่คุณก็ยังจะพยายามบังคับตัวเองให้เชื่อและทำตามคนส่วนใหญ่ต่อไปโดยเฉพาะตอนที่คุณประสบการณ์ยังน้อย  เราคงยังไม่รู้อะไรที่คนส่วนใหญ่รู้ล่ะน่า...(นี่อาจจะใกล้เคียงแนวคิดเรื่องตลาดมีประสิทธิภาพ...ซึ่งผมพูดไปเมื่อตอนแรกว่าตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา)

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1990 นักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยที่อเมริกา...ซื้อขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เนต(Dotcom) อย่างเมามันส์ด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล  (เทียบของบ้านเราคงเป็นหุ้นที่เกี่ยวกับ 3 G ในช่วงที่ผ่านมา)  แม้ว่าหุ้นเหล่านี้หลายตัวบริษัทไม่ได้มีกำไรนัก  แต่ราคาหุ้นกลับขึ้นอย่างไร้แนวต้าน...นักลงทุนไม่มีความหวาดกลัวใดๆเพราะคิดว่าซื้อแพงแล้วก็ยังขายได้แพงกว่า...และทุกๆคนก็ล้วนทำแบบเดียวกันหมด...

เวลาที่เราซื้อหุ้นแบบเดียวกับคนอื่นเราจะรู้สึกปลอดภัยเพราะถ้าคนอื่นกำไรเราก็กำไรด้วย...ถ้าเราขาดทุนคนอื่นก็ขาดทุนด้วยรวมถึงเรายังโทษว่าเป็นความผิดของคนที่เราซื้อตาม...ซึ่งความรู้สึกปลอดภัย(Sense of security)ในการทำตามคนอื่นไม่ได้หมายความว่าหุ้นตัวนั้นจะปลอดภัย...

การแห่ทำตามฝูงชนจึงเป็นอคติ(Bias)อย่างหนึ่งที่ทำให้ทนุษย์มองไม่เห็นความจริงที่เกิดขึ้น...

ลองทบทวนดูว่าหุ้นที่เราซื้อหรือการตัดสินใจต่างๆในชีวิตที่เราทำไปนั้นเป็นเพียงเพราะคนส่วนใหญ่ทำกันและทำตามค่านิยมของสังคมหรือไม่... บางทีหุ้นเด็ดของเซียนๆที่คุณซื้อตามอยู่อาจจะเป็นหุ้นที่วิเคราะห์ผิดพลาดหรือเซียนเจตนาปล่อยของก็เป็นได้... พอเรารับของๆเซียนคนนั้นแล้วหุ้นตกกราวรูดเซียนก็จะเข้ามาปลอบใจนั่นนี่โน่น... เหมือนในหนังไทยฉากกระท่อมปลายนาวันฝนตกไม่มีผิด...

โดยส่วนตัวผมไม่ซื้อหุ้นตามใครเลย (ช่วงเล่นใหม่ๆซื้อตามที่โบรกเชียร์ 555 เจ๊งครับ)... แต่ถ้าซื้อแล้วไปตรงกับเซียนนับเป็นเรื่องที่ดีเพราะมีคนคอยเชียร์ให้โดยที่ผมไม่ต้องเหนื่อยออกแรง... อยากให้นักลงทุนรายย่อยใช้ความคิดตัวเองมากกว่าจะพึ่งพิงสิ่งภายนอกเพราะนี่คือหนทางสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์... ให้บอกตัวเองว่า  “ผิดก็เพราะฉันตัดสินใจผิด  ฉันจะเรียนรู้จากการตัดสินใจของฉันไม่ว่าผลลัพธ์ของการตัดสินใจของฉันจะเป็นอย่างไร  ฉันจะเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคงด้วยจิตใจที่กล้าหาญและเต็มไปด้วยสติปัญญา” ให้ชีวิตและผลการลงทุนขึ้นอยู่กับความคิดการกระทำของเราเอง...(Sense of mastery)

สุดท้ายผมอยากบอกว่า...


การทำตามคนอื่นไม่ใช่เรื่องไม่ดี...ไม่ต้องไปบังคับให้ตัวเองแปลกกว่าชาวบ้านหรือทำไม่เหมือนใคร...แต่ให้มีสติและรู้ว่าคุณค่าและเป้าหมายของการกระทำ(การลงทุน)ที่แท้จริงอยู่ที่ไหนมากกว่าจะมาดูแค่ว่า...เหมือนคนอื่นหรือไม่เหมือนคนอื่นครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น