สมัยเรียนชั้นม.ปลาย วิชาที่ผมชอบมากที่สุดคือ วิชาฟิสิกส์ เพราะผมรู้สึกสนุกกับการสังเกตสิ่งรอบตัวในมุมมองด้านกายภาพ การค้นหาความจริงผ่านการทดลองและการแก้โจทย์ปัญหาในรูปแบบตัวเลขที่ชัดเจน ส่วนวิชาที่ผมไม่ชอบที่สุดคือ วิชาชีววิทยา เพราะผมมองไม่เห็นอะไรมากไปกว่าการท่องจำเพื่อสอบให้ผ่านไป ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบไทยๆ
แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีหนังสือ pop science ทางชีววิทยาโดยเฉพาะเรื่อง วิวัฒนาการ (Evolution) ออกมามากมายทั้งหนังสือภาษาไทยและหนังสือต่างประเทศ กลายเป็นว่า...ชีววิทยาสนุกกว่าที่คิด!! ผมรู้สึกสนุกมากกว่าการอ่านหนังสือชีววิทยาสมัยม.ปลายอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะการอ่านครั้งนี้เต็มไปด้วยความอยากรู้ ความสนุกและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้
ผมลองจะอธิบายเรื่องวิวัฒนาการให้ฟังแบบสั้นๆนะครับ
การวิวัฒนาการ (Evolution)...ไม่ใช่การพัฒนาการ (Development) คนส่วนใหญ่ชอบใช้การวิวัฒนาการในความหมายของการพัฒนาตนเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ส่งผ่านพันธุกรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น ถ้าเราขยันเล่นกล้ามจนกล้ามใหญ่ ไม่ได้หมายความว่าลูกหลานของเราจะกล้ามใหญ่ไปด้วย เพราะการที่เล่นกล้ามจนกล้ามใหญ่ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พันธุกรรม
การวิวัฒนาการ (Evolution)...ไม่ใช่การปรับตัว (Adaptation) เช่น บางคนคิดว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ทำงานแต่ในห้อง ต่อไปมนุษย์จะหัวโตแขนขาลีบเพราะใช่แต่สมอง ซึ่งนี่ไม่ใช่วิวัฒนาการเพราะไม่ได้มีการส่งผ่านพันธุกรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน แน่นอนว่าถ้าไม่ใช้แขนขาเลย แขนขาย่อมลีบลง แต่นี่คือการปรับตัวตามการใช้งานของร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาในพันธุกรรมอยู่แล้ว
การวิวัฒนาการคือ...การเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งส่งต่อไปอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าดีขึ้นหรือแย่ลง แต่สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดไปได้ต้องเหมาะสมที่อยู่รอดและขยายพันธุ์ในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ
การศึกษาเรื่องวิวัฒนาการทำให้เรารู้เส้นการของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เซลเดียวจนมาถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลที่มีสมองส่วนหน้าพัฒนาอย่างมนุษย์เรา ผ่านการศึกษาอย่างมีหลักฐานอย่างมีเหตุผล ไม่ได้คิดขึ้นมาลอยๆ
สิ่งที่ทำให้เกิดการวิวัฒนาการมีเรื่องหลัก 2 อย่าง
1. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งอาจจะมาจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) ที่มีการแลกพันธุกรรมจากเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่งทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เมื่อพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามมา เช่น สามารถผลิตโปรตีนบางชนิดได้ อวัยวะบางอย่างเปลี่ยนไป เป็นต้น
2. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural selection) สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดคือ...สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดในสภาวะแวดล้อมนั้นและขยายเผ่าพันธุ์ได้ ยกตัวอย่างกรณียีราฟ ในอดีตกาลจะมียีราฟหลายพันธ์ทั้งคอยาวคอสั้น การที่เราเห็นยีราฟคอยาวในปัจจุบันแสดงว่า สภาพแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมาทำให้ยีราฟคอยาวอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อเนื่องมาได้ ซึ่งสภาพแวดล้อมนั้นอาจจะเป็น ป่าที่มีแต่ต้นไม้สูง ทำให้ยีราฟคอสั้นหาอาหารไม่ได้และตายไป
เรื่อง Natural selection นี้เอง ทำให้ผมมองเห็นความสำคัญของ”สภาพแวดล้อม”ที่มีผลต่อการอยู่รอดและการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ซึ่งสภาพแวดล้อมนั้นต้องเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต
ในโลกของการลงทุน คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานาน คนที่อยู่ในวงการธุรกิจมานาน หรือคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนหลังกลับไป จะพบการเกิด การคงอยู่ การขยายตัว การเสื่อมถอยและดับไปของทั้งบริษัท อุตสาหกรรม รวมถึงนักลงทุนและนักเก็งกำไร ที่มีทั้งอยู่รอดในตลาดหุ้นได้ ขาดทุนหมดตัวออกจากตลาดไป มีทั้งสร้างชื่อเป็นเซียนได้ชั่วคราวแค่ในช่วงตลาดขาขึ้น แต่ตลาดขาลงเอาตัวไม่รอดต้องออกจากตลาดไป มีทั้งเซียนตัวจริงที่อยู่รอดและเติบโตได้ในทุกสถานการณ์
ลองมาดูมุมมองเรื่อง Natural selection ในโลกแห่งการลงทุนกันนะครับ
แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีหนังสือ pop science ทางชีววิทยาโดยเฉพาะเรื่อง วิวัฒนาการ (Evolution) ออกมามากมายทั้งหนังสือภาษาไทยและหนังสือต่างประเทศ กลายเป็นว่า...ชีววิทยาสนุกกว่าที่คิด!! ผมรู้สึกสนุกมากกว่าการอ่านหนังสือชีววิทยาสมัยม.ปลายอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะการอ่านครั้งนี้เต็มไปด้วยความอยากรู้ ความสนุกและสามารถนำไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้
ผมลองจะอธิบายเรื่องวิวัฒนาการให้ฟังแบบสั้นๆนะครับ
การวิวัฒนาการ (Evolution)...ไม่ใช่การพัฒนาการ (Development) คนส่วนใหญ่ชอบใช้การวิวัฒนาการในความหมายของการพัฒนาตนเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ส่งผ่านพันธุกรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน เช่น ถ้าเราขยันเล่นกล้ามจนกล้ามใหญ่ ไม่ได้หมายความว่าลูกหลานของเราจะกล้ามใหญ่ไปด้วย เพราะการที่เล่นกล้ามจนกล้ามใหญ่ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พันธุกรรม
การวิวัฒนาการ (Evolution)...ไม่ใช่การปรับตัว (Adaptation) เช่น บางคนคิดว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ทำงานแต่ในห้อง ต่อไปมนุษย์จะหัวโตแขนขาลีบเพราะใช่แต่สมอง ซึ่งนี่ไม่ใช่วิวัฒนาการเพราะไม่ได้มีการส่งผ่านพันธุกรรมไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน แน่นอนว่าถ้าไม่ใช้แขนขาเลย แขนขาย่อมลีบลง แต่นี่คือการปรับตัวตามการใช้งานของร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวมาในพันธุกรรมอยู่แล้ว
การวิวัฒนาการคือ...การเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมจากรุ่นหนึ่งส่งต่อไปอีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าดีขึ้นหรือแย่ลง แต่สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดไปได้ต้องเหมาะสมที่อยู่รอดและขยายพันธุ์ในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ
การศึกษาเรื่องวิวัฒนาการทำให้เรารู้เส้นการของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เซลเดียวจนมาถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลที่มีสมองส่วนหน้าพัฒนาอย่างมนุษย์เรา ผ่านการศึกษาอย่างมีหลักฐานอย่างมีเหตุผล ไม่ได้คิดขึ้นมาลอยๆ
สิ่งที่ทำให้เกิดการวิวัฒนาการมีเรื่องหลัก 2 อย่าง
1. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งอาจจะมาจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) ที่มีการแลกพันธุกรรมจากเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่งทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เมื่อพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามมา เช่น สามารถผลิตโปรตีนบางชนิดได้ อวัยวะบางอย่างเปลี่ยนไป เป็นต้น
2. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural selection) สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดคือ...สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดในสภาวะแวดล้อมนั้นและขยายเผ่าพันธุ์ได้ ยกตัวอย่างกรณียีราฟ ในอดีตกาลจะมียีราฟหลายพันธ์ทั้งคอยาวคอสั้น การที่เราเห็นยีราฟคอยาวในปัจจุบันแสดงว่า สภาพแวดล้อมในช่วงที่ผ่านมาทำให้ยีราฟคอยาวอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อเนื่องมาได้ ซึ่งสภาพแวดล้อมนั้นอาจจะเป็น ป่าที่มีแต่ต้นไม้สูง ทำให้ยีราฟคอสั้นหาอาหารไม่ได้และตายไป
เรื่อง Natural selection นี้เอง ทำให้ผมมองเห็นความสำคัญของ”สภาพแวดล้อม”ที่มีผลต่อการอยู่รอดและการคงอยู่ของเผ่าพันธุ์ ซึ่งสภาพแวดล้อมนั้นต้องเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต
ในโลกของการลงทุน คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานาน คนที่อยู่ในวงการธุรกิจมานาน หรือคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนหลังกลับไป จะพบการเกิด การคงอยู่ การขยายตัว การเสื่อมถอยและดับไปของทั้งบริษัท อุตสาหกรรม รวมถึงนักลงทุนและนักเก็งกำไร ที่มีทั้งอยู่รอดในตลาดหุ้นได้ ขาดทุนหมดตัวออกจากตลาดไป มีทั้งสร้างชื่อเป็นเซียนได้ชั่วคราวแค่ในช่วงตลาดขาขึ้น แต่ตลาดขาลงเอาตัวไม่รอดต้องออกจากตลาดไป มีทั้งเซียนตัวจริงที่อยู่รอดและเติบโตได้ในทุกสถานการณ์
ลองมาดูมุมมองเรื่อง Natural selection ในโลกแห่งการลงทุนกันนะครับ