วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การพนัน VS การลงทุน

สมัยก่อนที่ผมจะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น  ผมเคยมีเพื่อนคนนึงที่เล่นหุ้น  ตอนนั้นผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหุ้นคืออะไร  โดยเพื่อนผมเล่นหุ้นเหมือนเล่นการพนัน  ชอบถามมาร์เก็ตติ้งว่าซื้อตัวไหนดี  ขาดทุนก็โทษคนอื่น  ดูกระวนกระวายใจตลอดเวลา  ถามความเห็นคนรอบตัวตลอดเวลา  พอได้กำไรก็ดีใจโวยวาย  ช่วงนั้นผมเรียนปี 5 การเรียนจะเบาลงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมากพอที่จะมีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง  ผมเลยเอาเวลาไปเล่นหมากล้อมแทนและไม่คิดจะสนใจเล่นหุ้นเลยแม้แต่น้อย 

โอกาสการลงทุนในหุ้นของผมหายไป 5 ปีเพียงเพราะผมคิดว่าคนเล่นหุ้นทุกคนต้องเป็นแบบเพื่อนของผม  ที่เล่นหุ้นเหมือนเล่นการพนัน  ปัจจุบันเพื่อนคนนี้ยังคงเหมือนเดิมและไม่ได้ร่ำรวยขึ้นมาจากหุ้นแต่อย่างใด

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมเสียใจมาก  ผมเข้าตลาดหุ้นช้ามากกว่าที่ควรจะเป็น  ผมเริ่มเล่นตอนอายุ 28 ปี  ทั้งที่ช่วงที่ 5 ปีผ่านมาผมมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคมากมาย  สามารถวิเคราะห์เป็นหุ้นเติบโตได้หลายตัว  แต่เพียงเพราะผมไม่มีตัวอย่างนักลงทุนที่ดีและมีทัศนคติในด้านลบอย่างมากกับตลาดหุ้น

ผมไม่อยากให้นักลงทุนหน้าใหม่ต้องซ้ำรอยผม  ...ที่เคยมองว่าหุ้นคือการพนัน  เล่นแล้วอาจเจ๊งหมดตัวได้  คนที่รวยจากหุ้นต้องมีข่าววงใน  ต้องมีเวลาเฝ้าตลาดตลอดเวลา  ต้องเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีเงินหนา  ต้องตามข่าวตลอดเวลา  นักลงทุนรายย่อยคนทำงานประจำที่ค่อนข้างยุ่งอย่างผมไม่มีทางเล่นแล้วได้กำไรจากหุ้นได้  เรื่องรวยจากหุ้นไม่ต้องพูดถึง...ไม่มีทาง!!!

ทัศนคติต่อตลาดหุ้นในเชิงการลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก  โชคยังดีที่ช่วงปี 52 ผมได้มีผู้ใหญ่ท่านนึงแนะนำให้ผมไปอ่านหนังสือของปู่ Warren Buffet  ทัศนคติต่อการเล่นหุ้นของผมก็เริ่มเปลี่ยนไป...

การมีกัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่สำคัญมากเลยนะครับ  ถึงผมจะเจอช้าหน่อยแต่ผมก็ยังเจอ  และครั้งนี้ผมตั้งใจเป็นกัลยาณมิตรให้กับทุกคนโดยเฉพาะมือใหม่ครับ

เล่นหุ้นให้เป็นการลงทุนในหุ้น  ไม่ใช่การพนัน  เพราะถ้าเล่นหุ้นแบบการพนันจะได้รับผลลัพธ์แบบการพนัน ..คือ หมดตัว!

เพื่อนๆเชื่อไหมว่า...ตั้งแต่ก่อนมาเล่นหุ้น  ผมแทบไม่เล่นการพนันเลย  ป๊อกเด้งเล่นกินตังค์บาทสองบาทก็ไม่เล่น  เล่นไพ่ก็เล่นแบบไม่กินตังค์  เพราะผมคิดว่าการพนันเป็นอบายมุขเป็นทางสู่ความเสื่อม  ที่ผมเคยเล่นครั้งเดียวคือซื้อเลขท้าย 3 ตัว  ซื้อให้รู้ว่าเค้าเล่นกันยังงัย  แต่ผลลัพธ์นะเหรอ?....แน่นอนครับ...ผมถูกเจ้ามือกินเรียบ!  555

คนอย่างผมที่ไม่เล่นการพนันเลยแม้ว่าจะเดิมพัน 1-2 บาท  แต่กลับมาเล่นหุ้นด้วยจำนวนเงินเก็บเกือบทั้งหมดในช่วง 2 ปีผ่านมา  นั่นเป็นเพราะผมมองว่าการเล่นหุ้นคือการลงทุนครับ

การพนันและการลงทุนต่างกันอย่างไร?

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการประเมิน CEO ของหุ้นเติบโต : กรณีศึกษา Steve Jobs



บทความนี้จะพูดถึงการประเมินผู้บริหารนะครับ  โดยผมจะยกตัวอย่าง Steve Jobs iCEO ที่เป็นขวัญใจของผมและใครอีกหลายคนมาประกอบเนื้อหาบทความนี้  และหากบทความนี้เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน  ขออุทิศความดีให้กับ Steve Jobs ผู้เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของผม

Steve Jobs จัดเป็นผู้กุมความเป็นความตายการเติบโตของบริษัทแอปเปิ้ล  เนื่องจากช่วงที่เขาออกจากแอปเปิ้ลไปบริษัทแอปเปิ้ลกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดกลางธรรมดาที่ประสบปัญหาขาดทุน  เมื่อจอบส์เข้ามาอีกครั้งแอปเปิ้ลแข็งแกร่งและเติบโตจนกลายเป็นบริษัทที่มี Market caps ใหญ่ที่สุดในโลก  ราคาหุ้นขึ้นเป็น 100 เท่า (นับเวลาจากปี 1985 ตั้งแต่ที่จอบส์ลาออกจนถึงปัจจุบัน) นี่คือหุ้นเติบโตชั้นเลิศเมื่อมี CEO ชั้นเลิศเข้ามาบริหาร  บริษัทแอปเปิ้ลมีการคิดค้นและผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของคนทั้งโลกอย่าง iPhone, iPod, iPad, Macbook Air และมีร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าของแบรนด์แอปเปิ้ลอย่าง Apple Store

การลงทุนในหุ้นเติบโต  เวลาบริษัทจะมีการเติบโตขึ้นมาได้ต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสินค้าและบริการในระดับสูง (Demand trend  ขาขึ้น)  และความสามารถในการแข่งขันมากกว่าบริษัทอื่นในอุตสาหกรรม (DCA)  ซึ่งหุ้นเติบโตจะมีการคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ที่ทำให้บริษัทเกิดความแตกต่าง (Differentiation) เพื่อที่จะก้าวมาเป็นผู้นำหรือผู้เล่นแนวหน้าในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต  ในบางอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตจะมีการใช้เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  เช่น อุตสาหรกรรม Information technology (IT), Bio technology, Nanotechnology, etc. การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่เข้าได้กับความต้องการของผู้บริโภคถือเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายการอยู่รอดและเติบโตของบริษัท   อย่างสินค้า IT ทุกคนรู้ดีว่าสินค้าตกรุ่นเร็วขนาดไหน

แม้แต่การผลิตสินค้าและบริการที่ดูเรียบง่ายและไม่ได้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่าง  ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern trade) ที่เติบโตโดยการขยายสาขาตาม Model เดิมที่ประสบความสำเร็จ  ไม่ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ตลอดเวลา  ในช่วงเริ่มต้นอุตสาหกรรมการค้าปลีกสมัยใหม่จะมีการคิดค้นนวัตกรรมด้านรูปแบบธุรกิจ  (ไม่ใช่นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เหมือนกับแอปเปิ้ลนะครับ)  ยกตัวอย่าง  เรื่องการบริหาร logistic supply chain ที่มีประสิทธิภาพ, การขายสินค้าโดยให้ผู้ชื้อเลือกของเอง (การค้าปลีกเมื่อก่อนผู้ซื้อจะต้องบอกผู้ขายและผู้ขายจะหยิบมาให้เพื่อป้องกันการขโมยของ), ระบบการคิดบัญชีแบบมีใบเสร็จ  ทำให้เจ้าของไม่ต้องเฝ้าเคาน์เตอร์คิดเงินตลอดเวลาสามารถทำงานบริหารได้เต็มที่และให้พนักงานทำงานแทน  เพราะระบบจะดูแลเรื่องการตรวจสอบการเงิน  เงินมีที่มาที่ไปและตรวจสอบความซื่อสัตย์ของพนักงานได้  หรืออีกตัวอย่าง  ร้านกาแฟอย่าง Starbuck ...จากเดิมที่อุตสาหกรรมกาแฟจะขายแต่กาแฟเป็นแก้วให้กับลูกค้า  แต่ Starbuck ได้สร้างนวัตกรรมการนั่งในร้านด้วยการแต่งร้านที่สวยงามมีบรรยากาศดี  สามารถเล่นเนตได้  นั่งคุยกับเพื่อนและเอาโน๊ตบุ๊คมาทำงานได้  รวมถึงการบริหารจัดการที่ดี การควบคุมคุณภาพสินค้าในทุกสาขา  ทำให้ Starbuck เป็นมากกว่าร้านขายกาแฟจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านธุรกิจ 

นวัตกรรมทำให้เกิดความแตกต่างและนำไปสู่การเติบโตในแบบฉบับของตนเอง

พึงระวังว่า...หุ้นเติบโตชั้นเลิศของทศวรรษนึงอาจจะเป็นคนละตัวกับทศวรรษต่อไป  ดังนั้นต้องไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต

ความยากในการลงทุนหุ้นเติบโตอย่างหนึ่งคือ  การมองให้ธุรกิจใหม่ให้ออก  เพราะโลกของธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป  เมื่อก่อนธุรกิจที่สร้างความร่ำรวยและเติบโตให้กับเจ้าของคือธุรกิจการผลิต  เนื่องจากตอนต้นของยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมความต้องการสินค้ามีสูงมาก  แต่โรงงานผลิตมีน้อย  ผู้ที่เป็นเจ้าของกำลังการผลิตสามารถสร้างการเติบโตได้มาก  แต่ในยุคข้อมูลข่าวสารแบบปัจจุบัน  การตั้งโรงงานไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป  การเข้าถึงทุนไม่ยากเช่นกัน  ดังนั้นเราจึงมีกำลังการผลิตที่เพียงพอหรือค่อนข้างมากกว่าความต้องการนิดหน่อยด้วยซ้ำ  ทำให้การหาหุ้นเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตอาจจะทำไม่ได้ง่ายนักเหมือนเมื่อก่อน  (อุตสาหกรรมการผลิตที่โตได้ต้องมี Barrier of entry หรืออาจจะมี ความสามารถบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง)  ยุคปัจจุบันอาจจะต้องสังเกตธุรกิจที่มีนวัตกรรมที่สร้างสินค้าและบริการที่แตกต่างซึ่งตรงใจผู้บริโภค  โดยเน้นไอเดียและความคิดสร้างสรรค์เป็นหลักมากกว่าการมีเงินหรือการเป็นเจ้าของทรัพยากร 

การที่บริษัทจะเป็นผู้นำการคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาและนำมาใช้ได้จริงนั้น  จะต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถ  ซึ่งผมถือว่า Steve Jobs เป็นตัวอย่างที่ดีมากในการเป็นผู้นำการคิดค้นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ทำให้บริษัทแอปเปิ้ลกลายเป็นผู้นำวงการ IT โลกในปัจจุบัน

แม้ว่าในการทฤษฎีแล้วการลงทุนปัจจัยพื้นฐาน  นักลงทุนจะกลัวการลงทุนที่ต้องพึ่งผู้นำคนเดียวมากเกินไปเพราะถือเป็นความเสี่ยงถ้าผู้นำไม่อยู่แล้ว เช่น เสียชีวิตหรือลาออกจากบริษัท  การลงทุนของเราจะต้องเป็นอันล้มเหลวกันไป

ปู่บัฟเฟตต์บอกว่า  “I try to buy stock in businesses that are so wonderful that an idiot can run them. Because sooner or later, one will.”  ผม(ปู่)พยายามซื้อหุ้นในธุรกิจที่ยอดเยี่ยมที่แม้แต่คนโง่ก็สามารถบริหารได้  เพราะในไม่ช้าจะมีคนโง่เข้ามาบริหารมัน

ซึ่งผมว่าปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเป็นความเสี่ยงที่สำคัญมากโดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องพึ่งความสามารถเฉพาะตัวของผู้บริหาร

อย่างไรก็ตามเรียนรู้การประเมินคุณสมบัติของ CEO ย่อมเป็นสิ่งดีในการลงทุนหุ้นเติบโต  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลา  และไม่ว่าธุรกิจจะดีแค่ไหนการที่เรามี CEO ที่มีความสามารถย่อมดีกว่ามี CEO ที่ไม่มีความสามารถอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มอง 2 ด้าน

ในยุคที่เต็มไปด้วยแนวคิดมองโลกเชิงบวก (Positive thinking)  จะเห็นได้จากเวลาเราเดินเข้าไปร้านหนังสือจะเจอหนังสือแนวคิดเชิงบวกมากมาย  ซึ่งผมยอมรับว่าการคิดเชิงบวกเป็นสิ่งดีมาก  ทำให้คนเราเห็นโอกาสในวิกฤติ  ทำให้คนเรามีความฝันและมีพลังใจที่จะเดินตามความฝัน  แต่การมองด้านบวกเพียงด้านเดียวนั้นอาจจะไม่ใช่การมองตามจริง  ความจริงคือทุกสิ่งทุกอย่างมี 2 ด้าน  ทั้งด้านบวกและด้านลบ  การมองเพียงด้านเดียวอาจจะทำให้เราขาดมุมมองที่ตรงตามความจริงไป

ถ้าเรามองแต่ด้านบวกแล้วละเลยการมองด้านลบจะมีข้อเสียอย่างไร?

เราจะมองเห็นแต่โอกาสโดยที่เราจะมองไม่เห็นความเสี่ยงเลย  ถ้าเราเป็นนักเรียนแล้วคิดแต่ว่ายังงัยก็สอบได้ชัวร์แล้วไม่อ่านหนังสือเอาเวลาไปเล่นเกมส์โดยไม่คิดจะทบทวนบทเรียน  ต่อให้คิดบวกตลอดเวลาว่าตัวเองสอบผ่านแน่นอน  โอกาสสอบตกย่อมมีสูงกว่านักเรียนที่เตรียมพร้อม,  คนขับรถตู้โดยสารที่เร่งความเร็วให้สูงที่สุดและไม่คิดเลยว่าจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ  ไม่สนใจเสียงท้วงติงของผู้โดยสาร  โอกาสที่เกิดอุบัติเหตุย่อมมีสูงกว่าคนขับที่ระมัดระวัง,  ทีมฟุตบอลที่คิดแต่จะชนะด้วยวิธีบุกแหลกโดยไม่คิดแผนการป้องกันเวลาโดนฝ่ายตรงข้ามสวนกลับ  โอกาสโดนสวนกลับแล้วเสียประตูย่อมมีสูงกว่าทีมที่ระมัดระวัง   

แนวคิดเชิงบวกได้พูดถึงการมองวิกฤติให้เป็นโอกาส  ซึ่งผมว่าการมองว่าวิกฤติคือโอกาสเป็นความคิดที่ดีมากครับ  แต่หากมองแต่โอกาสโดยไม่ระมัดระวังความเสี่ยงเลย  โอกาสจะกลายเป็นวิกฤติได้เช่นกัน

จะดีกว่าไหมถ้าเรามองตามความจริง  คือ  เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบ  เห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรา

การมองโลกในแง่บวกทำให้เรามีความฝัน  มีเป้าหมาย  มีแรงใจที่จะมุ่งไปข้างหน้า  มองเห็นสิ่งดีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การมองโลกในทางลบทำให้เรารู้จักระมัดระวัง  ประเมินและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น  มีแผนการรับมือ

การมองโลกตามจริงทำให้เรามองทุกอย่างตามสิ่งที่เป็น  มองเห็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงในทุกสถานการณ์และเลือกรับมืออย่างเหมาะสม

ลองเลือกที่จะมองโลกให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์กันครับ

ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นตลาดกระทิงเป็นเวลายาวนานหลายๆปีนั้น  เราจะได้ยินเรื่องราวของนักลงทุนหน้าใหม่ๆที่ประสบความสำเร็จมากมาย  บางคนบอกว่าตัวเองทำผลตอบแทนได้หลายร้อยหลายพันเปอร์เซ็นต์  หลายคนใช้เงินกู้ที่เรียกว่าบัญชีมาร์จิ้นลงทุนเต็มที่ตลอดเวลา  หลายคนตั้งตนเองเป็นเจ้าสำนักหรือเป็นเซียน

การเกิด Overconfidence พบได้ในนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังลงทุนมาไม่นานแล้วได้กำไรมากมาย  พวกเขาลงทุนโดยไม่ได้ประเมินความเสี่ยงให้ดีพอ  ไม่ว่าจะด้วยการซื้อหุ้นโดยใช้เงินมาร์จิ้นที่ยืมมาจากโบรกเกอร์  เวลาลงทุนก็ซื้อหนักตัวเดียวเต็มพอร์ต  แน่นอนว่าเราอาจจะได้ยินเรื่องราวการได้กำไรจำนวนมากจากการใช้เงินกู้ยืมเหล่านี้  แต่นิสัยที่สั่งสมจากการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากๆในทุกปีของการลงทุนอาจจะนำมาซึ่งหายนะจากความมั่นใจในตัวเองเกินไป  ลงทุนโดยแบกรับความเสี่ยงที่มากเกินไปตลอดเวลา

ถ้าการลงทุนของพวกเขาเกิดไม่เป็นไปตามที่คาดหวังจะเกิดอะไรขึ้น?  ผมเชื่อว่าเราคงเห็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงได้ไม่ยากในช่วงทีตลาดลงหนักจากวิกฤติหนี้ประเทศกรีซที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้

อะไรทำให้นักลงทุนมองแต่ Upside เพียงด้านเดียวแบบนี้?  ผมคิดว่าเกิดจากการคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากๆระดับหลายร้อยหลายพันเปอร์เซ็นต์ต่อปี  และการได้กำไรมาง่ายๆ  การฟังคำสรรเสริญของคนอื่นจนย่ามใจ

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)



ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เก่งการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์  แต่ผมเห็นว่าการศึกษาและเข้าใจเรื่องการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต  ทั้งในส่วนการวิเคราะห์หุ้นเติบโตที่ต้นทุนการผลิตสินค้าในหลายอุตสาหกรรมต้องใช้สินค้าโภคภัณฑ์  และการลงทุนในหุ้นที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง  ผมจึงนำบทวิเคราะห์ภาพรวมของการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำเอาไว้มาแบ่งปันกัน  เป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ของผม

หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์จัดเป็นส่วนหนึ่ง  (Subset)  ของหุ้นวัฎจักร  (Cyclic  stock)

หุ้นวัฎจักรเป็นหุ้นที่กำไรขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ  เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น  ความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นบริษัทจะกำไรอย่างมาก  แต่ถ้าตลาดเป็นขาลงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ  ความต้องการของผู้บริโภคจะลดลงอย่างมากและสวนทางการกับกำลังการผลิตที่ยังสูงต่อเนื่องจากช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง  เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (Oversupply)  กำไรของบริษัทจะลดลงอย่างมากจนอาจจะถึงขั้นขาดทุนอย่างมาก

ตัวอย่างของหุ้นวัฎจักร  เช่น  บริษัทรถยนต์  บริษัทอสังหาริมทรัพย์  สินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ  (สินค้าฟุ่มเฟือยไม่นับรวม โลหะทอง โลหะเงิน  และสินค้าอื่นๆที่มีคุณค่าในเชิงการลงทุนนะครับ)  เพราะช่วงคนเรารายได้น้อยจะดูแลเรื่องปากท้อง  พยายามประหยัด  บ้านที่พออยู่ได้ก็อยู่ไปก่อน  รถพอขับได้ก็ขับไปก่อนหรือขึ้นขนส่งมวลชนไป  เมื่อเศรษฐกิจเมฟื้นตัว  ผู้คนรายได้เพิ่มขึ้น  ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคกลับมา  ความต้องการสินค้าที่ถูกกดเก็บไว้หลายปีก็ถูกแสดงออก  ยอดขายบ้านขายรถ  สินค้าฟุ่มเฟือยเริ่มกลับมา  ยอดขายสูงขึ้นมาก  รวมถึงคนใช้จ่ายกับการท่องเที่ยว  สันทนาการต่างๆเพิ่มขึ้น

การลงทุนหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจจนเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว  หุ้นวัฎจักรจึงเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนในระดับสูงมาก

เอาล่ะวันนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์ในภาพรวมนะครับ 

ความสำคัญของการเข้าใจกลไกของสินค้าโภคภัณฑ์

ความรู้จะมีประโยชน์ต่อนักลงทุนที่สนใจหุ้น  2  ประเภทนี้

1.  บริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์

การลงทุนในหุ้นโภคภัณฑ์สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างมากหากนักลงทุนลงทุนได้ถูกจังหวะ  และขาดทุนได้อย่างมากเช่นกันถ้าลงทุนผิดจังหวะ  การเรียนรู้กลไกสินค้าโภคภัณฑ์จะทำให้เราลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ดีขึ้น

2. บริษัทที่ใช้วัตถุดิบจากสินค้าโภคภัณฑ์

แน่นอนว่าเกือบทุกบริษัทต้องใช้ต้นทุนการผลิตและการบริการเป็นสินค้าโภคภัณฑ์แทบทั้งนั้น  เพียงแต่สัดส่วนอาจจะแต่งต่างกันไป  การทำความเข้าใจสินค้าโภคภัณฑ์จะทำให้เรารู้ถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของกำไรของบริษัทจากการปรับตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น  เช่น  ต้นทุนลดทำให้มาร์จิ้นเพิ่มกำไรเพิ่ม  ต้นทุนเพิ่มมาร์จิ้นลดกำไรลด  แต่ถ้าบริษัทสามารถส่งต่อภาระของต้นทุนที่เพิ่มผ่านไปยังผู้บริโภคได้ประเด็นนี้จะไม่น่ากังวลมากนัก

นักลงทุนสามารถลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ได้หลายทาง  เช่น  การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรงผ่านการซื้อเก็บด้วยตนเอง  หรือผ่านกองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์,  อย่างที่สองคือ  การลงทุนในหุ้นที่ผลิตหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์,  อย่างสุดท้ายคือ  การลงทุนผ่านตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า  (Commodities  future)

แต่บทความนี้จะพูดถึงการลงทุนในหุ้นเติบโตที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก  รวมถึงหุ้นเติบโตที่ใช้สินค้าโภคภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ  (เรื่องอื่นเช่น  การลงทุนในตัวสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรงหรือตลาดสินค้าล่วงหน้าอยู่นอกเขตความถนัดของผมครับ)

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม (ตอนที่ 2/2 ตอนจบ)

วันนี้มาว่ากันต่อเรื่องกรอบแนวคิดหลักในการลงทุนของผมนะครับ
แต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องหุ้น  ผมจะขอบอกกล่าวสำหรับผู้สนใจอยากเรียนสักเล็กน้อย

วิธีการใช้ประโยชน์จากบทความนี้
การอ่านบทความ  สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม  เพื่อนๆจะได้ภาพในมุมกว้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน  รวมถึงประเด็นสำคัญในหัวข้อนั้นๆ  ถ้าเพื่อนๆสนใจศึกษาต่อให้ลึกขึ้น  ผมแนะนำว่า

- กรณีที่เพื่อนๆต้องการศึกษาด้วยตนเอง  เนื่องจากติดธุระ ไม่ว่าง  หรือผมอาจจะไม่ว่างสอนเพราะงานประจำเยอะ  (ช่วงนี้เริ่มมีสอบเยอะขึ้นเรื่อยๆ ไหนจะงานวิจัยอีก T_T)  ขอให้อ่านหนังสือและศึกษาลงลึกด้วยตนเองตามประเด็นที่ผมเขียนไว้  (เวลาผมสอนก็จะพูดตามที่ short note ไว้ในบทความนี่ล่ะครับ)  และถ้ามีคำถามสามารถโพสถามได้ทั้งใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ครับ (วิธีนี้น่าจะง่ายที่สุด)
- กรณีที่เพื่อนๆต้องการเรียนกับผมและไม่ต้องการรอให้คนลงชื่อเกิน 5 คน  (เพราะผมจะสอนเมื่อเกิน 5 คนขึ้นไป  และเพื่อนๆอาจจะรอนานเพราะ blog ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก)  ขอให้เพื่อนๆรวบรวมคนที่อยากเรียนมาเองและลงชื่อว่า”ครบ” แล้วไว้ใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ได้ครับ
- กรณีที่มีเพื่อนๆลงชื่อใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook  ว่า ”สนใจ” ครบ 5 คน  ผมจะกำหนดวันสอนล่วงหน้านะครับ

ส่วนสถานที่ผมจะนัดเป็น  ห้องสมุดมารวยที่สาขาเอสพลานาดรัชดาภิเษก  วันอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง (แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีเก้าอี้ว่างหรือเปล่า...เพราะผมก็ไม่มีสถานที่ส่วนกลางเหมือนกัน  หรือไม่งั้นก็ต้องเป็นโรงอาหารตามมหาลัยที่โต๊ะว่างๆ)

ส่วนถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสถานที่รวมถึงมีคอมพิวเตอร์แล้วต้องการให้ผมไปสอนถึงที่  ขอให้เป็นที่ที่ผมสามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้  และถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ขอใช้เปิดห้องประชุมสอนจะดีมากครับ  (ผมว่างวันอาทิตย์)

ทั้งนี้เพื่อที่ผมจะสามารถสอนฟรีได้  ไม่อยากให้เกิดค่าใช้จ่าย  เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงความรู้แบบเท่าเทียมกัน  โดยที่ผมเสียสละแรงกายและเวลาแล้วเพื่อนๆได้ประโยชน์ก็โอเคครับ  :D

ความคาดหวังของผม

ผมไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนเล่นหุ้นเป็น  แต่ต้องการให้รู้ว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางการเงินให้กับตนเองได้อย่างไร  มีทางไปทางไหนบ้าง  ต้องปรับทัศนคติและเรียนรู้วิธีการตั้งแต่ขั้นพื้นฐานขึ้นไป

อยากให้เลิกคิดว่าคนจะรวยได้ต้องมีบุญวาสนา  ต้องเกิดมาโชคดี  เพราะมันไม่จริงเลยครับ  ทุกอย่างสร้างได้ด้วยการกระทำที่เกิดจากทัศนคติที่ถูกต้อง

รวมถึงต้องการให้ทุกคนมีทัศนคติของการให้  เนื่องจากทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นต่างมาหากำไรทั้งสิ้น  พูดง่ายๆคือมาเอา  เราจะไม่ต่างจากคนทั่วไปเลยถ้าเราไม่รู้จักการให้การแบ่งปันผู้อื่น  เมื่อใจเราลดความโลภลงจากการให้และลงทุนโดยใช้สติและปัญญา  มองตามข้อมูลตามเหตุผลตามข้อเท็จจริง  เราจะแตกต่างจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด  และนั่นทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ 

ถ้าคนที่ผมสอนแล้วเล่นหุ้นเป็น  (หมายถึงคนที่มีวิจารณญาณ คิดเองเป็น มีเหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์) และถึงขึ้นเล่นเก่งได้ผมจะดีใจมาก  แต่ผมคาดหวังแค่สอนซัก 100 คนมีอย่างนี้สักคนก็ดีใจแล้วครับ

เอาล่ะ...มาว่าเรื่องเนื้อหากันต่อนะครับ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม (ตอนที่ 1/2)

บทความนี้ถือเป็นการแชร์แนวคิดหลักทั้งหมดในการลงทุนของผมนะครับ

ในช่วง 1 ปีหลังจากลงทุนในตลาดหุ้น  (ปี 53)  ผมได้พัฒนาหลักสูตร  “การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน”  เพื่อสอนนักลงทุนทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การลงทุนเลย  โดยผมตั้งใจว่าจะให้ครอบคลุมแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการลงทุนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลา 2 – 3 ชั่วโมง

โดนแรงบันดาลใจในการสอนมาจาก  รุ่นน้องที่ภาควิชา 2 คน  ที่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้น  และผมเองก็ต้องการแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นอยู่แล้ว  เนื่องจากตอนผมเริ่มต้นไม่มีคนสอนลงทุนเลย  ผมจึงอยากมอบโอกาสให้คนอื่นๆได้สิ่งที่ผมไม่เคยได้

สำหรับหลักสูตรนี้ผมสอนมาแล้ว 7 ครั้งให้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆรวมถึงคนรู้จักรอบตัวผม  และตั้งใจจะแชร์ให้กับบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสบ้าง

การที่ผมเป็นมือใหม่ที่ลงทุนมาไม่นาน  และผ่านช่วงความยากลำบากในการเรียนรู้ช่วงเริ่มต้นทำให้ผมเข้าใจว่ามือใหม่ต้องการอะไรติดขัดตรงไหน  โดยที่คนมีประสบการณ์หรือเซียนอาจจะไม่เข้าใจคนที่กำลังเริ่มต้นเท่าไรนัก

โดยหลักสูตรนี้ฟังได้ตั้งแต่คนที่ไม่รู้อะไรเลย...ไปจนถึงนักลงทุนที่ลงทุนมาแล้วหลายปีครับ

ปล.  ผมสอนฟรีนะครับ  (เป็นวิทยาทาน)  สอนทุกคนที่ตั้งใจอยากเรียน  (แต่ไม่รับคนไม่ตั้งใจจริง  ไม่รับคนต้องการมาขอหุ้นโดยไม่คิดจะทำการบ้าน  ไม่รับคนที่ต้องการมาลองภูมิครับ  เนื่องจากผมต้องเสียเวลาและแรงกายค่อนข้างมากจึงอยากเสียสละให้คนที่ต้องการจริงๆครับ)  และขอให้มีอย่างน้อยครั้งละ 5 คนขึ้นไป  (ยิ่งนักเรียนเยอะเท่าไรยิ่งดี)  เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการแชร์ความคิดกัน  และใช้เวลาทั้งหมด  2 ชั่วโมงครึ่งครับ  รวมเวลาตอบคำถามก็ประมาณ 3 ชั่วโมงครับ

ปล.2  update 14 มี.ค. 55 ผมของดสอนอย่างไม่มีกำหนดนะครับ เนื่องด้วยติดภารกิจทั้งเรื่องงาน การเรียนและครอบครัว ขอบคุณทุกคนที่สนใจนะครับ ผมเองก็ยังอยู่ตรงนี้ มีคำถามอะไรสามารถโพสถามหน้า wall หรือใน blog ได้เลยครับ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนพิเศษ) Anti-Overconfidence

ขออธิบายสำหรับเพื่อนๆนักลงทุนที่เพิ่งเข้ามาใหม่  Series  พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน  เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการลงทุนในหัวข้อต่อไปนี้

1.  Efficient  market  hypothesis  ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ
2.  Behavioral  finance  การเงินเชิงพฤติกรรม
3. Reflexivity  หลักปฎิกริยาสะท้อนกลับ
4. Consumer behavior and  life style  พฤติกรรมผู้บริโภคและวีถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม
5. Mr. Market  นายตลาด
6. การฝึกพัฒนาจิตใจสำหรับนักลงทุน  เพื่อให้หลุดพ้นไปจากอคติทางจิตใจต่างๆที่คอยชี้นำเราอยู่  และได้ผลตอบแทนทั้งตัวเงินและความสุขใจครับ

โดยผมพยายามจะเขียนบทความจิตวิทยาการลงทุนประมาณเดือนละครั้ง  เนื่องจากผมให้ความสำคัญกับ Psychology  ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน

ในบทความพฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน(ตอนที่ 2) การรับรู้อันผิดเพี้ยน  ผมได้พูดถึงเรื่อง  Overconfidence –  ความมั่นใจเกินไป  ครั้งนี้ผมจะมาพูดถึงสิ่งตรงข้ามนั่นคือ การ Anti-Overconfidence 



คนเราทุกคนล้วนแสวงหาการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง  ตามทฤษฎีของมาสโลว์  Maslow  hierarchy of need  ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้น

1. Physiological  need  ความต้องการทางร่างกาย
2. Safety  need  ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง
3. Love  and  Belonging  ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ
4. Esteem  ความต้องการการยอมรับนับถือจากตนเองและผู้อื่น
5. Self-actualization  ความต้องการที่เข้าใจตนเองอย่างแท้จริง

โดยการต้องการการยอมรับจากสังคมและคนรอบข้างจะอยู่ในขั้นที่ 3 และ 4

คนเราคงหลีกเลี่ยงที่จะไม่มีความต้องการยอมรับจากคนอื่นได้ยาก  แม้ว่าหลายครั้งความต้องการยอมรับจากคนอื่นจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจก็ตาม

ถ้าเราอยากให้คนยอมรับโดยใช้วิถีทางที่ถูกต้องเหมาะสมก็ดีไป  แต่ในบางครั้งการพยายามเชื่อมั่นในตนเองจนเกินไปเพื่อให้คนยอมรับก็อาจจะนำมาซึ่งหายนะ  รวมถึงหายนะในการลงทุนด้วยครับ

ผมขอแชร์ประสบการณ์ของผมนะครับ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Exit Strategy

เวลาที่เราจะเข้าพักอาศัยในอาคารสูง  ไปเดินห้างสรรพสินค้า  นอกจากการเพลิดเพลินชมสิ่งสวยงาม  เครื่องเรือนทันสมัยในตัวอาคารแล้ว  สิ่งหนึ่งที่เราควรจะทำคือ  “สังเกตทางหนีไฟ”

เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน  เช่น  ไฟใหม้  หรือแม้แต่เกิดการระเบิดในตัวอาคาร  คนที่เตรียมพร้อมในการออกจากตัวอาคารคือคนที่รอดตาย  โดยผ่านทางหนีไฟที่พวกเขาเห็นก่อนหน้าที่ไฟจะใหม้

ในการทำสงครามนั้นจะมีทั้งการบุกและการตั้งรับ เมื่อกองกำลังของเราได้เปรียบ  เราอาจจจะทำการบุก  เมื่อกองกำลังของเราเสียเปรียบเราอาจจะทำการตั้งรับ  หรือแม้กระทั่งหนีให้เป็นเพื่อเอาชีวิตรอดมาต่อสู้ใหม่

36 กลยุทธ์  จึงมีกลศึกสุดท้ายคือ  “หนีคือสุดยอดกลยุทธ์”

ดังนั้นเราจะมาคุยกันถึงกลยุทธ์การถอยในการลงทุนกันครับ

ยุทธศาสตร์ทางออก (หรือ Exit Strategy)  ของการลงทุนในหุ้นเติบโต 



เวลาที่นักเดินป่าเข้าในในป่าที่เป็นเขาวงกตและติดอยู่ในนั้นเป็นเวลานาน  เข็มทิศไม่สามารถใช้การได้  พวกเขาไม่สามารถหาทางออกได้เลย  เพราะจริงๆแล้วทางออกที่พวกเขาตามหาไม่ได้มีอยู่

ทางออกที่จริงอยู่ที่ทางเข้านั่นเอง  !!

ในการลงทุนก็เช่นกัน  ก่อนที่เราจะทำการเข้าลงทุนซื้อหุ้น  เราต้องประเมินทางถอยไปพร้อมกันตั้งแต่เราเข้าซื้อแล้ว  ...ว่าหุ้นตัวนี้เราจะขายเมื่อไร?

“ซื้อเพราะเหตุผลไหน  ให้ขายด้วยเหตุผลนั้น”  ยังเป็น  quote  ที่ใช้ได้อยู่เสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา : หุ้น JUBILE

(คำเตือน ... ผมไม่ได้เชียร์หุ้นนะครับ  เอามาเป็นกรณีศึกษาวิธีคิดเฉยๆ  ซื้อตามอาจจะขาดทุนได้ครับ)

ผมนั่งคิดอยู่นานมากว่าจะแสดงวิธีคิดการวิเคราะห์หุ้นเป็นรายตัวดีใหม?  สรุปว่า... ลองดูก่อนละกัน  ถ้ามีปัญหาก็จะเลิกทำ  เพราะน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจวิธีการคิดวิเคราะห์การลงทุนในหุ้นเติบโต  ทุกคนที่รู้จักผมจะรู้ดีว่า...ผมไม่เคยเชียร์หุ้นเลย ไม่ใช่เพราะหวงหรืออมภูมิอะไร  ถ้ามีคนถามก็ผมจะบอกและต้องบอกเสมอว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง... ถ้าผมคิดว่าคนที่ถามหุ้นมีวิจารณญาณที่จะไม่ลอกโดยไม่ผ่านการไตร่ตรองก่อนผมก็จะบอกหมด ...ที่ผมกลัวที่สุดคือเวลาคนซื้อตามแล้วขาดทุน  เพราะงั้นคนที่ผมกล้าบอกหมดคือผมมั่นใจว่าเขาคิดเองเป็นรับผิดชอบการตัดสินใจของตัวเองได้  ยิ่งคนที่เห็นต่างสามารถหาเหตุผลเจ๋งๆมาแย้งได้ (ไม่ใช่แบบเถียงข้างๆคูๆนะครับ) ผมยิ่งชอบ Discuss ด้วย

คนที่ชอบเชียร์หุ้นที่ตัวเองถือมีมากมายเลยครับ  ทั้งในเวปบอร์ดทั้งในชีวิตจริง  หุ้นจะได้ขึ้นเร็วๆแรงๆแล้วคนตามไปทีหลังก็เจอดอยกันไป  ซึ่งเป็นวิธีที่ผมไม่ชอบมากๆเลยครับ  (ซึ่งคนเก่งๆหลายคนไม่เชียร์หุ้นก็ยังประสบความสำเร็จกันได้ครับ) ผมไม่เชียร์หุ้นซักคนวงการหุ้นก็คงจะไม่เป็นไร  เพราะการถือหุ้นเติบโตหวังการขึ้นของราคาจากการเติบโตธุรกิจที่ส่งผลต่อการเติบโตของกำไร  และผมชอบสอนวิธีคิดมากกว่าครับ 

เริ่มกันเลยนะครับ...

การวิเคราะห์หุ้นของผมจะเน้นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณนะครับ  เพราะผมคิดว่าปัจจัยเชิงคุณภาพบอกอนาคตได้ดีกว่า  ขณะที่ตัวเลขทางการเงินจะบอกได้แค่อดีตกับปัจจุบันซึ่งเอาไว้ใช้ตรวจสอบสมมุติฐานของเราเท่านั้น

Jubile  เป็นตัวที่ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุดในพอร์ตเมื่อปีที่ผ่านมา  (ได้มาประมาณ  90 เปอร์เซ็นต์ไม่รวมปันผล)  แต่ถ้าบริษัทยังมีการเติบโตอยู่ผมก็ถือต่อไป แล้วปีนี้  Jubile กลายเป็นหุ้นที่ performance ดีที่สุดในพอร์ต (มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ไม่รวมปันผล)  (ต่อให้ราคาถึง Full-Valued ของปีนี้ผมก็ยังถือต่อไป  จนกว่าจะถึงราคาที่เป็น  room of growth  ของบริษัท – ลองอ่านในบทความ ”เพดานของการเติบโต” ได้ครับ)

นั่งเปิดสมุดที่เขียนสิ่งผมได้คิดวิเคราะห์ลงไปก่อนซื้อหุ้น...

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้จักและเข้าใจตนเองก่อนลงทุน

เวลาที่มือใหม่ที่สนใจลงทุนในหุ้นเข้ามาตลาดหุ้นใหม่ๆมักจะมองดูคนที่ประสบความสำเร็จว่าใช้วิธีใดบ้าง  เพื่อจะได้ทำตามแล้วประสบความสำเร็จเหมือนกัน  พอมือใหม่เห็นว่านักเก็งกำไรชั้นเซียนทำเงินได้มากมายก็ลองไปเล่นแบบเก็งกำไรแล้วก็ขาดทุนหนักเพราะไม่รู้จังหวะเข้าออก  แล้วพอเห็นว่านักลงทุนกลุ่ม Value investor ชั้นเซียนทำกำไรได้มากมายก็ไปลองเล่นแบบ VI แต่เนื่องจากวิเคราะห์หุ้นไม่เป็นและซื้อที่ราคาแพงหรือซื้อตามเซียนทำให้ขาดทุนหนัก

นักลงทุนที่มองหาสูตรสำเร็จด้านการลงทุนว่าจะต้องทำ 1-2-3-4  แล้วประสบความสำเร็จแบบแน่นอน  ผมบอกได้เลยครับว่า”ไม่มี”  เพราะเมื่อคุณก้าวออกมาจากโลกแห่งความมั่นคงของดอกเบี้ยเงินฝาก (กรณีที่รัฐยังคุ้มครองอยู่)  คุณจะต้องพบกับความเสี่ยง  ไม่ว่าคุณจะลงทุนทำธุรกิจด้วยตนเองหรือเป็นนักลงทุนในทรัพย์สินประเภทใดๆก็ตาม  นั่นคือคุณมีโอกาสขาดทุนหรือเจ๊งได้

แต่ความเสี่ยงไม่ใช่สิ่งที่จะหยุดยั้งเราจากความสำเร็จครับ

การบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk/Reward) อย่างเหมาะสมจะทำให้นักลงทุนประสบความสำเร็จได้  ...แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ?  การเรียนรู้จากนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเป็นสิ่งจำเป็นครับ แต่การทำตามแนวทางการลงทุนของเซียนโดยไม่รู้จักตนเองเลยนั้น  ก็เหมือนกับการเลือกอาวุธที่ไม่เหมาะสมกับตนเองออกไปสู้  ...อาวุธ เช่น ดาบคู่ อาจจะเป็นยอดศาสตราเมื่ออยู่ในมือยอดนักรบอย่างมูซาชิ  แต่ถ้าดาบคู่เล่มเดียวกันอยู่ในมือของทหารเลวคงไม่สามารถสำแดงพลังออกมาได้  แต่ไม่ได้หมายความว่าดาบคู่ไม่ใช่อาวุธที่ดี

การเข้าใจความสามารถ  ความถนัดของตนเอง  เลือกอาวุธที่เหมาะสมกับตนเอง  จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อนักรบที่จะก้าวสู่สนามรบที่เต็มไปด้วยยอดฝีมือระดับสูงแล้วเป็นผู้ชนะได้ (หรืออย่างน้อยไม่แพ้ เอาตัวรอดได้)

นักเก็งกำไรชั้นเซียนระบบการเทรดยังไม่เหมือนกัน  บางคนดู MACD  บางคนดู RSI  บางคนดู indicator ของตนเอง  นักเก็งกำไรบางคนดูข่าวควบคู่ไปด้วย  บางคนดูแต่กราฟไม่ดูพื้นฐานเลย (จริงๆ ผมก็ยังไม่ถ่องแท้เรื่องการเทรดเท่าไรนักนะครับแค่ยกตัวอย่างให้ฟัง) ...นักลงทุนเน้นคุณค่าเองก็มีแนวทางและความถนัดในรูปแบบที่แตกต่างกัน  เช่น  บางคนชอบหุ้นโภคภัณฑ์  บางคนชอบหุ้นเติบโต  บางคนถือแต่หุ้นสุดยอด (Super stock)  บางคนดูทั้งพื้นฐานหุ้นและดูกราฟประกอบไปด้วย  บางคนไม่ใช้กราฟเลย  บางคนเล่นรายไตรมาส  รายปี  ขณะที่บางคนดูยาวไป 5 ปี  ฯลฯ

ดังนั้นความเข้าใจตนเองของนักลงทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเลือกแนวทางการลงทุนของตนเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ  ผมเองสอนมือใหม่มาหลายรุ่น  นักเรียนแต่ละคนผมก็ไม่เคยบอกว่าจะต้องทำแบบผมนะ ต้องลงทุนในหุ้นเติบโตแล้วถือยาวๆถึงจะดีนะ  บางคนดูแววแล้วน่าจะเป็นนักเก็งกำไรที่ดีได้ผมก็แนะนำแนวทางเก็งกำไรไป  แต่ผมสอนรายละเอียดไม่ได้เพราะผมไม่ถนัดเก็งกำไร  ผมสอนแต่สิ่งที่ผมเข้าใจและเชื่อมั่นเท่านั้น

ในการทำความเข้าใจตนเองนั้น  ประเด็นที่ต้องสังเกตผมว่ามีดังนี้ครับ   

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หนังสือที่ผมแนะนำให้นักลงทุนอ่าน

ช่วงนี้ผมได้รับคำถามเรื่องหนังสือค่อนข้างบ่อยจากเพื่อนนักลงทุนหน้าใหม่ผู้ที่สนใจการลงทุนในหุ้น  ถ้าเพื่อนๆสนใจการลงทุนแนวใช้ปัจจัยพื้นฐาน  ผมมีหนังสือที่แนะนำดังนี้ครับ

หนังสือที่”ต้องอ่าน” (ทุกเล่มเป็นภาษาไทยครับ)

1.คัมภีร์หุ้น โดย คุณ โสภณ ด่านศิริกุล (อ่านเพื่อให้เห็นภาพรวมของการเล่นหุ้น) และ rich dad poor dad พ่อรวยสอนลูกเล่ม 1-2 เพื่อได้ concept ทรัพย์สิน หนี้สิน การลงทุนและเงิน 4 ด้าน

2. ตีแตก โดย ดร. นิเวศ เหมวชิรวรากร (เซียนหุ้นกูรูการลงทุนแบบ VI) (จริงๆควรอ่านทุกเล่มที่ดร.เขียนครับ)

3. หนังสือของ Peter Lynch (ปีเตอร์ ลินส์) ทั้ง 3 เล่ม
- One up on wall street (เหนือกว่า วอลสตรีท)
- Beating the street (ลงทุนอย่าง...ปีเตอร์ ลินส์)
- Learn to earn (เรียนให้รวย)

4. หนังสือที่พูดถึงแนวคิดของ Warren Buffet (วอเรน บัฟเฟตต์) เล่มที่ผมแนะนำมีดังนี้
- แก่นแท้ของบัฟเฟต์ (The essential Buffet) เขียนโดย Robert G. Hagstrom
- How Buffet does it? ตามรอยวอเรน บัฟเฟตต์ เขียนโดย James Pardoe
- ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์ (Buffettology) เขียนโดย Mary Buffet และ David Clark
- Warren Buffet and the art of stock arbitrage

5. หนังสือที่แปลโดยคุณ พรชัย รัตนนทชัยสุข ดังนี้
- ลงทุนสวนกระแสอย่าง...แอนโทนี โบลตัน (Investing against the tide) เขียนโดย Anthony Bolton
- นักลงทุนดันโด : The Dhandho Investor เขียนโดย Mohnish Pabrai
- The intelligence investor เขียนโดย  Benjamin Graham (อาจารย์ของบัฟเฟตต์  ปรมาจารย์การลงทุนแบบ VI)
- การลงทุนแบบเน้นคุณค่า มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

6. หนังสือด้านบัญชี ดังนี้
- อ่านงบการเงินให้เป็น เขียนโดย ดร. ภาพร เอกอรรถพร
- ร้านไหนกำไรมากกว่า
- วอเรน  บัฟเฟตต์  และการตีความงบการเงิน

7. หนังสือซีรี่หุ้นห่านทองคำของ คุณ เทพ รุ่งธนาภิรมย์ เล่มที่แนะนำดังนี้
- กลยุทธ์หุ้นห่านทองคำ, ยุทธศาสตร์หุ้นห่านทองคำ (จริงๆก็น่าอ่านทุกเล่ม)

8. หนังสือของคุณสุมาอี้ (นรินทร์  โอฬารกิจอนันต์) ทุกเล่ม โดยเฉพาะ
- วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง
- 85 ไอเดียการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
- ตลาดหุ้นไทย the survival kit
- มหัศจรรย์กลยุทธ์ทางธุรกิจ
- โอกาสและความน่าจะเป็น

9. หนังสือ Money Game ผ่ากลเงินนอก เขียนโดย คุณ วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล (เซียน Fundflow)

10. หนังสือของ Philip A. Fisher
- Common stocks uncommon profits
- Paths  to the wealth through common stocks

11.หนังสือแนวคิดของ John Neff – ลงทุนแบบจอห์น เนฟฟ์

12. หนังสือแนวจิตวิทยาการลงทุน เช่น  Sway (เขว), พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably irrational) เป็นต้น

นี่ยังไม่รวมหนังสือที่ควรอ่านอีกมากมายนะครับ (ว่างจะมา update ต่อ – เยอะมากๆ)

ถ้ายังรู้สึกว่าเยอะให้อ่านแค่ ตีแตก และ เหนือกว่า วอลสตีท ไปก่อนครับ

บางทีเพื่อนๆเห็นรายชื่อหนังสือแล้วอาจจะเริ่มเสียดายเงินค่าหนังสือ (ผมน่าจะหมดไปเป็นหมื่นกับค่าหนังสือ) แต่ผมยืนยันว่าทุกเล่มคุ้มค่าเงินที่จ่ายไป การลงทุนในความรู้สามารถทำเงินตอบแทนคืนมาให้เราได้หลายเท่านัก บางคนเสียดายเงินค่าหนังสือจำนวนเล็กน้อยแต่ต้องไปขาดทุนในตลาดเป็นเงินจำนวนมากๆเพราะขาดความรู้ในการลงทุนครับ

การลงทุนในความรู้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตครับ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทบทวนความผิดพลาดครึ่งปี 54

ในการลงทุนนักลงทุนควรจะมีการวัดผลเปอร์เซ็นต์ของผลตอบแทนที่เราทำได้เมื่อเทียบกับเงินต้น  ซึ่งการวัดอาจจะทำปีละครั้ง  เนื่องจากการวัดผลตอบแทนบ่อยๆนั้นเป็นการเสียเวลาในการไปวางกลยุทธ์  การศึกษาข้อมูลของหุ้นที่เรากำลังจะเข้าซื้อหรือหุ้นที่เราถืออยู่  นอกจากนั้นผลตอบแทนระยะสั้นรายวันรายเดือนหรือแม้แต่รายไตรมาสอาจจะไม่ได้บอกอะไรมากนักถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาว 
โดยสูตรการคิด  ผลตอบแทนพอร์ต (IRR – Internal rate of return)  ที่ผมใช้คือ

ลองสมมุติค่าต่างๆ

A = เงินในพอร์ตปลายปี (ทั้งเงินสดและหุ้น)
B = เงินทั้งพอร์ตต้นปี (ทั้งเงินในหุ้นและเงินสดรอซื้อหุ้น)
C = เงินเก็บที่เพิ่มเข้าพอร์ตระหว่างปี
X = (จำนวนเดือนของเงิน C/12) x C

สรุป    ผลตอบแทนพอร์ต (IRR)  =  (A - B - C)/ (B + X)

โดยการเทียบผลตอบแทนพอร์ตให้เทียบกับทั้ง 3 ข้อดังนี้
1. ดัชนี SET index ถ้าชนะตลาดถือว่าใช้ได้
2. ไม่ขาดทุน  (เมื่อมองภาพรวมทั้งพอร์ต)
3. ทำผลตอบแทนให้ได้อย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี (เพราะถ้าทำได้น้อยกว่านี้เราควรจะไปลงทุนในกองทุนดัชนีหรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมากกว่าจะลงทุนเอง)

อย่างไรก็ตามแม้แต่การวัดผลการลงทุนปีต่อปีก็อาจจะยังบอกถึงผลตอบแทนระยะยาวระดับ 5-10 ปีไม่ได้  เช่น หุ้นบางตัวนิ่งหรือซึมลงหลายปีก่อนที่จะวิ่งรุนแรงหลายเด้งในปีเดียว  ดังนั้นการวัดผลตอบแทนพอร์ตจึงควรพิจารณาตามกลยุทธ์ในการลงทุนของเราด้วยครับ  (เพราะถ้าเจอหุ้นแบบนี้แล้ววัดผลตอบแทนบ่อยๆนักลงทุนจะหมดกำลังใจถือได้ครับ)

ในครึ่งปีนี้ผลตอบแทนพอร์ตโดยรวมของผมอยู่ที่ 14-15 เปอร์เซ็นต์  ยังชนะตลาดอยู่ครับแต่อาจจะไม่มากเท่าปีก่อนๆ   

และอีกอย่างที่ควรทำควบคู่กันไปคือ...ให้กลับมาทบทวนความผิดพลาดของตัวเองในช่วงที่ผ่านมา โดยทบทวนบ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยผมจะจดบันทึกความผิดพลาดลงไปทุกครั้งและพยายามที่จะไม่ทำซ้ำอีก

และนี่คือความผิดพลาดของผมโดยสรุปในช่วงครึ่งปี 54

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การลงทุนจากหมากกระดาน (ตอนที่ 2)

    มาว่าเรื่องหมากล้อมกันต่อนะครับ

ถึงแม้ว่าการเล่นโกะจะดูเรียบง่าย  แต่ด้วยความน่าจะเป็นของรูปแบบหมากที่สูงมากของโกะ  ทำให้มีอิสระในการวางกลยุทธ์มาก  เราจึงพบเห็นนักเล่นโกะหลายรูปแบบ  บ้างก็เน้นล้อมมุมให้รัดกุม  บ้างก็เน้นขยายอิทธิพล  บ้างก็เป็นสายโจมตี  บ้างก็เป็นสายป้องกัน ปัจจุบันยังบอกไม่ได้ว่าแนวทางไหนดีที่สุด  ซึ่งกลยุทธ์ทั้งหลายที่นำมาใช้ล้วนแล้วแต่มุ่งไปสู่เป้าหมายของเกมส์คือ ...ชิงพื้นที่ให้ได้มากที่สุด  (ไม่ใช่จับกินให้ได้มากที่สุด)

ในการลงทุนนั้นความจริงก็เรียบง่าย  แค่ต้องซื้อถูกขายแพง  คุณก็จะเป็นผู้ชนะในเกมส์นี้  แต่ด้วยความน่าจะเป็นมากมายของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อธุรกิจและราคาหุ้นในอนาคต  ทำให้เกมส์การลงทุน  (ซึ่งผมถือว่าเป็นหมากกระดานอย่างหนึ่ง)  นั้นไม่ง่ายเลย   มีการคิดกลยุทธ์การลงทุนมากมายหลายสำนัก  ไม่ว่าจะเป็น  Quant (การใช้คณิตศาสตร์ในการลงทุน)  นักลงทุนสายเทคนิคอล  นักลงทุนแนวปัจจัยมหภาค  นักลงทุนหุ้นคุณค่า  ฯลฯ  ซึ่งแต่ละแบบสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกมากมาย

เวลาเราเล่นหมากกระดาน  ถ้าเราเล่นไม่เป็นเราจะเฉยๆแพ้ก็ช่างชนะก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเราเล่นไปได้สักพักจนเข้าใจเกมส์  เราจะรู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับกับเกมส์  ตื่นเต้นเมื่อเสียเปรียบ ดีใจเมื่อได้เปรียบ  เสียใจเมื่อแพ้  ดีใจเมื่อชนะ ยิ่งถ้าเป็นการเล่นแบบเดิมพันยิ่งทำให้เกมส์มีผลต่ออารมณ์เพิ่มขึ้นไปตามน้ำหนักของการเดิมพันนั้น

การลงทุนก็คือเกมส์การเงิน  (ซึ่งผมถือว่าเป็นหมากกระดานอย่างหนึ่ง)  ที่มีการเดิมพันสูงกว่าการแข่งชิงแชมป์ทุกหมากกระดาน  เพราะมีเม็ดเงินที่ได้เสียจากการซื้อขายนับพันๆล้านบาทต่อวัน  (ถ้าคิดรวมทั้งโลกยิ่งสูงกว่านี้หลายเท่า)  ดังนั้นผลกระทบต่อจิตใจยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว  บางคนอาจจะถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ

ต้องอาศัยการฝึกฝนจิตใจร่วมไปกับการฝึกกลยุทธ์การเดินหมาก  ในการเล่นโกะระดับสูงหรือการแข่งชิงแชมป์  การอ่านทางหมากอาจจะไม่สำคัญเท่าการควบคุมจิตใจ  เพราะนักเล่นโกะชั้นเซียนนั้นต่างรู้อยู่แล้วว่าในแต่ละสถาณการณ์ควรดินหมากอย่างไร  แต่จะทำได้หรือไม่อยู่กับสภาพจิตใจ

และเมื่อเล่นไปถึงจุดหนึ่งเราจะเลิกยึดติดแพ้ชนะ  จะมีแต่ดำกับขาว  ชนะหรือแพ้ก็ต้องเรียนรู้  ไม่มีการยึดติดว่าชั้นชนะ เธอแพ้  มีแต่ขาวกับดำ  และดูกระบวนการเดินหมากเป็นหลัก

นั่นคือชนะได้โดยไม่คิดเอาชนะ...หมั่นสร้างเหตุที่ดีผลที่ดีจะตามมาเอง

การลงทุนก็เช่นกัน...เมื่อเราฝีมือการลงทุนเก่งขึ้น  ไม่ว่าเราได้กำไรหรือขาดทุนเราจะเรียนรู้จากมัน  มากกว่าที่มาคร่ำครวญเมื่อขาดทุนหรือคุยโม้โอ้อวดว่าได้กำไร  มีแต่กระบวนการคิด  การตัดสินใจและพอร์ตการลงทุน  ไม่มีตัวกูของกูอยู่ในนั้น  และฝึกฝนฝีมือให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ  จิตใจเปิดกว้างให้กับการศึกษา

ถึงไม่คาดหวังผลตอบแทนที่เป็นเลิศ...แต่ถ้าหมั่นสร้างเหตุที่ดี  บริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างฉลาด  ผลตอบแทนที่ดีจะตามมาเอง

สำหรับผม...การลงทุนนั้นจะยากกว่าหมากกระดาน  เพราะการลงทุนมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้มากกว่าบนกระดาน

เรามาว่ากันต่อเรื่องกลยุทธ์หมากล้อมที่สำคัญๆที่นำไปใช้ได้กับการลงทุนกันครับ

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลยุทธ์การลงทุนจากหมากกระดาน (ตอนที่ 1)

ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า “กลยุทธ์” (Strategy)  มากมายทั้งในวงการเมือง  วงการทหาร(การรบ)  วงการธุรกิจ  เรียกได้ว่าเป็นศัพท์ของผู้บริหารระดับสูง  เนื่องจากเป็นคำที่คนทั่วๆไปไม่ค่อยได้ใช้กัน  ผมจึงไปลองค้นความหมายดู


ความหมายของคำว่า “กลยุทธ์” ในพจนานุกรมราชบัณฑิยสถาน  คือ  การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม,  วิธีการที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ,  เล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้  (หรือจะใช้คำว่า “ยุทธศาสตร์” แทนคำว่ากลยุทธ์ก็ได้ครับความหมายเดียวกัน)  ฟังความหมายตามพจนานุกรมอาจจะยังงงๆกัน ...ดังนั้นผมจะพูดตามที่ผมเข้าใจดีกว่า

และยังมีอีกคำนึงที่มักจะสับสนกัน  คือ  “ยุทธวิธี” (Tactics)  หมายถึง  วิธีการในระดับรายละเอียด  เพื่อนำมาใช้ดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้  (กลยุทธ์จะบอกวิธีการไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ในภาพรวม)

ซึ่งทั้ง Strategy และ Tactics เป็นคำที่มักจะใช้คู่กัน  เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่เราวางเอาไว้

ผมไม่ใช่นักบริหารระดับสูงแต่อย่างใด  แต่ผมคุ้นเคยกับคำว่า “กลยุทธ์” และการใช้กลยุทธ์เป็นอย่างมาก  เนื่องจากตอนเด็กๆผมชอบอ่านสามก๊กและตำราพิชัยสงครามของซุนวู  รวมถึงชอบเล่นหมากกระดานที่ต้องใช้การคิดและวางแผน  โดยความหมายของกลยุทธ์สำหรับผมคือ...การใช้วิธีการต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายที่เราวางเอาไว้  นั่นคือ  เราต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายของเราคืออะไร?  และเราจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร?

แล้วกลยุทธ์มีความสำคัญอย่างไรกับการลงทุน?

นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในตลาดหุ้นมีเป้าหมายเพื่อต้องการกำไร  ต้องการเป็นอิสระภาพทางการเงิน  โดยมากนักลงทุนที่เข้ามาใหม่ๆมักจะคิดว่า  การมีหุ้นเด็ดคือคำตอบของทุกอย่าง  เหมือนแทงหวยก็ต้องมีเลขเด็ด  แต่ความจริงแล้วนักลงทุนระดับเซียนนั้น  การซื้อหุ้นถูกตัวเพียงอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ  จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการลงทุนด้วย

พูดไปอาจจะยังไม่เชื่อ...งั้นหาลองดูว่า  มีนักลงทุนรายย่อยมากมายแค่ไหนที่ซื้อตามเซียนแล้วขาดทุน  ซื้อต้นทุนเท่าเซียนแล้วยังกำไรน้อยกว่าหรือขาดทุน  เพราะการที่นักลงทุนรายย่อยเหล่านี้ขาดกลยุทธ์ในการลงทุน

ผมถึงได้พยายามที่จะถ่ายทอดเรื่องของกลยุทธ์ออกมา  การเรียนรู้เรื่องกลยุทธ์ผมคงอดไม่ได้ที่จะพูดถึงหมากกระดาน...และหมากกระดานที่ผมคิดว่าใช้ในการฝึกการคิดเชิงกลยุทธ์ได้อย่างดีเยี่ยมคือ  หมากรุก  และหมากล้อม(โกะ)

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนพิเศษ) ยอมรับความจริง

ตลาดหุ้นเป็นแหล่งรวมรวมแนวคิดด้านการลงทุนไว้มากมาย  นักลงทุนที่ใช้แนวทางใดก็จะมีความเชื่อมั่นต่อแนวคิดของตนเอง  ซึ่งอาจจะมาจากการค้นคว้าด้วยตนเองหรือศึกษาจากอาจารย์  เมื่อลงทุนแล้วประสบความสำเร็จระดับนึงจะเกิด ”อัตตา” ความเชื่อมั่นว่าตนเองเก่ง  แนวทางที่ตนใช้ถูกต้อง  แนวคิดคนอื่นผิดพลาด

เนื่องจากการลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่มองไปยังอนาคต  จึงไม่อาจจะทำนายได้แน่นอน  เปรียบเสมือนการดูหมอ  ช่องว่างแห่งความไม่รู้อนาคตได้ก่อเกิดแนวคิดที่หลากหลาย

เวลาที่ได้กำไรก็ดีใจกันไป  แนวทางของฉันถูกต้องที่สุด  แต่ถ้าเริ่มขาดทุนหรือติดตัวแดง  ก็จะเกิดความคิดที่มาปกป้องความเชื่อของตนเอง ที่เรียกว่า  กลไกป้องกันทางจิต  (Defense mechanism)

Sigmund Freud

ตามทฤษฎี  Ego psychology ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ต่อยอดมาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Theory of psychoanalysis) ของ Sigmund  Freud  นายแพทย์ชาวออสเตรียผู้โด่งดัง  ซึ่งบุคคลสำคัญของแนวคิด Ego psychology นี้คือ  Anna Freud  ซึ่งเป็นลูกสาวของ Sigmund Freud โดยทฤษฎี  Ego psychology จะเน้นในส่วนบทบาทของ Ego และกลไกป้องกันทางจิต  ซึ่งแนวคิดของกลไกป้องกันทางจิตถูกอธิบายละเอียดขึ้นมากกว่าที่ Freud ได้อธิบายไว้ในตอนแรก

(ผมจะไม่ลงลึกเรื่อง Ego นะครับ เดี๋ยวจะยาว  เพราะต้องอธิบายโครงสร้างของจิตใจด้วย จะพูดถึงแต่กลไกป้องกันทางจิตซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานของ Ego ในระดับจิตใต้สำนึก)

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นเช่น  หุ้นตกหนัก  พอร์ตติดลบ  หุ้นขึ้นแต่ไม่ได้ซื้อ(ตกรถ)  จิตใจจะเกิดความวิตกกังวลขึ้น (Signal anxiety) เพื่อเตือนให้รู้ว่าจิตใจกำลังได้รับอันตราย  กลไกแรกที่จิตใจนำมาใช้คือ การเก็บกด (repression) โดยกระบวนการนี้เกิดในระดับจิตให้สำนึกด้วยความรวดเร็วมาก (Unconscious level)  แต่เมื่อใดที่ระดับความกังวลมีมากจนการเก็บกดเริ่มไม่ได้ผล  ความกลัวและความกังวลจะเริ่มขึ้นสู่การรับรู้ของจิตใจในส่วนของจิตสำนึก (Conscious level)

แล้วกลไกป้องกันทางจิตอื่นๆจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปกป้องจิตใจจากความกังวล

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ควรรู้ในการเลือกซื้อคอนโด

(ขอนำบทความเก่าๆก่อนผมซื้อคอนโดมาลงนะครับ)

พอดีช่วงนี้ผมสนใจเรื่องคอนโดเลยเอาความรู้มาแบ่งปันกันครับ... (เหมาะสำหรับคนที่มีแผนจะซื้อคอนโดอยู่เองหรือซื้อใว้ลงทุนขายต่อหรือให้เช่าครับ)
 คอนโดจัดอยู่ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อราคาและความต้องการของผู้ซื้อคือ...ทำเล (Location)

ก่อนจองคอนโด

1. ประเมินทำเล  ...

- เดินทางสะดวกหรือไม่?  ถ้ามีการเดินสะดวกราคาห้องต่อตร.ม.จะแพงกว่า...ถ้ามีรถไฟฟ้าผ่านใกล้ๆจะดีมาก (รวมถึงโครงการถไฟฟ้าในอนาคตด้วย MRT,  BRT, Airport link) ถึงจะแพงกว่าแต่ก็น่าซื้อกว่าคอนโดที่เดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวกเพราะราคาไม่ตกมากนักและขายต่อได้ง่ายกว่าอยู่เองก็เดินทางสะดวกสบายใจกว่า... (ถ้าซื้อห้องชุดได้ก่อนรถไฟฟ้าเข้าถึงแล้วพอมีรถไฟฟ้าแล้วราคาห้องจะสูงขึ้นมาก)
                           
- มีศูนย์การค้า ร้านอาหาร ร้านซักรีด ร้านสะดวกซื้อ อยู่ใกล้ๆบริเวณนั้นหรือไม่? ตามวิถีชีวิตคนเมืองที่ต้องการความสะดวกสบาย  ถ้าสถานที่เหล่านี้อยู่ไกลแต่มีรถไฟฟ้าหรือการเดินทางสะดวกก็โอเค... กรณีคนไม่รีดผ้าเองควรจะมีร้านซักรีดในตัวอาคาร... (แต่ถ้าเป็นบริเวณที่มีคนเริ่มอยู่มากๆ เช่น มีคอนโดหลายแห่งอยู่แถวนั้นศูนย์การค้าต่างๆก็มักจะมาเปิดในย่านนั้นๆตามมา)
                           
- อยู่ใกล้สถานศึกษาหรือย่านธุรกิจหรือไม่?  ถ้าใกล้สถานศึกษาจะเหมาะในการให้นักเรียนนักศึกษาเช่า...ถ้าใกล้ย่านการค้าที่ต่างชาติทำงานจะเหมาะให้ต่างชาติเช่าเพราะคนทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ได้อยู่แถวนี้ถาวรจึงหาเป็นห้องเช่ามากกว่าซื้อขาดไปเลย...
                           
- ทิศทางแสงแดดเป็นอย่างไร?  ห้องที่ดีระเบียงควรจะอยู่ด้านทิศตะวันออก...หรือทิศเหนือทิศใต้...แต่ให้ระวังทิศตะวันตกเพราะ...แสงแดงยามบ่ายทั้งบ่ายจะทำให้ห้องอมความร้อนในตอนกลางคืนต้องเปิดแอร์และเปลืองไฟมาก...ตอนเช้าๆแสงแดดที่ส่องทางระเบียงจะช่วยให้เราตื่นได้ด้วย...
                           
- ที่จอดรถในตัวอาคารเพียงพอหรือเปล่า  มีที่จอดประจำหรือไม่?? (กรณีเรามีรถยนต์) ไม่อย่างนั้นต้องมาลุ้นแย่งเก้าอี้ดนตรีกันทุกวัน รวมถึงดูเรื่องการเดินทางโดยทางรถส่วนตัวว่าสะดวกหรือไม่? ใกล้ทางด่วนหรือเปล่า? (สำหรับคนที่บ้านอยู่ต่างจังหวัดและคนชอบเที่ยว...)

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รับที่เท่าไรดี?

ช่วงที่ตลาดลงหนักจากพี่ฝรั่งขาย  ผมมักจะได้คำถามจากมือใหม่ในทำนองนี้  ซึ่งผมเองก็ไม่รู้จะตอบว่าอะไรดี  ถ้าให้คำตอบบางอย่างไปแล้วคนฟังไปทำตามนั่นก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด  เช่น  ถ้าบอกว่ารอรับที่ 900 ต้นๆ  ถ้าหากรับแล้วดัชนีเกิดลงไป  700 – 800 ผู้ที่รับตามผมบอกก็อาจจะขาดทุนได้  หรือถ้าหากดัชนีไปไม่ถึง 900 แล้วเด้งขึ้นมาที่ 1000 กว่าๆก็จะเสียโอกาสในการรับของถูกในช่วงนี้ไปได้

เพราะการคาดการดัชนีเป็นสิ่งที่ยาก  ไม่มีใครรู้อนาคต  แม้แต่ในทางเทคนิค (ซึ่งผมไม่ใช่เทคนิคอลนะครับ) ยังต้องมีการประเมินแนวโน้มเป็นระยะๆเลยครับ  เช่น  ถ้าเกิดดัชนีลงไปถึงจุด  A แล้วเด้งขึ้นจะมีแนวโน้มลงต่อ ขึ้นหรือซึมยาว  เหตุการณ์มีโอกาสเกิดได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการปรับกลวิธีในการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนตามสถาณการณ์มากกว่า

ถ้าอย่างนั้นในช่วงตลาดขาลงอย่างนี้จะทำอย่างไรดี?  รับที่เท่าไรดี?

คำแนะนำของผมนะครับ

1. ไม่พยายามทำกำไรโดยคาดเดาดัชนี  เพราะเราลงทุนในหุ้นรายตัว  แน่นอนว่าตลาดขาลงนั้นหุ้นเกือบทุกตัวลงหมด  แต่ลงมากลงน้อยก็แล้วแต่หุ้นแต่ละตัว  เซียนหุ้นอย่าง Peter Lynch  หรือ  Warren Buffet  ก็ไม่ได้ทำกำไรจากการออกมาทำนายว่าดัชนีจะไปที่จุดไหน  แต่ทำกำไรจากการลงทุนในบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง  ถ้าหุ้นที่เราจับตาใน watch list  ยังไม่ถูกพอเราก็ยังไม่ควรเข้าไปซื้อ  ส่วนที่ว่าถูกพอนี่คือแค่ไหน...คงแล้วแต่ MOS – Margin  of  Safety  ของแต่ละคน  รวมถึงประเมินกำไรคาดหวังก่อนเข้าซื้อ

ขอให้เน้นมองการลงทุนในหุ้นรายตัวมากกว่าภาพดัชนีโดยรวม  (ยกเว้นว่าคุณจะเล่น TFEX)

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เพดานของการเติบโต

ช่วงนี้ผมจะลงลึกเรื่องการวิเคราะห์หุ้นเติบโตนะครับ (แต่จะพยายามเขียนให้มือใหม่อ่านเข้าใจ)

ในการลงทุนในหุ้นเติบโตนั้น  เราจะพิจารณาขายหุ้นเมื่อหุ้นนั้นหยุดเติบโต  (กำไรไม่โตแล้ว)  เพราะหุ้นเติบโตที่โตเต็มวัยก็จะกลายเป็นหุ้นโตช้าหรือหุ้นปันผลไป การได้ capital gain จากการเพิ่มของตัวกำไรอาจจะเป็นสิ่งที่คาดหวังไม่ได้อีกต่อไป แต่อาจจะมีราคาขึ้นลงตามข่าวหรือตามอารมณ์ตลาด แต่นั่นเป็นเรื่องที่เราๆคนธรรมดายากที่จะคาดเดาได้

โดยปกติถ้าตลาดที่มีประสิทธิภาพจะให้ราคาหุ้นที่ PE ไม่น้อยไปกว่าอัตราการเติบโตในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า  เช่น  หุ้นที่โตต่อเนื่อง 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปีอย่างน้อยอีก 5 ปีก็ควรจะมี PE ไม่ต่ำกว่า 25 ถ้าน้อยกว่า 25 ก็ต้องถือว่าหุ้นราคาถูก ...ซึ่งไม่ใช่ดูการเติบโตย้อนหลังนะครับ เพราะในการลงทุนเราจะดูที่อนาคตของกิจการ งบการเงินในอดีตบอกเพียงการเติบโตในอดีต บอกผลงานที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันความสำเร็จ  ไม่ได้รับประกันการเติบโตในอนาคต

ดังนั้นเมื่อบริษัทเติบโตถึงจุดอิ่มตัว การเติบโตจะช้าๆตาม GDP หรือเงินเฟ้อ PE ratio จะถูกปรับใกล้ค่า 10 ซึ่งเป็นอัตราตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาดหุ้น หรือ Earning yield ที่ 10 %นั่นเอง

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หุ้นโรงแรม

พอดีจำได้ว่ามีคนให้วิเคราะห์หุ้นรายตัวให้ฟังบ้าง  ผมจะทยอยวิเคราะห์แต่ละอุตสาหกรรมให้เป็นแนวทางแก่ผู้เริ่มต้นนะครับ จริงๆอยากจะสอน Valuation ด้วยแต่เหมือนจะเป็นการเชียร์ ชี้นำซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้อ่านเลยครับ

ลองกลุ่มแรกก่อนนะครับ – หุ้นโรงแรม

ความน่าสนใจในกลุ่มโรงแรมโดยรวมของปีนี้

1.นักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นทุกๆปี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปเรื่อยๆ  แม้ว่าประเทศไทยจะมีปัญหามากมาย ล่าสุด 15.7 ล้านคน  ปีนี้ Q1 5.36 ล้านคนแล้ว  โดยกลุ่มที่เติบโตสุดคือ  จีน  รัสเซีย  ที่เศรษฐกิจประเทศเหล่านี้ดีขึ้น  คนมีกำลังทรัพย์มาเที่ยวมากขึ้น

2.ประเทศไทยมีจุดแข็งเรื่องการท่องเที่ยวในระดับโลก เนื่องจาก  1) สภาพอากาศที่อบอุ่น  คนทางยุโรปโซนเมืองหนาวเลยชอบมา 2) ไทยมีภูมิประเทศที่สวยงามและมีชื่อเสียงในระดับโลก  เช่น  เกาะสมุย  พัทยา  ภูเก็ต  เชียงใหม่  โดยเฉพาะชายทะเล 3) ความเอื้อเฟื้อมีไมตรีของคนไทย คนไทยทำอาชีพนักบริการได้ดีมาก  4) ราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ

3.การท่องเที่ยวภายในประเทศสูงขึ้น  คนไทยมีกำลังซื้อมากขึ้น ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว  พฤติกรรมคนไทยชอบเที่ยว

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความน่ากลัวของตลาดหุ้น

ช่วงนี้ 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.53-54) ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมา 100 กว่าเปอร์เซ็นต์ จาก 400 ต้นๆ จนปัจจุบันทะลุ new high ที่ 1100 แล้ว คนที่ลงทุนในช่วง 2 ปีนี้ส่วนใหญ่น่าจะได้กำไรงดงามกันถ้วนหน้า (แต่จริงๆก็คงมีคนที่ขาดทุนอยู่เพราะซื้อตามข่าวลือ หุ้นตกแล้วรีบขาย ซื้อหุ้นที่ราคาแพงๆ และอีกหลากหลายเหตุผลที่จะขาดทุน) คนที่ออกมาพูดส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ได้กำไรงดงาม แต่คนที่ขาดทุนอาจจะเ
งียบๆไม่พูด ทำให้คนที่อยู่นอกตลาดได้รับรู้ภาพเพียงด้านเดียวว่า...ตลาดหุ้นคือแหล่งทำเงินที่ง่ายดาย

ผู้เล่นหน้าใหม่ๆเริ่มเดินเข้าสู่ตลาดหุ้น หลายคนพกความหวังมาเต็มที่โดยหวังว่าตนเองจะมีอิสระภาพทางการเงินในเร็ววัน ยิ่งได้ยินเรื่องราวของคนที่ประสบความสำเร็จ...ยิ่งมีกำลังใจ อยากจะให้พอร์ตการลงทุนตนเองโตหลายร้อยเปอร์เซ็นต์บ้าง

พอความคาดหวังที่สูง และเข้ามาลงทุนในช่วงที่ดัชนีทำ new high นักลงทุนหน้าใหม่ก็จะใช้วิธีหาหุ้นเด็ด โดยอาจจะไปลอกเซียนหุ้นชื่อดัง ค้นหาตามเวปบอร์ดว่าหุ้นไหนเด็ดคนพูดถึงเยอะ อ่านบทวิเคราะห์โดยดูแค่ราคาเป้าหมายที่นักวิเคราะห์ให้ โดยไม่ทราบเหตุผลในการลงทุนในหุ้นที่ซื้อลงไป...ไม่ทราบว่าถ้าหุ้นตกจะทำอย่างไร จะซื้อจะขายเมื่อไร จะถือนานแค่ไหน...รู้แค่ว่าขอได้ซื้อตามเซียน ได้ซื้อตามคนอื่นก็อุ่นใจแล้ว แค่นี้ก็ได้กำไรเป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์เหมือนเซียนแน่ๆ

แต่ตลาดหุ้นนั้นไม่ง่าย...เพราะถ้าง่ายจริง ทุกคนก็คงจะรวยจากตลาดหุ้นกันหมด แต่ในความจริงมีคนที่หมดตัวจากตลาดหุ้น มีคนที่เป็นหนี้สินมากมายจากการเล่นหุ้น

ผมจะลองขยายความตามจริง...เพื่อคุณให้รู้ตลาดหุ้นน่ากลัวยังงัย

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ลดน้ำหนัก

(บทความนี้ไม่เกี่ยวกับการลงทุน เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองครับ)

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์ตั้งใจลดน้ำหนัก...อาจจะสำเร็จหรือล้มเหลวปะปนกันไป
ผมเองเป็นคนนึงที่เคยพยายามลดน้ำหนักหลายครั้ง...เคยลดได้ทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกตอนไปซัมเมอร์ที่แคนาดา ลดได้ 6-7 kgs ครั้งที่2 ตอนทำงานที่รพ.แวงน้อยตอนไปใช้ทุน ลดได้ 5-6 kgs แต่ก็กลับมาอ้วนเหมือนเดิมและอ้วนกว่าเดิมด้วย...

น้ำหนักตัวเท่าไรถึงเหมาะสม?
ก่อนอื่นเราต้องหาน้ำหนักที่เหมาะสมกับแต่ละคนก่อน...โดยดูจาก BMI (Body Mass Index) คือ ดัชนีมวลกาย ถ้าค่าBMI มากกว่า 25 ถือว่าน้ำหนักเกินแล้ว ถ้าค่า BMI 18.5-25 ถือว่าโอเค ถ้าค่า BMI น้อยกว่า 18.5 ถือว่าผอม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

โดย BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

เขียนเป็นสูตร BMI = (Body weight-Kg)/(Height-m)²

เช่น ตอนนี้ผมน้ำหนัก 73 กิโลกรัม สูง 1.65 เมตร จะได้ดัชนีมวลกาย 26 ซึ่งถือว่าน้ำหนักเกิน


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การบริหารจัดการความเสี่ยงในการลงทุน (Risk management)

ความเสี่ยง(Risk) เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการพูดถึงโอกาสที่จะเกิดผลในทางลบที่เราไม่ปรารถนา ซึ่งคำนี้มีใช้กันแทบจะทุกวงการ ในทางการแพทย์ก็ต้องมีการประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนทำการรักษาด้วยยา (Risk-Benefit) ในทางวิศวกรรมโยธาก็ต้องมีการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในการสร้างตึกที่อยู่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ในอุตสาหกรรมโรงงานที่คนต้องทำงานกับเครื่องจักรก็ต้องมีการป้องกันและลดความเสี่ยงที่คนทำงานจะได้รับอันตรายจากเครื่องจักร

แม้แต่ในชีวิตประจำวันเราจะมองเห็นความเสี่ยงมากมาย
...เวลาขับรถก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ มีความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะหยุดทำงาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดยางระเบิด
...เวลานั่งเครื่องบินก็มีความเสี่ยงที่เครื่องจะตก มีความเสี่ยงที่จะเกิดความล่าช้า มีความเสี่ยงที่จะตกหลุมรักแอร์โฮสเตส 555+
...เวลาเข้าไปจีบสาวก็มีความเสี่ยงที่เค้าจะมีแฟนแล้ว มีความเสี่ยงที่เค้าจะปฏิเสธเรา
...แม้แต่นอนอยู่เฉยๆก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหว มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม

ในเรื่องการลงทุนก็เช่นกัน

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้ชายที่แท้จริง

(เอาบทความเก่ามาลงครับ^^)

แรงบันดาลใจของการเขียนบทความนี้มาจาก...เวลาที่ผมเจอผู้ชายที่มองว่าตัวเองไม่มีค่า...ขาดเธอไปฉันจะอยู่ไม่ได้ฉันจะต้องตาย...นี่คือสิ่งที่ผมอยากบอกพวกเค้าเหล่านั้น...

โลกเราตอนนี้ประชากรผู้ชายเริ่มน้อยกว่าผู้หญิง(ยกเว้นเมืองจีน)  เพศชายบางส่วนก็กลายเป็นเกย์ชอบเพศเดียวกัน  บ้างก็เสร็จเกย์ไป  ผู้ชายจึงเหลือน้อยเต็มที...และผู้ชายมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและพัฒนาตนเองจนกลายเป็น...ผู้ชายที่แท้จริงนั้น  ผู้ชายที่เป็นชายเหนือชายที่หาได้ยากมากๆในปัจจุบัน...

จะก้มหน้ามองพื้นแล้วโทษชะตาหรือเงยหน้าขึ้นฟ้าแล้วตะโกนบอกว่า ”ฉันคือคนที่มีค่าที่สุด”...คนที่เลือกคือตัวเรา

พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองหรือยังครับ?

ลักษณะของผู้ชายที่แท้จริง

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้ออ้างที่จะไม่ยอมประสบความสำเร็จ

ฟังหัวข้อแล้วดูแปลกใช่ใหมครับ ก็ใครล่ะจะไม่อยากประสบความสำเร็จ คนส่วนใหญ่ก็อยากประสบความสำเร็จกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน ความรัก ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การมีความสุข และถามว่าคนทั่วไปรู้มั๊ยว่าทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ ผมเชื่อว่าทุกคนรู้ เช่น อยากเรียนเก่ง ทุกคนก็รู้ว่าต้องขยันอ่านหนังสือ ตั้งใจเรียนในห้อง หมั่นทบทวนบทเรียน ฝึกทำข้อสอบ แต่ทำไมคนส่วนมากจึงไม่ประสบความสำเร็จการเรียนเท่าที่ควร หรืออยากผอม อยากหุ่นดี ทุกคนก็รู้ว่าต้องควบคุมอาหารให้พอเหมาะและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่เราก็ยังเห็นคนส่วนใหญ่ล้มเหลวเรื่องการลดน้ำหนัก (รวมทั้งผมด้วย T_T)

นั่นเป็นเพราะว่า เรารู้...แต่เราทำไม่ได้!!! เนื่องจากเหตุผลบางอย่างที่เราชอบใช้เป็นข้ออ้าง ยกตัวอย่างเช่น...กรณีลดน้ำหนัก  ”ช่วงนี้ทำงานหนักก็เลยหิวบ่อย”  “ไม่มีเวลาออกกำลังเลย”  “ขอกินก่อนแล้วพรุ่งนี้ค่อยลด”  “ออกกำลังแล้วเหนื่อยทำงานไม่ไหว”  “ไม่ได้กินแล้วไม่แรงเลย” สารพัดเรื่องที่เราจะหาเหตุผลว่าทำไมเราจึงทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้...หรือที่แย่กว่านั้นคือไม่ได้วางแผนไว้เลยตั้งแต่ต้น >_<”

ในเรื่องการลงทุนก็มีข้ออ้างมากมายเช่นกัน...

ด้วยความที่ผมสอนเรื่องการลงทุนให้กับมือใหม่หลายครั้งและพูดคุยกับคนนอกตลาดที่ไม่ได้ลงทุนหลายๆคน จะพบว่ามีความเชื่อหลายๆอย่างที่ผมคิดว่าเป็นอุปสรรคของการประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น

ข้ออ้างที่คนส่วนใหญ่ใช้เพื่อจะบอกว่าทำไมตัวเองลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่ 9) ความกลัว (ตอนแรก)



ในการทำจิตบำบัดซึ่งเป็นการรักษาคนไข้โดยใช้วิธีการพูดคุยเพื่อให้คนไข้ได้เข้าใจตัวเองในระดับลึกๆนั้น...อาจารย์ผมซึ่งเป็นนักทำจิตบำบัดระดับนานาชาติสอนว่า...อารมณ์ที่สำคัญซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานของอารมณ์อื่นๆคือ...ความกลัว  พอฟังผมก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า...แล้วความโลภ  อยากได้อยากมีนั้นมาจากพื้นฐานความกลัวด้วยหรือไม่?



มนุษย์เรามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่อดีตสมัยยุคหินยุคโบราณ...ยุคที่จะได้กินอาหารคือการต้องออกไปเสี่ยงชีวิตเพื่อล่าสัตว์  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าใครจะได้เป็นอาหารใคร  สมองคนเราจึงมีส่วนที่ทำงานเพื่อการปกป้องตัวเองจากอันตรายและเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์  สมองส่วนนี้คือ...อะมิกดาลา (Amygdala) สมองส่วนนี้อยู่ในส่วนลึกลงไปจากผิวนอก...เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรมในทางลบ  ประสบการณ์ในอดีตที่เจ็บปวด  ข้อดีของสมองส่วนนี้ก็คือเราระมัดระวังตัวเองจากความเสี่ยง  เมื่อมนุษย์เห็นเสือจะวิ่งหนีก่อนเลย  ถ้ามัวใช้สมองส่วนการคิดในเชิงเหตุผลอาจจะสั่งร่างกายไม่ทันโดนเสือคาบไปกินซะก่อน  แต่ในปัจจุบันมนุษย์อาศัยอยู่ในเมือง...อันตรายและความเสี่ยงที่มีผลถึงขั้นเสียชีวิตหรือบาดเจ็บมีน้อยกว่าตอนอยู่ในป่ามาก ...แล้วถ้าอย่างนั้นเราควรตัดสมองส่วนนี้ทิ้งไปหรือเปล่า  เพราะเราก็รู้ว่าความกลัวจำกัดและส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลหลายอย่าง?


ผมทิ้งไป 2 คำถามแล้วจะกลับมาตอบตอนท้ายนะครับ

ถ้าเรามองไปรอบๆตัวเราจะเห็นผู้คนมากมายที่กลัวความเสี่ยง...คนบางคนอยากจะมีเงินเดือนมากขึ้นแต่ยังจมกับงานที่ตัวเองไม่ชอบเพียงเพราะว่ารายได้มั่นคงกว่า  ไม่กล้าเสี่ยงที่จะทำธุรกิจของตัวเอง  ไม่กล้าสมัครงานใหม่...ไม่กล้าแม้แต่จะเชื่อว่าตัวเองดีพอ!  ,คนบางคนเคยล้มเหลวกับความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือแฟน  ก็บอกตัวเองว่าไม่ขอมีใครอีกแล้วอยู่คนเดียวดีกว่า  ซึ่งเป็นคำพูดที่ขัดแย้งกับความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง  พวกเขากลัวที่จะต้องเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายในเรื่องความสัมพันธ์อีกครั้ง  ทั้งที่จริงๆคนที่พวกเขาจะพบเจอในอนาคตอาจจะเป็นเพื่อนหรือคนรักที่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีมากๆก็ได้,  ผู้ชายบางคนไม่กล้าเข้าไปทำความรู้จักกับผู้หญิงที่ตัวเองชอบเพียงเพราะกลัวว่าจะโดนปฏิเสธ...พวกเขาไม่กล้าล้มเหลวแม้ว่าความกล้านั้นอาจจะทำให้พวกเขาได้อยู่กับคนที่พวกเขาชอบจริงๆ...พวกเขาไม่เชื่อมั่นในตัวเองว่าพวกเขาดีพอ...

ความกลัวความเสี่ยงจำกัดชีวิตของเราไว้มากมายจริงๆ...

แล้วความเสี่ยงกับความกลัวความเสี่ยงเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่?

แน่นอนครับไม่มีใครชอบความเสี่ยง  เราทุกคนพยายามที่จะจำกัดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดทั้งนั้น...แต่การกลัวความเสี่ยงจนไม่ยอมเผชิญหน้ากับความเสี่ยงแม้เพียงเล็กน้อยทำให้คนเราเสียโอกาสไปมาก  เช่น  บางคนกลัวการขึ้นเครื่องบินเพราะลอยขึ้นไปบนฟ้าที่เราไม่คุ้นเคยและนึกถึงภาพการตกลงจากท้องฟ้าสู่พื้นอย่างไร้ทางป้องกัน...แต่ในทางสถิติแล้วเราจะพบว่าโอกาสเกิดอุบัติเหตุในการเดินทางโดยเครื่องบินมีน้อยกว่าเดินทางโดยรถยนต์มาก...นั่นเพราะข้อจำกัดในการรับรู้ของสมองเราที่ให้กลัวสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายไว้ก่อนเพื่อความอยู่รอด...แม้ว่าการเผชิญกับความเสี่ยงบ้างจะทำให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลยก็ตาม...ในระยะยาวตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี  สูงกว่าการฝากธนาคารและพันธบัตรทุกชนิดแต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังหลีกเลี่ยงตลาดหุ้นเพราะตลาดหุ้นขึ้นๆลงๆในระยะสั้น...ดูมีความเสี่ยงสูง

คนส่วนใหญ่จึงกลัวความเสี่ยงแม้ว่ามีข้อมูลและตัวเลขที่ยืนยันว่าความเสี่ยงนั้นน้อยมากก็ตาม...

แล้วจริงๆอะไรในโลกนี้บ้างที่ไม่มีความเสี่ยง...ฝากเงินออมทรัพย์คิดว่ามั่นคงวันดีคืนดีแบงค์อาจจะเจ๊งก็ได้  ทำงานราชการคิดว่ามั่นคงทำงานแย่ยังงัยก็ไม่ถูกไล่ออกวันดีคืนดีอาจจะมีการปฏิรูประบบราชการเอาคนที่ไม่ขยันไม่มีความสามารถออกทำงานออกก็ได้  คิดว่าเป็นหมอมั่นคงก็ไม่ตกงานวันดีคืนดีทำงานผิดพลาดโดนฟ้องเข้าคุกก็อาจจะเป็นได้  ผู้หญิงมีสามีรวยไม่ต้องทำงานคิดว่ามั่นคงวันดีคืนดีสามีอาจจะเสียชีวิตการทันหันโดยมีแต่หนี้เหลือทิ้งไว้ก็เป็นได้  หรือสุดท้ายแล้ว...จริงๆแล้วเราก็ไม่รู้หรอกว่าจะตายเมื่อไรบางทีอาจจะเป็นพรุ่งนี้ก็ได้  ไม่มีใครรู้...

ความมั่นคงปลอดภัยโดยปราศจากความเสี่ยงอย่างสิ้นเชิงจึงไม่มีอยู่จริง ..จะดีกว่าไหม...ถ้าเรารับรู้ความเสี่ยงตามจริงโดยไม่ให้อารมณ์กลัวมามีอิทธิพลมากนัก  และยอมรับความเสี่ยงบ้างเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุหรือด้านจิตใจ...

ความกลัวซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์นำมาซึ่งอคติที่ผมจะกล่าวต่อไป...

8. Prospect  theory – ทฤษฏีความคาดหวัง

Prospect  theory คือ ทฤษฏีที่บอกว่า...คนเราให้คุณค่าของการได้รับ(ได้กำไร)และความสูญเสีย(ขาดทุน)แตกต่างกัน .. ทำให้คนเราตัดสินใจบนพื้นฐานของการได้รับมากกว่าการสูญเสีย... ซึ่งตาม Prospect  theory...การขาดทุนมีผลกระทบต่ออารมณ์มากกว่าการได้กำไรในจำนวนที่เท่ากัน  เช่น...เงินหายไป 100 บาท จะรู้สึกเสียใจเสียดาย ในระดับอารมณ์ที่มากกว่าเวลาดีใจตอนที่ได้เงิน 100 บาท


รูปนี้แสดงถึงเวลาที่เราได้กำไรเราจะดีใจน้อยกว่าเวลาเสียใจจากขาดทุนในจำนวนเงินที่เท่ากัน


อีกตัวอย่าง...เวลาได้เงินมา 50 บาทโดยไม่เสียไปจะรู้สึกดีกว่า...ได้เงินมา 100 บาทแล้วทำเงินหายไป 50 บาท  ทั้งๆที่ผลลัพธ์เท่ากันคือได้ 50 บาทแต่ความรู้สึกต่างกันมาก

ในเวลาที่คนเราต้องตัดสินใจ 2 ทาง ทางแรกมีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะได้กำไร ได้ผลตอบแทนที่ดี  ทางที่ 2 มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะขาดทุนสูญเสีย...คนส่วนใหญ่จะเลือกทางแรกคือมีโอกาสที่จะได้กำไร...ลองอ่านการศึกษาต่อไปจะเข้าใจมากขึ้น...

มีการศึกษาในปี 1979 โดย Kahneman และ Tversky เกี่ยวกับ Prospect  theory โดยให้ผู้เข้าร่วมได้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้กำไรและขาดทุน  โดยมีตัวอย่างคำถามในงานวิจัยดังนี้ครับ  (ลองทำไปด้วยนะครับแล้วดูว่าเราเลือกข้อไหนไป)

1. คุณมีเงิน 1,000 เหรียญและคุณต้องเลือกข้อใดข้อหนึ่งใน 2 ข้อนี้

ข้อ A  คุณมีโอกาส 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะได้  1000 เหรียญ  และ 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะไม่ได้สักเหรียญ

ข้อ B คุณมีโอกาส 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะได้เงิน 500 เหรียญ  (ได้แน่ๆ)

2. คุณมี 2000 เหรียญและคุณต้องเลือกข้อใดข้อหนึ่งใน 2 ข้อนี้

ข้อ A คุณมีโอกาส 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะเสียเงิน  1000 เหรียญ  และ 50 เปอร์เซ็นต์ที่จะไม่ได้เสียเลยสักเหรียญ

ข้อ B คุณมีโอกาส 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะเสีย 500 เหรียญ (เสียแน่ๆ)

ถ้าผู้เข้าร่วมคิดและตอบคำถามอย่างมีเหตุผล...การเลือกข้อ A หรือ B มีผลไม่ต่างกันเพราะกำไรคาดหวังเท่ากัน (Expected profit)

ผลการศึกษานี้พบว่า...คนส่วนใหญ่เลือกข้อ B สำหรับคำถามที่ 1  และเลือกข้อ A สำหรับคำถามที่ 2  ซึ่งผลที่ได้นี้บอกเราว่า...คนเราต้องการได้กำไรที่แน่นอนแม้ว่าจะต้องเสียโอกาสที่จะได้กำไรมากขึ้นแล้วมีความเสี่ยง  ในทางตรงข้าม...คนเราจะยอมเสี่ยงเพื่อลดหรือจำกัดการขาดทุนให้น้อยที่สุดแม้ว่าการตัดสินใจจะนำมาสู่ความเสี่ยงที่จะต้องเสียเงินเพิ่ม...ดังนั้นในสถานการณ์ที่กำไรหรือขาดทุนคนเราคิดต่างกัน  การขาดทุนมีผลต่อจิตใจมากกว่าการได้กำไรในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน

เราจึงเห็นว่าคนที่เสียพนันมักจะพยายามเอาคืนด้วยการเดิมพันสูงขึ้น เล่นแบบเสี่ยงๆมากขึ้น...ในการลงทุนคนเล่นหุ้นแล้วขาดทุนก็อยากจะลงเงินมากขึ้น เล่นหุ้นปั่นหรือหุ้นที่วิ่งแรงๆเพื่อจะได้ชดเชยส่วนที่ขาดทุนไป  ส่วนคนที่ได้กำไรมักจะขายเร็วเกินไปเพราะต้องการได้เงินที่แน่นอนแม้ว่าการถือต่ออาจจะได้กำไรมากขึ้นแต่พวกเขาคิดว่ามีความเสี่ยงที่กำไรจะหายไป...พวกเขาจึงตัดสินใจขายเพื่อทำกำไรทำให้ได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะได้...

และนั่นเป็นที่มาของ...Disposition effect คือ...การที่นักลงทุนชอบขายหุ้นที่มีราคาสูงขึ้นและเก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้ในพอร์ต  นักลงทุนไม่ต้องการรับรู้การขาดทุนเป็นตัวเงินจริงๆ  จึงเก็บหุ้นที่ขาดทุนไว้แบบนั้นแม้ว่าพื้นฐานหุ้นอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงก็ตาม...

ปีเตอร์ ลินส์...เซียนหุ้นระดับโลก ได้กล่าวว่า...” Some people automatically sell the winners and hold on to their losers, which is about as sensible as pulling out the flowers and watering the weeds” ...นักลงทุนบางคนขายหุ้นที่ชนะและเก็บหุ้นที่แพ้เอาไว้...ซึ่งดูมีเหตุผลพอๆกับเด็ดดอกไม้ทิ้งแล้วรดน้ำให้หญ้า...

การที่นักลงทุนมี Disposition effect ทำให้นักลงทุนทำผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควร และไม่มีความสุข ทางแก้คือ...ต้องเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่...

1. เก็บหุ้นที่ชนะเอาไว้และขายหุ้นที่แพ้ออกไป (ขายหุ้นแพ้เพราะพื้นฐานเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง  ไม่ใช่แค่ราคาลดลง  หรือถ้าเป็นนักเก็งกำไรจะขายเพื่อตัดการขาดทุน)  นั่นคือ...Cut loss and let profit run  จำกัดขาดทุนและปล่อยให้กำไรวิ่งไปเรื่อยๆ

2. เปลี่ยนกรอบความคิดใหม่  1) ในสถานการณที่ได้กำไรมากๆ เช่น 100 บาท ครั้งเดียวกับได้กำไร 50 บาท 2 ครั้ง การรับรู้กำไรก้อนเล็กหลายๆครั้งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น... 2) ในสถานการณ์ที่ขาดทุนมากๆ เช่น ขาดทุน 100 บาทครั้งเดียวกับขาดทุนน้อยๆหลายๆครั้ง เช่น ขาดทุน 100 บาทครั้งเดียวกับขาดทุน 50 บาท 2 ครั้ง การรับรู้การขาดทุนครั้งเดียวจะทำให้เราเจ็บปวดน้อยกว่า... 3) ในสถานการณ์ได้ทั้งกำไรและขาดทุนแต่โดยรวมยังเป็นกำไรอยู่ เช่น ได้กำไร 100 บาท แต่ขาดทุน 50 บาท การรับรู้ว่าผลรวมได้กำไร 50 บาทจะรู้สึกดีกว่าการรับรู้แบบแยกทั้งกำไรขาดทุน  4) ในสถานการณ์ที่ทั้งกำไรและขาดทุนแต่ขาดทุนมากกว่า...เช่น ขาดทุน 100 บาท ได้กำไร 50 บาท การแยกคิดว่าเราได้ทั้งกำไรและขาดทุนจะช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นบ้าง...

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนกรอบความคิดช่วยในเรื่องความรู้สึกได้บ้าง...สุดท้ายเราก็ต้องยอมรับตามจริงอยู่ดีเพราะเราจะได้รู้ว่าเรายืนที่จุดไหน  ขาดทุนเพราะอะไร กำไรเพราะอะไร ตามความจริง...เกิดจากฝีมือหรือโชค  เพื่อที่เราจะได้นำมาปรับปรุงและพัฒนาการวิเคราะห์หุ้น การควบคุมอารมณ์และการตัดสินใจให้ดีขึ้น

คนที่เสี่ยงที่สุดคือคนที่ไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลยครับ

ปล. ผมขอติดคำถามเรื่องพื้นฐานอารมณ์เกิดจากความกลัวและการตัดสมองส่วน Amygdala ทิ้งว่าจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจดีขึ้นหรือไม่ไว้ก่อน...แล้วตอนหน้าจะมาคุยให้ฟังต่อนะครับ

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่ 8) - บัญชีในใจ


“เอ้า!... เด็กๆ ...ของ 4 อย่างนี้มีอะไรต่างจากข้ออื่นค้าบบ...?”


ตั้งแต่สมัยเด็กตอนเรียนหนังสือเรามักจะถูกสอนเรื่องการจัดกลุ่ม  ถ้าของสิ่งใดมีลักษณะคล้ายกันจะรวมอยู่ในหมวดเดียวกัน  เวลาแบ่งหลักสูตรเนื้อหาวิชาก็จะแบ่งวิชาที่มีลักษณะคล้ายๆกันเข้าในกลุ่มเดียวกัน  เช่น คณิตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับตัวเลข  วิทยาศาสตร์จะพูดถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พิสูจน์ได้  วิชาสังคมศึกษาพูดถึงลักษณะทางสังคมของมนุษย์...เป็นต้น  แม้ว่าในชีวิตจริงๆทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออกก็ตาม...แต่การแบ่งการเรียนให้เป็นหมวดหมู่ก็ทำให้ง่ายต่อการศึกษา

เราจะพบเรื่องการแบ่งหมวดหมู่ได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น ...เวลาที่เราเข้าไปร้านค้าขนาดใหญ่  เรามักจะมองหาป้ายที่บอกหมวดหมู่สินค้าที่เราสนใจเพื่อไม่ให้เดินวนไปวนมา  ช่วยลดเวลาหาสินค้าลงได้มาก, บ้านถูกแบ่งออกเป็นสัดส่วนตามการใช้งาน เป็นห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องนอน แม้ว่าบางครั้งเราจะอาศัยในคอนโดห้องที่มีห้องเดียวก็ตามที, เวลาเราคบใครซักคนเราจะจัดให้อยู่ในกลุ่มต่างๆ เช่น เพื่อนสนิท  แฟน  เพื่อนธรรมดา  ศัตรูคู่แข่ง  ตามแต่ที่สมองของเราจะกำหนดโดยที่เราไม่รู้ตัว...


มนุษย์เรามีการจัดแบ่งสิ่งต่างๆออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการนำมาใช้  ทำให้มนุษย์พัฒนาเร็วกว่าสัตว์โลกชนิดอื่นๆเพราะนี่คือผลจากการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ในการบอกความเหมือนและความต่าง (Similarity and different) เพื่อนำไปสู่การจัดกลุ่มและหมวดหมู่ในที่สุด...


แม้แต่เรื่องเงินก็มีการแบ่งกลุ่มเช่นกันครับ...

ผมเป็นคนนึงที่ไม่ชอบใช้บัตรเครดิตเลย  เพราะถูกสอนมาว่าเป็นการใช้เงินอนาคต  ถ้าเป็นหนี้จะต้องถูกคิดดอกเบี้ยและจ่ายเงินมากกว่าที่ใช้จริง  ผมจึงไม่ทำบัตรเครดิตเลยจนพึ่งได้ทำเมื่อปีที่แล้วนี่เอง (ทำไปใบเดียวและคิดว่าคงจะไม่ทำอีกแล้ว)...จากเดิมที่ผมเคยมีวินัยในการใช้จ่ายเงินผมพบว่าหลังจากมีบัตรเครดิตผมรูดปื๊ดดๆจ่ายเงินบ่อยขึ้น...ยอดใช้เงินผมสูงกว่าที่ผ่านมา  และที่สำคัญผมเคยรูดจนติดหนี้บัตรเครดิตอีกด้วย (..แต่แค่ 1-2 เดือนนะครับเพราะคิดค่าใช้จ่ายไม่รอบคอบทำให้เงินในบัญชีไม่พอจ่ายทั้งๆที่ผมคิดว่ามีอยู่เหลือเฟือ)

สิ่งที่ทำให้การใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตสูงขึ้นกว่าการใช้เงินสดส่วนนึงเพราะสมองเราให้ความสำคัญของเงินพลาสติกต่างจากเงินสดที่เราจ่ายออกไปจริงๆ...เราไม่ได้รู้สึกอะไรมากมายเมื่อต้องจ่ายเงินพลาสติกแต่เรารู้สึกเจ็บปวดและสูญเสียเมื่อเราต้องจ่ายเงินสด...เราจึงระมัดระวังในการจ่ายเงินสดแต่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยกับเงินพลาสติก

และนั่นเป็นส่วนนึงที่ทำให้...ยอดหนี้ค้างชำระบัตรเครดิตของประเทศไทยปี 52 อยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท  และตัวเลขสูงอย่างนี้ทุกประเทศทั่วโลก

ในบ่อนคาสิโนต้องให้มีการแลกเงินสดเป็นชิปก่อนจึงจะเล่นพนันได้...นั่นเพราะเวลาที่เราเสียเงินในรูปแบบของชิปเราจะไม่รู้สึกอะไรมากเราจึงเล่นได้เรื่อยๆ...แต่เวลาที่เราเสียเงินสดเราจะรู้สึกสูญเสียเสียดาย...

การแบ่งเงินเป็นหมวดหมู่โดยที่เราไม่รู้ตัวก็เป็นที่มาของการบริหารจัดการเงินที่ไม่เหมือนกัน...นั่นทำให้เกิดอคติ(Bias) ที่ผมจะกล่าวถึงต่อไป


7.  Mental accounting – บัญชีในใจ


อคติจากการทำบัญชีในใจ ...คือการที่คนเรามีแนวโน้มแบ่งเงินเป็นหมวดหมู่ เป็นบัญชีต่างๆตามจุดประสงค์ ตามแหล่งที่มา ตามเป้าหมายของการใช้งานของเงินก้อนนั้น และทำให้คนเราตัดสินใจและทำพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลจากการแบ่งกลุ่มของเงินที่คิดขึ้นมาในสมองโดยที่เราไม่รู้ตัว...เช่น  เราอาจจะเห็นคนเก็บเงินก้อนไว้ในธนาคารเพื่อซื้อบ้านใหม่หรือพักร้อนประจำปี  ขณะที่ยังไม่ยอมใช้หนี้บัตรเครดิตให้หมดซะที...ซึ่งเงินก้อนที่เก็บก็ไม่ได้ดอกเบี้ยมากมายแต่หนี้บัตรเครดิตจะคิดดอกเบี้ย 15-20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี...(ถ้ามีการใช้จ่ายเพิ่มก็คิดเพิ่มไปอีก)

กรณีนี้การเอาเงินไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตน่าจะเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกว่า...

แล้วเพราะอะไรคนส่วนใหญ่ถึงไม่ทำแบบนั้น...นั่นเพราะความคิดและทัศนคติที่ต่างกันกับเงินแต่ละก้อน  เช่น  เงินที่เก็บไว้ซื้อบ้านเราจะคิดว่าสำคัญมากเป็นเงินเพื่ออนาคตของครอบครัวเราจะไม่ยอมให้เสียไปง่ายๆแม้ว่าการที่ยอมเอาเงินเก็บเอาไปจ่ายหนี้จะทำให้ฐานะทางการเงินโดยรวมดีขึ้นก็ตาม...

ยกตัวอย่างอีกข้อ...สมมุติว่าเรากำลังจะไปซื้อคริสปี้ครีมราคา 250 บาท  กรณีที่1  ต่อคิวซะนานเลยพอมาถึงปั๊บ...อ้าวเงิน 250 บาทหายไป ค้นจนทั่วก็ไม่เจอแต่คุณยังมีกระเป๋าสตางค์อยู่  กรณีที่ 2  เข้าคิวซื้อจนได้คริสปี้ครีมมากินสมใจอยาก  ปรากฏว่า...มือลื่นทำหล่นขนมเองตกพื้นไปหมดเลยต่อหน้าพนักงาน  กรณีไหนที่คุณจะควักเงินซื้ออันใหม่...

ถ้าพูดตามจริงแล้วทั้งสองกรณีถือว่าเสียเงินเท่ากัน คือ 250 บาท...ดังนั้นเราควรจะตัดสินใจไปแนวทางเดียวกันถึงจะถูก  แต่จริงๆแล้วเราไม่ได้ทำแบบนั้น  เพราะเจ้าอคติจากบัญชีในใจเนี่ยแหละ  กรณีแรกคนส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อเพราะเงินยังไม่ได้ถูกจ่ายออกไป (ในสมองเงินก้อนนี้ยังไม่ถูกจัดเป็นรายจ่ายสำหรับค่าอาหาร)  แต่กรณีหลัง...เงินถูกจ่ายไปแล้วทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ซื้ออีกหลักจากขนมตกพื้นไปแล้ว...

สมองคนเราจะมีการจัดเงินเป็นกลุ่มๆตามที่มาและวัตถุประสงค์โดยที่เราไม่รู้ตัว  มีบัญชีรายได้ในใจ  ซึ่งแบ่งที่มาของเงินด้วยว่าได้มาง่ายหรือได้มายาก  ถ้าเงินก้อนที่ได้มายากเราจะไม่ยอมเสียไปง่ายๆ  เช่น  เงินจากการทำงานหนัก  แต่กับรายได้ที่ได้มาง่ายเช่น ถูกหวย  ถูกลอตเตอรี่  โบนัส  เราจะเสียเงินก้อนนี้ไปง่ายเช่นกัน... 

ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ว่าเงินจะมาจากไหนก็มีค่าเหมือนกัน...การให้คุณค่าแตกต่างกันตามแหล่งที่มาคือพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล...ไม่สำคัญว่ารายได้จะได้มาง่ายหรือมายากตราบใดที่เป็นรายได้โดยสุจริตก็มีผลดีต่อความมั่งคั่งโดยรวมของเราทั้งสิ้น  การใช้จ่ายก็มีผลต่อเงินโดยรวมในกระเป๋าเราเช่นกัน...

ในการลงทุน...บัญชีในใจก็มีผลต่อการลงทุน  เช่น  นักลงทุนบางคนทำการแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 2 พอร์ต  พอร์ตนึงลงทุนแบบระยะยาวเน้นความปลอดภัย  อีกพอร์ตลงทุนแบบเน้นเก็งกำไรซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงๆ...เจตนาก็เพื่อผลตอบแทนสูงๆจากพอร์ตเก็งกำไรและความมั่นคงปลอดภัยจากพอร์ตลงทุน  แต่อย่างไรก็ตามการแบ่งพอร์ตก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากการรวมพอร์ตขนาดใหญ่เพียงพอร์ตเดียว  และในทางปฏิบัติเราอาจจะลงทุนความเสี่ยงสูงมากๆกับพอร์ตเก็งกำไรเพราะเราคิดว่าเป็นเงินที่เสียได้ทำให้มีความเสียหายจากการเก็งกำไรตามมาได้...การลงทุนในหุ้นไม่ว่ารูปแบบไหนก็ต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งสิ้น...

รวมไปถึงการได้กำไรจากการลงทุนหรือการเก็งกำไรมาแบบง่ายๆ...เราจะแบ่งเงินทั้งก้อนเป็นต้นทุนและกำไร ส่วนที่กำไรเราจะระมัดระวังกับเงินก้อนนี้ลดลง  ซื้อหุ้นก็ไม่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดเหมือนตอนแรกเพราะคิดว่าเป็นกำไรที่ได้มาจะเสียไปก็ไม่เป็นไร...ทั้งที่จริงๆแล้วเราต้องให้ความสำคัญกับเงินทั้งก้อนเท่าๆกันเพราะเป็นเงินเหมือนกัน  ต้องคิดว่าเหมือนกับว่าเงินนี้ได้มาจากการทำงาน...

ไม่ว่าเงินจะอยู่ในรูปแบบไหนหรือมาจากแหล่งใดแต่ ”เงินก็คือเงิน” ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ  เงินที่ได้มาง่ายๆก็มีคุณค่าไม่ต่างจากเงินที่ได้มาด้วยความยากลำบาก...

เรื่องเงินและการลงทุนไม่มีคำว่าสองมาตราฐานครับ...อิอิ

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่ 7) - ความหลงผิดของนักพนัน

 
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเรียนเรื่องความน่าจะเป็นในคณิตศาสตร์ตอนชั้นมัธยมมานะครับ  ในเรื่องความน่าจะเป็นนี้จะบอกเราว่าโอกาสเกิดเหตุการหนึ่งมีเท่าไร (เช่น เหตุการณ์ E)...หนึ่งในสิบ หนึ่งในร้อย หนึ่งในพัน ซึ่งถ้าความน่าจะเป็นยิ่งน้อยเท่าไรเหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งเกิดยากขึ้น... ความน่าจะเป็นถูกกำหนดให้เป็นตัวเลข น้อยที่สุดคือ 0 (ไม่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์Eเลย) จนไปถึง 1 (เกิดเหตุการณ์ E แน่ๆ)


เวลาผมทำข้อสอบปรนัยสมัยมัธยม...เวลาที่ผมทำข้อไหนไม่ได้ผมจะมาไล่ดูว่า...มีข้อไหนนะที่ถูกกาน้อยที่สุด นั่งนับตั้งแต่ ก-จ แล้วเวลาเดาข้อที่เหลือผมจะให้ความสำคัญกับข้อที่น้อยที่สุด...แนวคิดนี้มาจากสมมุติฐานที่ว่า...ความน่าจะเป็นของการกาข้อสอบให้ถูกแบบสุ่มในแต่ละข้อเท่ากับ 1 ใน 5 (0.2) รวมกับเคยมีคนบอกผมว่าคำตอบจะเท่าๆกันในแต่ละตัวเลือก ก-จ (เช่นข้อสอบมี 100 ข้อ จะมีคำตอบข้อ...ก 20 ข้อ ข 20 ข้อ ค 20 ข้อ ง 20 ข้อ จ 20 ข้อ) ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่าแนวคิดนี้ถูกต้องหรือไม่...แต่ก็ใช้แนวคิดนี้มาตลอดตอนที่เดาข้อสอบ 555...(สอบเข้าหมอมาได้งัยเนี่ย 555)

ถ้าหากแนวคิดว่าแต่ละคำตอบต้องเท่าๆกันในแต่ละตัวเลือก...แสดงว่า ความน่าจะเป็นของแต่ละข้อไม่ได้เป็นอิสระจากกัน (Dependence) ...เหมือนจับใบดำใบแดงตอนเกณฑ์ทหารถ้าคนก่อนหน้าเราจับได้ใบแดงหลายๆคน  โอกาสที่เราจะได้ใบแดงก็ลดลงไปเรื่อยๆ...แต่ถ้าหากผู้ออกข้อสอบไม่ได้คิดแบบนี้  โดยคิดแบบสุ่มคำตอบอย่างแท้จริงแต่ละข้อจะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันอย่างชัดเจน  วิธีนับตัวเลือกจะไม่ได้ผลเลย...

ในวงการหวยที่ผมไปประสบมาตอนใช้ทุน  (ผมเคยซื้อแบบลองดูเล่นๆด้วยทีนึง...ผลเหรอครับถูกกินเรียบ) เคยมีคนใช้วิธีเก็งโดยเป็นที่รู้กัน...เช่น งวดนี้ออกแล้ว 85 งวดหน้าไม่ออกแล้ว ไปเก็งตัวอื่นดีกว่า...พวกเค้าจะตัดตัวเลขหวยที่เพิ่งออกในตัวเลขที่เก็งว่าจะออกงวดหน้า...

ฟังดูเซียนนะครับ

แล้วหวยงวดนี้กับงวดที่แล้วเหตุการณ์เป็นอิสระจากกันหรือเปล่า?...ถ้ากรณีที่หวยเป็นเหมือนตัวเลขในกล่องแล้วค่อยหยิบออกทีละงวดๆจนหมดแนวคิดนี้จะถูกต้องเลย...แต่ความจริงแล้วการที่หวยแต่ละงวดออกโดยเป็นอิสระจากกันทำให้การตัดตัวเลขที่เพิ่งออกไปออกจากตัวเลขที่จะออกงวดหน้าไม่ได้เลย...แนวคิดนี้จึงไม่ถูกต้องครับ

ดังนั้นเราต้องแยกให้ได้ว่าเหตุการณ์ของความน่าจะเป็นสองเหตุการณ์(หรือมากกว่านั้น)...ว่าเป็นอิสระจากกันหรือไม่? (Dependence or Independence events)

การคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตโดยใช้หลักความน่าจะเป็นแบบผิดๆ (อย่างไม่ตั้งใจ)...นำไปสู่อคติ (Bias) อีกอย่างที่ผมกำลังจะพูดต่อไป...

6. Gambler’s Fallacy - ความหลงผิดของนักพนัน

เมื่อเหตุการณ์ในอนาคตส่วนใหญ่จะถูกประเมินโอกาสเกิดโดยใช้ความน่าจะเป็น ...ความหลงผิดของนักพนันก็คือ การที่คนเรามีความเชื่อว่า...เหตุการณ์สุ่มอย่างหนึ่ง (เช่น โอกาสหวยออก 85) จะมีโอกาสเกิดน้อยเมื่อเกิดตามหลังเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งหรือเหตุการณ์อีกชุดหนึ่ง ( เช่น หวยออก 85 ไปแล้ว) แนวคิดนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้เปลี่ยนความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตเลยแม้แต่น้อย...(เหตุการณ์เป็นอิสระต่อกัน)

ผมจะลองให้โจทย์2ข้อนะครับ...คิดกันเล่นๆ

ข้อแรก – ความน่าจะเป็นที่นาย ก จีบหญิงติดเท่ากับ 25% แล้วนาย ก จีบหญิงไปแล้วสามคนแรกแห้วรับประทาน...แสดงว่าสาวคนที่ 4 ที่นาย ก กำลังจะเข้าไปจีบต้องสำเร็จแน่ๆหรือเปล่านะ?

ข้อสอง – ผมให้เลขแบบสุ่มชุดนึง ... 011101110110001001100 ลองทายดูว่าตัวเลขต่อไปน่าจะเป็น 1 หรือ 0?

..... (ติ๊กต๊อกๆๆ) .....กริ๊งงงง...

เฉลยนะครับ...ข้อแรก นาย ก ยังคงต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่อไป เพราะเหตุการณ์จีบสาวแต่ละครั้งเป็นอิสระจากกัน (ยกเว้นว่าสาวๆทั้ง 4 คนจะแอบไปคุยและตกลงกันว่าคนใดคนนึงจะยอมเป็นแฟนนาย ก) ดังนั้นโอกาสที่ นาย ก จะจีบสาวคนที่ 4 สำเร็จคือ 0.25 เหมือนเดิม...ขอยกตัวอย่างเสริม อย่างการทอยเหรียญ ถ้าทอยออกหัวไปซัก 10 ครั้ง ตาที่ 11 คนส่วนใหญ่ก็คงคิดว่าน่าจะออกก้อยแน่ๆ...ถ้าออกหัวอีกก็เว่อร์แล้ว ซึ่งความจริงแล้วโอกาสออกหัวยังเป็น 50% เหมือนเดิมไม่ได้น้อยลงเพราะออกหัวติดต่อกันมาก่อนหน้านี้ 10 ครั้งแต่อย่างใด ...

ส่วนข้อสอง โอกาสที่จะตัวเลขจะออก 1 หรือ 0 ก็ยังพอๆกันเหมือนเดิมเพราะเป็นตัวเลขแบบสุ่ม  เพียงแต่รูปแบบการจัดเรียงตัวเลขบางครั้งเราจะคิดไปถึงเลขอนุกรม(เหมือนไม่ได้สุ่มมา-Non random)และพยายามหาความสัมพันธ์ของเลขในชุดนั้นๆ...ซึ่งการที่คนเราชอบหาความสัมพันธ์หรือแนวโน้มของเหตุการณ์เรียกว่า Clustering illusion – ภาพลวงจากการกระจุกตัว

ในโลกของการลงทุน ...เชื่อหรือไม่ว่านักลงทุนหรือนักเก็งกำไรต่างก็ตกอยู่ในความหลงผิดของนักพนันทั้งสิ้น...ยกตัวอย่างนะครับ ในช่วงเริ่มต้นของการเล่นหุ้นผมจะมานั่งดูเป็นวันต่อวันว่า...วันนี้ดัชนีขึ้นหรือลง...ถ้าเกิดขึ้นติดๆกันหลายวันเช่น 5 วันติด ผมจะเก็งว่าพรุ่งนี้มันต้องลงแน่ๆ...ปรากฏว่าจริงแล้วดัชนีดันขึ้นต่อไปเรื่อยๆ...หรือช่วงที่ดัชนีลงหลายๆวันติดกันเช่น 5 วัน ผมก็นังเก็งแล้วว่าพรุ่งนี้ดัชนี้ขึ้นชัวร์ๆ...ปรากฏว่าดัชนีดันลงต่อแบบไม่หยุดยั้ง...

นักลงทุนที่หุ้นที่ตัวเองถือราคาขึ้นติดๆกันหลายวัน...อาจจะเทขายออกมาเพราะเชื่อว่าราคาขึ้นมาขนาดนี้แล้วไม่มีทางขึ้นไปต่อได้อีกแล้ว  ในทางตรงข้ามนักลงทุนจะถือหุ้นที่ราคาตกลงไปเรื่อยๆหลายๆวันติดๆกันเพราะเชื่อว่าราคาลงไปหลายวันแล้วไม่มีทางที่จะลงต่อได้อีกแล้ว...แต่การที่หุ้นทีราคาขึ้นหลายวันติดกันหรือลงหลายวันติดกันไม่ได้หมายความว่า...ราคาจะเคลื่อนไหวต่อในทิศทางเดิมไม่ได้


เวลาเราซื้อหุ้นจะมีผลลัพธ์ของเหตุการณ์อยู่ 3 แบบ คือ หุ้นขึ้น, หุ้นลง, เท่าเดิม นั่นคือความน่าจะเป็นคือเกิด 1 ใน 3 เหตุการณ์นี้ (แต่ความน่าจะเป็นจะไม่ใช่ 0.33 เป๊ะๆเพราะมีการถ่วงน้ำหนักให้โอกาสเกิดเหตุการณ์หนึ่งน้อยกว่าเหตุการณ์หนึ่ง เช่น โอกาสเกิดราคาหุ้นเท่าเดิมเป๊ะในตลาดที่มีการแกว่งตลอดเวลาถ้าตามสามัญสำนึกคนเราจะบอกว่าโอกาสน่าจะน้อยกว่าราคาหุ้นขึ้นหรือลง)  ในระยะสั้นตามแนวคิดตลาดมีประสิทธิภาพราคาหุ้นจะเหมือนรูปแบบรอยเท้าคนเมา (Random walk) ...นั่นคือไม่แน่เหมือนกันว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง...การดูรูปแบบราคาขึ้นลงแล้วทำนายเหตุการณ์ในอนาคตระยะสั้นวันสองวันจะใช้ไม่ได้ผลเลยตามแนวคิดตลาดมีประสิทธิภาพ (เพราะเหตุการณ์จะเกิดขึ้นแบบสุ่ม)


แล้วจริงๆเหตุการณ์ที่ราคาหุ้นขึ้นหรือลงในแต่ละวันหรือแต่ละเดือน(หรือปี)...เป็นอิสระจากกันหรือไม่? (Dependence or Indepence event)  ถ้าเราเอากราฟของราคาหุ้นมาPlot ร่วมกับกราฟของกำไรต่อหุ้น  เราจะพบว่าราคาในระยะยาวไปกับกำไรเสมอ  แม้ว่าระยะสั้นราคาหุ้นจะไม่ตามกำไรอาจจะราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่ากำไร  แต่สุดท้ายแล้วเส้นราคาหุ้นจะมาขนานไล่ไปกับกราฟกำไร ดังนั้นราคาหุ้นในระยะสั้นจะขึ้นกับเหตุการณ์(ข่าว)ที่มากระทบหุ้น...ซึ่งจัดได้ว่าราคาแต่ละวันเป็นอิสระต่อกันคาดการไม่ได้เลย ผันผวนมาก (ราคาเมื่อวานไม่ได้มีผลต่อราคาวันนี้) แต่ในระยะยาวจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นทำให้เราคาดการได้บ้างโดยใช้เครื่องมือในการลงทุนไม่ว่าจะเป็นการใช้ปัจจัยพื้นฐานกิจการ (Fundamental) หรือปัจจัยทางเทคนิค (Technical analysis) จะช่วยให้นักลงทุนลดความหลงผิดของนักพนันลงไปได้...

ลองมองสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยใช้หลักความน่าจะเป็นดูนะครับ...เพราะชีวิตก็เหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน...

ต้องเตรียมพร้อมและเผื่อใจรับทั้งด้านดีและด้านร้ายของชีวิตครับ...

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่ 6) - สิ่งเร้าและการตอบสนองเกินจริง


เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่จัดขึ้นทุกปี...บูทที่ขายหนังสือที่เกี่ยวกับการลงทุนมีคนไปมุงเบียดเสียดกันมากมาย  ผมไม่ประหลาดใจเท่าไรเพราะช่วงนี้ดัชนีหุ้นขึ้นมาสูงมากทำให้คนทั่วไปสนใจที่จะเอาเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น  แต่ถ้าย้อนมองกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน...ตอนไปงานสัปดาห์หนังสือแทบจะไม่มีใครดูหนังสือเรื่องการลงทุนเลย...เมื่อเวลาเปลี่ยนสิ่งต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไป...


หลังช่วงวิกฤต Subprimeใหม่ๆ  มีคนขาดทุนหุ้นมากมาย  บ้างก็สาบส่งตลาดหุ้นและเลิกเล่นหุ้นไป  เวบบอร์ดต่างๆมีการตั้งกระทู้น้อยมาก  ถ้ามีใครตั้งกระทู้ที่เกี่ยวกับการเริ่มเล่นหุ้นจะต้องถูกปรามว่าอย่ามาเล่นหุ้นเลย  ช่วงนั้นผมเองก็ไม่รู้จะไปให้ใครสอนเรื่องหุ้นให้เพราะรอบๆตัวไม่มีใครเล่นหุ้นเป็นสักคน  บรรยากาศช่างแตกต่างกับตอนนี้ราวฟ้ากับดิน...

ถ้าใครเคยผ่านช่วงเวลาที่ชีวิตพบกับปัญหาหนักคงจะพอนึกออกว่าเราจะรู้สึกว่าช่วงเวลาเหล่านั้นผ่านไปช้ามาก..ราวกับจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์  แต่เวลาที่คนเราได้พบเรื่องราวที่ทำให้มีความสุขมากๆเราจะรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วและรู้สึกเสียดายเมื่อเวลาผ่านไป...


เมื่อความเป็นจริงนั้นทุกสิ่งล้วนแต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  แต่คนเราส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่กับอดีตที่พึ่งเกิดขึ้นมากกว่า...คนที่เพิ่งอกหักก็คิดว่าฉันจะไม่มีใครอีกแล้วจะต้องอยู่คนเดียวตลอดไป  คนที่ล้มเหลวบางคนก็ท้อแท้จนเลิกล้มที่จะทำต่อไป...คนที่เพิ่งได้รับความสำเร็จเช่น สอบได้ เล่นหุ้นได้กำไร บางคนก็คิดว่าตัวเองจะทำได้ไปตลอดไปจนละเลยการสร้างเหตุที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ  อะไรทำให้เป็นอย่างนั้น...


เพราะไม่ว่าคนเราจะมีรูปแบบความคิด  ประสบการณ์ในอดีตหรือเตรียมพร้อมมาดีแค่ไหนก็ตาม...สิ่งกระตุ้นเร้าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น (Recent stimuli) ย่อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนเรามากที่สุด...แม้ว่าคนเราจะถูกสอนให้คิดอย่างมีเหตุผล  แต่เมื่อคนเราตกอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่สูงไม่ว่าจะด้านบวกหรือด้านลบ...ย่อมนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผล...เราปล่อยให้การตัดสินใจมีอิทธิพลทางอารมณ์จากสมองส่วนลิมบิก (Limbic system – Amygdala) มาแทนที่การตัดสินใจที่มีเหตุผลจากสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ...

เซอร์ ไอแซค นิวตัน อัจฉริยะนักฟิสิกส์ผู้ค้นพบกฎแห่งการเคลื่อนที่...ได้กล่าวว่า...I can calculate the motion of heavenly bodies, but not the madness of people – ข้าพเจ้าสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเทหวัตถุในท้องฟ้า  แต่ไม่ใช่ความบ้าคลั่งของฝูงชน ...(นิวตันเจ๊งหุ้น South sea company ในช่วงที่เกิดฟองสบู่เมื่อปีค.ศ. 1720)  แม้แต่อัจฉริยะยังถูกเหตุการณ์ฟองสบู่นี้กระตุ้นอารมณ์ด้านความโลภจนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด...

การที่สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นทำให้อารมณ์คนเราตื่นตัวไม่ว่าจะด้านบวกหรือลบ...ทำไปสู่อคติ(Bias)ในแบบที่ผมกำลังจะกล่าวถึงต่อไป...


5. Overreaction and Availability Bias การตอบสนองเกินจริงและอคติจากมองข้อมูลล่าสุด


การตอบสนองเกินจริง (Overreaction) เป็นสิ่งที่เราพบได้เป็นประจำในตลาดหุ้นเมื่อมีข่าวอะไรใหม่ๆมากระทบ...นั่นเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าตลาดหุ้นมีอารมณ์ความรู้สึก  (อย่างที่ผมเคยบอกว่าตลาดหุ้นคือผลรวมของโลกภายในของนักลงทุนและคนทั่วๆไป)  ถ้าตามทฤษฏีตลาดมีประสิทธิภาพ...ข่าวสารใหม่ๆควรจะสะท้อนในราคาหุ้นทันทีไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นเพิ่มหรือลด...เช่น ข่าวดีทำให้ราคาหุ้นขึ้นโดยราคาไม่ควรจะลดลงมาถ้าไม่มีข่าวใหม่ๆ...

ในความเป็นจริงแล้ว...บ่อยครั้งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นตอบสนองเกินจริงต่อข่าวใหม่ๆทำให้มีผลต่อราคาหุ้นอย่างมาก  นอกจากนี้การที่ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วไม่ได้เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นอย่างถาวร เมื่อเวลาผ่านไป

ในปี 1985  Werner De Bondt และ Richard Thaler ได้ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารทางการเงินเรื่อง “Does the Market over react?” (ตลาดตอบสนองเกินจริงหรือไม่?)  ในการศึกษานี้ได้มีการติดตามผลตอบแทนของหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์คเป็นเวลา 3 ปี โดยแบ่งหุ้นเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วยหุ้น 35 ตัวที่ทำผลตอบแทนดีที่สุด...เรียกกลุ่มนี้ว่า พอร์ตผู้ชนะ (Winners portfolio) และอีกกลุ่มประกอบด้วยหุ้นที่ทำผลตอบแทนได้แย่ที่สุด...เรียกกลุ่มนี้ว่า พอร์ตผู้แพ้ (Losers portfolio) มีการติดตามผลตอบแทนของทั้ง 2 กลุ่มเป็นเวลา 3 ปี เทียบกับดัชนีตลาดหุ้น

ไม่น่าเชื่อว่า... Losers portfolio ชนะตลาดอย่างสม่ำเสมอ...ขณะที่ Winners portfolio ทำผลตอบแทนได้ไม่ดีนัก...โดยรวมแล้วความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 กลุ่มอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลา 3 ปี

ผู้ชนะกลายเป็นผู้แพ้...ผู้แพ้กลายเป็นผู้ชนะ???

เกิดอะไรขึ้นอ่ะครับ...นั่นเพราะทั้งพอร์ต  Winners และ Losers portfolio เกิดการตอบสนองเกินจริงจากนักลงทุน  ในพอร์ตหุ้นที่ผลตอบแทนไม่ดี(Loser)  นักลงทุนตอบสนองต่อข่าวร้ายมากเกินไป  ทำให้ราคาหุ้นลดลงมากกว่าที่ควรจะเป็น  หลังจากนั้น(เมื่อเริ่มหายผิดหวัง)นักลงทุนเริ่มตระหนักว่าพวกเขามองโลกในแง่ร้ายเกินไป หุ้นLoserเหล่านั้นเริ่มมีราคาสูงขึ้นหลังจากที่นักลงทุนได้ข้อสรุปว่าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่า  ในทางกลับกัน...หุ้นที่ทำผลตอบแทนดีมากๆ(Winner) นักลงทุนได้ตอบสนองต่อข่าวดีเกินความจริงไปเช่นกัน...เมื่อนักลงทุนตระหนักรู้การมองโลกในแง่ดีเกินจริง ราคาหุ้นก็มีการปรับตัวลดลงมา...

แล้วอะไรคือสาเหตุของการตอบสนองที่เกินจริง...

หลายครั้งผมพบคนไข้ที่เป็นมะเร็งเมื่อแพทย์ได้บอกข่าวเรื่องพบเนื้อร้าย...แต่คนไข้เหล่านั้นกลับไม่ได้มีท่าทีผิดหวังรุนแรงหรือเสียใจฟูมฟาย...พวกเขาบอกว่าได้เตรียมใจมาก่อนแล้ว  ทำให้ทำใจได้...และยังมีความหวังในอนาคตที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้ดีที่สุด...ต่างกับคนที่เสียญาติหรือบุคคลสำคัญไปแบบทันด่วนพวกเขาร้องไห้เสียใจมากเพราะไม่ได้เตรียมใจมาก่อนเรื่องราวมันเกิดขึ้นเร็วเกินไป...

มนุษย์เรามีความคาดหวังต่อสิ่งต่างๆ(Expectation)...นักลงทุนคาดหวังว่าซื้อแล้วหุ้นต้องขึ้น  ผลประกอบการต้องดี...บางคนไม่ได้มองว่าจะมีโอกาสที่จะเกิดเรื่องร้ายๆกับบริษัท  ไม่ได้เตรียมใจว่าราคาหุ้นอาจจะลง  ไม่ได้มองความเสี่ยงไว้เลย...เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกินขึ้น  นักลงทุนเหล่านั้นจะเกิดอาการ”ผิดหวัง” แล้วทุกคนจะมองโลกในแง่ร้ายสุดๆ...นำไปสู่ราคาหุ้นที่ตกต่ำเกินจริง...หุ้นบางตัวที่คนคาดหวังน้อยๆ...เมื่อมีข่าวดีออกมา เช่น บริษัททำกำไรได้ดีเกินคาด...จะทำให้นักลงทุนเกิดอาการลิงโลด(ยิ่งกว่าสมหวังเพราะดีเกินคาด) ไล่ซื้อหุ้นจนราคาวิ่งไปไกลมาก...

เราควรซื้อหุ้นที่ความคาดหวังต่ำกว่าคุณภาพของบริษัทที่เป็นจริงเพราะราคามักจะต่ำกว่ามูลค่า (Undervalue)...ถ้าความคาดหวังเท่าๆกับผลกำไรของบริษัทเมื่อประกาศงบออกมาจะเกิดการขาย (Sell on fact) ถ้าผลประกอบการน้อยกว่าที่นักลงทุนคาดจะเกิดอาการผิดหวังยิ่งแย่งกันเทขาย  ถ้าผลประกอบการดีกว่าที่นักลงทุนคาด..คนจะลิงโลดแย่งกันซื้อจนราคาจะวิ่งไปไกล...ดังนั้นเราควรอ่านความคาดหวังของตัวเราเองให้ออกเพื่อจะได้ระวังอาการผิดหวัง...และอ่านความคาดหวังของนักลงทุนทั่วๆไป(นายตลาด)ให้ออก  แล้วนำมาเปรียบเทียบกับพื้นฐานของบริษัทที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง...

ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ซื้อหุ้นที่ดูดีมีอนาคตที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวังหรอกนะครับ...แต่ผลประกอบการและการเติบโตนั้นจะต้องดีมากกว่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดหวัง...และนี่จะเป็นการลงทุนในหุ้นที่มีความคาดหวังต่ำเช่นกันครับ...

เมื่อเรารู้แล้วว่าการตอบสนองเกินจริงมาจากความผิดหวังหรือดีเกินคาดต่อสิ่งกระตุ้นเร้า (Response to stimuli)...นักลงทุนจะได้ประเมินความคาดหวังของตัวเอง  มองข้อเสียและความเสี่ยง..มองข้อดีและโอกาสของบริษัทตามจริง (สร้างแบบจำลองสถานการณ์ไว้หลายๆแบบ)  มีสติไม่หลุดไปตามอารมณ์ของตลาด  ฝึกให้เรามีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้นแล้วใช้ประโยชน์จากการตอบสนองเกินจริงของนายตลาด...ต้องไม่ประมาทครับ

ส่วน Availability bias เกิดจากผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักในการตัดสินใจกับข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้น...(แล้วก็มีการตอบสนองเกินจริงตามมา)

การได้รับอิทธิพลจากข้อมูลล่าสุดนั้นเกิดขึ้นในชีวิตคนเราตลอดเวลา...เช่น  เราขับรถกลับบ้านบนถนนที่คุ้นเคยทุกๆวัน  อยู่มาวันหนึ่งเราเห็นรถยนต์เกิดอุบัติเหตุบนถนนเส้นนั้น...หลังจากนั้นเป็นได้ว่าเราจะเริ่มขับรถด้วยความระมัดระวังมากกว่าแต่ก่อนอาจจะนานเป็นสัปดาห์ถึงเป็นเดือน...ความน่าจะเป็นที่จะเกิดอุบัติเหตุบนถนนไม่ได้เพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน  เพียงแต่เหตุการณ์ที่เราพบเห็นอุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้เราตอบสนองเกินจริงไป  หลังจากนั้นเมื่อเราเคยชินเราจะกลับมาขับรถเหมือนเดิม....

ลองมองดูรอบๆตัวเราได้ครับ...เพราะเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆเลยครับ...

บางทีการที่เรามองใกล้ๆ  อาจทำให้เรามองไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด  การที่เรามองข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยขาดมุมมองระยาวนั้น...อาจทำให้เราตัดสินใจโดยไม่สมเหตุผล  ถ้าเรามองไกลขึ้นอีกหน่อย  ถอยออกมาอีกนิด...เราจะเห็นว่าข่าวดีหรือข่าวร้ายเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว  แต่ที่สำคัญกว่าคือข่าวนั้นกระทบผลการดำเนินงานของบริษัทมากน้อยแค่ไหน  ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว...บางทีวิกฤตจากข่าวร้ายที่ทำให้ราคาหุ้นต่ำมากๆจากการตอบสนองเกินจริง...อาจเป็นโอกาสทองของนักลงทุนผู้มองผ่านเปลือกของข่าวดีข่าวร้ายเข้าไปสู่แก่นของคุณค่าที่แท้จริงของบริษัทก็เป็นได้...

คำพูดของ Warren Buffet ที่บอกว่า...Be fearful when others are greedy and greedy only when others are fearful ให้กลัวเมื่อคนอื่นโลภและให้โลภเมื่อคนอื่นกลัว...ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ...ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งมาก  กล้าสวนกระแสคนส่วนใหญ่...แต่ทำได้แน่นอน...ถ้าเราฝึกฝนตัวเองให้เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันไม่ว่าจะดีหรือร้าย...มองให้ไกลขึ้น  มองให้กว้างขึ้น...

ลงทุนและใช้ชีวิตด้วยจิตใจที่มีความสุขและมีความหวังนะครับ  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจากนี้ต่อไปก็ตาม...

เพราะทุกสิ่งไม่ว่าจะดีหรือร้าย...สุดท้ายแล้วมันจะผ่านไปเสมอ


พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่5) ทำนายตลาดหุ้น


 “คุณเชื่อมั๊ยว่าชะตาชีวิตคนเราถูกกำหนดมาแล้ว?”


ประเทศไทยมีอาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโชคชะตาที่เฟื่องฟูมากๆ...นั่นคือ  หมอดู  เราจะพบเห็นหมอดูชื่อดังได้มากมายตั้งแต่ตามบริการทางโทรศัพท์  ตามโรงแรม  หรือ  ตามสวนสาธารณะต่างๆ...เวลาผมเข้าร้านหนังสือมักจะเห็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการดูหมอมากมายและมีมาวางขายแบบไม่จบไม่สิ้น...เวลาที่คนทั่วไปเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนก็มักจะไปดูหมอเพื่อเอาคำทำนายเป็นที่พึ่งทางใจ...ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหุ้น...

เมื่อตอนที่ผมเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ...ผมมักจะดูคำทำนายดัชนีหุ้นของหมอดูชื่อดังคนนึง  ผมมั่นใจมากว่าผมมีสิ่งที่คนอื่นไม่มี...พอผมอ่านคำทำนายย้อนหลังของหมอดูท่านนี้  ผมพบว่าหมอดูทำนายได้แม่นมากๆ...ผมเริ่มซื้อหุ้นตามหมอดูท่านนี้และเปิดไพ่ยิบซีเลือกหุ้นไปด้วย...555 โลกนี้จะมีใครกำไรได้เท่าผมอีก...ผลลัพธ์เหรอครับ ...“ขาดทุนเละ”

น่าแปลกที่เราอ่านคำทำนายของหมอดูทีไร...ทำไมถึงได้รู้สึกว่าแม่นขนาดนี้...นั่นเป็นเพราะเรามีอคติบางอย่างในใจครับ  เวลาเราฟังคำทำนายเรามักจะหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าคำนายของหมอดูถูกต้องมากกว่าจะมองว่ามีเหตุการณ์จริงที่ไม่ตรงกับคำทำนายหรือไม่...เมื่อหมอดูทำนายผิดเราก็มักจะลืมและไม่เอามาใส่ใจ...เราจึงมองว่าคำทำนายของหมอดูถูกเสมอ...


 เวอร์เนอร์  ไฮเซนเบิร์ก  นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชื่อก้องโลก...ได้ค้นพบหลักพื้นฐานของทวิภาค(เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น)ของอิเล็กตรอนว่า...ไม่มีทางระบุตำแหน่งและโมเมนตัมได้แม่นยำพร้อมกัน...หลักการนี้เรียกว่า...หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg’s uncertainty principle)  นั่นคือ...ถ้าหากวัดตำแหน่งอนุภาคได้แม่นยำจะบอกไม่ได้ว่าโมเมนตัมมีค่าเท่าไร  และหากระบุค่าโมเมนตัมได้อย่างแม่นยำจะไม่มีทางบอกได้เลยว่าอนุภาคอยู่ในตำแหน่งใด...


และนี่คือหลักความจริงของสิ่งที่เป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง...ทุกสิ่งล้วนไม่แน่นอนคาดการไม่ได้อย่างแม่นยำ...

จอร์จ โซรอส นักเก็งกำไรระดับโลก  ได้กล่าวว่า...” Financial markets generally are unpredictable. The idea that you can actually predict what’s going to happen contradicts my way of looking at the market.” ...”ตลาดเงินโดยทั่วไปแล้วไม่สามารถทำนายได้...ความคิดที่ว่านักลงทุนสามารถทำนายได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นนั้นขัดแย้งกับมุมมองของผมที่มีต่อตลาด” ...จะเห็นได้ว่าแม้แต่นักเก็งกำไรระดับโลกยังไม่เชื่อเลยว่าตลาดนั้นทำนายได้อย่างแม่นยำ

และการที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบและเชื่อการทำนายนั้นจะนำไปสู่อคติ(Bias)อีก 2อย่าง ที่ผมกำลังจะพูดต่อไป

4. Confirmation and Hindsight Bias  ...อคติจากการมองด้านเดียวและอคติจากการมองย้อนหลัง..

ความประทับใจครั้งแรก(First impression)  ยากที่จะสั่นคลอนเพราะคนเรามีแนวโน้มที่มีการคัดกรองและให้ความสนใจกับข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตนเอง  หลายๆครั้งมนุษย์ไม่ได้ใช้เหตุผลในการเลือกแต่มนุษย์เลือกก่อนแล้วหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตน  ขณะที่ละเลยไม่สนใจข้อมูลอีกด้านหนึ่ง  นี่คือ...อคติจากการมองด้านเดียว (Confirmation Bias)

เวลาที่หนุ่มสาวตกหลุมรักกันใหม่ๆ...จะเห็นว่าต่างฝ่ายต่างมองคู่รักว่าเป็นเทพบุตรเทพธิดาที่ดีเลิศไม่มีข้อเสียใดๆหรือถ้ามีก็เล็กน้อยมองข้ามไป...บางครั้งคนเหล่านี้ใจเร็วด่วนได้ตัดสินใจแต่งงานกันไปโดยไม่ศึกษากันให้นานพอ  มีผู้หวังดีหรือผู้ใหญ่เตือนก็มักจะไม่สนใจ  กลายเป็นว่าเมื่อเจอด้านไม่ดีที่เคยมองข้ามหรือไม่เคยมองกลับไม่สามารถรับฝ่ายตรงข้ามได้อีกต่อไปและต้องทนอยู่ด้วยกันอย่างทุกข์ทรมานจะเลิกก็เลิกไม่ได้...

ในการลงทุน Confirmation Bias  ทำให้นักลงทุนจะหาข้อมูลที่มาสนับสนุนความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับการลงทุนมากกว่าหาข้อมูลมาโต้แย้ง  ซึ่งเป็นผลให้เกิดการตัดสินใจผิดเพราะข้อมูลด้านเดียวจะทำให้กรอบความคิดของนักลงทุนบิดเบือนไป  เหมือนภาพที่ไม่สมบูรณ์...

เช่น...นักลงทุนได้ข่าวลือไม่ทราบที่มาว่าหุ้น...ABC จะมีข่าวดีและจะวิ่งขึ้นอย่างรุนแรง  เขาจะพยายามหาข้อมูลและบทวิเคราะห์ที่มาสนับสนุนและพิสูจน์ว่าหุ้นจะขึ้นจริงๆ  ไม่ว่าจะเป็นข้อดีเรื่องหนี้สินต่อทุนที่ต่ำหรือกระแสเงินสดที่ดีขึ้น  แต่ละเลยข้อเสียที่นำไปสู่การผิดพลาด เช่น การสูญเสียลูกค้าคนสำคัญหรือมูลค่าตลาดสินค้าโดยรวมที่นับวันจะลดลงเรื่อยๆ...หรือการที่เราเป็นลูกค้าของหุ้นที่เราถือเราก็จะมองเห็นแต่ข้อดีของกิจการนั้นๆ

เพื่อให้การตัดสินใจลงทุนสมเหตุสมผล  นักลงทุนควรจะหาข้อมูลให้ครบทุกด้าน  สอบถามนักลงทุน ผู้บริหาร ผู้บริโภค  ทั้งด้านที่สนับสนุนและกล้าที่จะเผชิญหน้ากับข้อมูลด้านที่ขัดแย้งกับความคิดของตนเอง...เพื่อให้ภาพของการลงทุนสมบูรณ์ที่สุด

อคติอีกอย่างที่ผมจะพูดถึงคือ...Hindsight bias ...คือความเชื่อของนักลงทุนที่ว่าตลาดทำนายได้  โดยมองข้อมูลย้อนกลับหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว...เวลาที่เกิดเหตุการณ์ในอดีตสามารถคาดเดาและทำนายได้อย่างชัดเจน  ทั้งที่ในความจริงแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถทำนายได้...

เราจะเห็นว่ามีนักลงทุนมากมายบอกว่าเขารู้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่เหตุการณ์เกิดไปแล้ว...เช่น  ผมรู้อยู่แล้วว่าหุ้นตัวนี้มันจะขึ้น  ทั้งที่จริงๆก็ไม่ได้ซื้อไว้,  ผมรู้อยู่แล้วว่าดัชนีจะไป 400 จุดช่วงมีวิกฤตsubprime  ทั้งที่จริงๆติดดอยอยู่ทุกตัว...ถ้ารู้จริงๆไม่short TFEX  หมดหน้าตักไปเลยล่ะครับ...


 
 


หรือเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง...Tulip bubble และ South sea bubble ก็มีคนมากมายที่มองย้อนกลับไปแล้วบอกว่าเหตุการณ์ฟองสบู่นี้ชัดเจนมากๆ

แต่เหตุการณ์หลายครั้งก็ดูเหมือนจะคาดได้จริงๆถ้ามองย้อนกลับไป ...นั่นเป็นเพราะว่าความต้องการดั้งเดิมของคนเราต้องการคำอธิบายว่าโลกนี้คาดการณ์ได้  ตั้งแต่วัยเด็กที่เราจะเห็นว่าพ่อแม่เลี้ยงดูเราอย่างดีให้นมตรงเวลาเข้านอนตรงเวลา  มาหามาดูแลอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้คนเรามั่นคงภายในและคิดว่าโลกนี้ปลอดภัยคาดเดาได้...ในขณะที่เหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์หลายๆอย่างก็คาดเดาได้ เช่น  การเคลื่อนที่ของดวงดาว  เมื่อคนเราเลือกจะเชื่อความมั่นคงปลอดภัยและการคาดการณ์ได้ทำให้คนเรามองความจริงผิดไป  ...ตลาดหุ้นนั้นเป็นผลรวมของเหตุการณ์ทางกายภาพและผลสะท้อนของจิตใจมนุษย์ทำให้คาดการณ์อย่างแม่นยำไม่ได้...เพราะเหตุปัจจัยนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การที่เราคิดว่าตลาดหุ้นคาดการณ์ได้จะนำไปสู่ความมั่นใจในตัวเองเกินไป (Overconfidence) ที่ผมพูดไปเมื่อบทก่อนๆ...และทำให้การลงทุนของเราเสียหายได้  เพราะเราจะวิ่งเข้าหาความเสี่ยงสูงโดยไม่ระวังอยู่ตลอดเวลา

ตอนเรียนแพทย์ผมไม่ชอบอายุรศาสตร์(Medicine)เลย  แต่ผมชอบเรียนประสาทวิทยา(Neurology)...โดยเฉพาะตอนวิเคราะห์วินิจฉัยโรค  คนนำเสนอข้อมูลจะค่อยๆเปิดเผยมาทีละส่วน...คนที่วิเคราะห์จะได้ข้อมูลเฉพาะตอนแรกเท่านั้น  แต่ต้องวิเคราะห์ให้ภาพรวมตรงประเด็นและถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้  แล้วถึงจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่เหลือตามลำดับ...ทำให้ความคิดถูกรบกวนจากการมองผลลัพธ์ย้อนกลับไปน้อยมาก  ซึ่งต่างกับการพิพากษาคดีทางการแพทย์จะรวมรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วมองย้อนกลับไป...ทำให้มีอคติจาการมองย้อนกลับได้  เช่น  ทำไมตอนนั้นไม่ทำอย่างนั้นล่ะ  ทำไมไม่ส่งไปรพ.จังหวัดล่ะ  ทั้งๆที่ในขณะนั้นแพทย์ก็ได้ให้การรักษาที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่สถาณการณ์จะอำนวยแล้ว...

นักลงทุนสามารถลดอคติชนิดนี้ได้โดยการมองจากปัจจุบันไปข้างหน้าและจดบันทึกความคิดที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไว้  แล้วมาอ่านดูว่าเราคิดอะไรในขณะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป  ประเมินว่าความคิดตอนนั้นถูกต้องหรือไม่  จะได้ช่วยลดความมั่นใจเรื่องการคาดการตลาดได้ลงไปครับ...

เห็นหรือยังครับว่าอคติ 2 อย่างนี้ทำให้เราเชื่อว่าชีวิตคนเราทำนายได้  ถูกกำหนดมาแล้ว  ...ดังนั้นถึงดูหมอหรือฟังนักวิเคราะห์มาแล้วก็อย่าไปเชื่อมากนะครับ...

เพราะชีวิตของเรา  เรากำหนดเองครับ 

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่4) การยึดติด





บทที่แล้วผมพูดถึงพฤติกรรมแห่ตามฝูงชน  เราสามารถนำพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผลของมนุษย์มาใช้ประโยชน์ได้...ถ้าเราเป็นนักเก็งกำไร...เราต้องอ่านอารมณ์ตลาดให้ออก และลงมือให้เร็วกว่าคนส่วนใหญ่อย่างน้อยครึ่งก้าว  ใช้อารมณ์ตลาดให้เป็นประโยชน์  โดยนักเก็งกำไรจะมีมุมมองว่าราคาหุ้นระยะสั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาด...แม้ว่าราคาจะเกินพื้นฐานแต่ถ้ามีคนแห่เข้าไปซื้อราคาหุ้นก็ขึ้น  (ด้วยการปล่อยข่าวหรือสร้างกราฟอย่างไรก็แล้วแต่...)  นักเก็งกำไรใช้โอกาสนี้ซื้อหุ้นได้แล้วทำกำไรได้  และถึงราคาหุ้นที่ต่ำกว่าพื้นฐานแต่ถ้าคนในตลาดมองโลกในแง่ร้ายมากๆก็มีโอกาสที่คนจะเทขายจนราคาต่ำกว่าพื้นฐานมากๆนักเก็งกำไรก็ใช้โอกาสนี้ขาย Short sell ได้เช่นกัน...นอกจากการอ่านอารมณ์ตลาดให้ออก  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องอ่านอารมณ์ตัวเองให้ออกและไม่ทำตัวเป็นคนที่ทำตามอารมณ์ตลาดซะเอง... (นักเก็งกำไรเป็นได้ทั้ง ชาวสวน - Contrarian investing หรือ ชาวไล่ - Momemtum investing ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของนักเก็งกำไรที่ใช้ในสถาณการณ์ที่นักลงทุนในตลาดเริ่มมีพฤติกรรมแห่ทำตามกันไป...)

ถ้าเป็นนักลงทุนให้มองหาช่วงที่ตลาดแห่ทำตามกันมากๆจนราคาตลาดของหุ้นนั้นผิดไปจากมูลค่าที่ควรจะเป็น...เช่น  ถ้าคนแห่ชื้อหุ้นตัวหนึ่งจนราคาเกินมูลค่าไปมากๆเพราะความโลภในช่วงตลาดกระทิง...นักลงทุนก็อาจจะพิจารณาขายหุ้นที่มีในมือเมื่อราคาตลาดเกินมูลค่า  หรือถ้าราคาตลาดต่ำมากๆจากที่นักเล่นหุ้นคนอื่นๆแห่กันเทขายเพราะความหวาดกลัวในช่วงตลาดหมี...นักลงทุนอาจจะพิจารณาเข้าไปซื้อเมื่อราคาตลาดถูกกว่ามูลค่า...สิ่งที่สำคัญคือ...ให้คิดอย่างอิสระจากฝูงชน  คิดและตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล  ลงทุนตามพื้นฐานของบริษัทอย่างแท้จริง  ไม่ขึ้นกับอารมณ์ตลาดทั้งทางสวนหรือไล่...ซึ่งก็ต้องอ่านอารมณ์ของตลาดและอารมณ์ของตัวเองให้ออกเช่นกันเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ...

แล้วเวลาที่ตลาดมีนักลงทุนที่ชอบแห่ทำตามกันแบบนี้  เราจะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าราคาของหุ้นตัวนั้นถูกหรือแพง???  ความถูกหรือแพงของหุ้นหรือสินค้าต่างๆนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบกับจุดอ้างอิง (Reference point) ซึ่งก็เหมือนกับการเปรียบเทียบทั้งหลายที่เกิดขึ้นในสังคม  เช่น  ความดี-ความชั่ว  ความสวย-ไม่สวย  ฉลาด-โง่  รวย-จน  เป็นต้น  มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา...เห็นได้จากหนังสือ ทีวี และคนทั่วๆไปชอบพูดถึงการจัดอันดับของสิ่งต่างๆ...เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก  นางงามจักวาล  ตัวเลขIQกับความฉลาด  การแข่งขันกีฬา  และอื่นๆอีกมากมาย

แล้วการยึดติดกับการจุดอ้างอิงบางอย่างที่ไม่สมเหตุสมผล...ก็จะนำไปสู่อติ(Bias)อีกอย่างที่ผมจะพูดต่อไป

3. Anchoring  การยึดติดกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันไม่เป็นเหตุเป็นผล

สิ่งต่างๆในโลกนี้จะมั่นคงแข็งแรงได้ต้องมีหลักยึดบางอย่าง...บ้านหรือสิ่งก่อสร้างก็ต้องมีเสาไว้ค้ำจุน  ความคิดและความเห็นของเราก็เช่นกัน...ควรจะมีพื้นฐานบนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเกี่ยวข้องกันถึงจะพิจารณาได้ว่าความคิดความเห็นนั้นถูกต้องและมีเหตุผล  แต่ Anchoring ที่เราจะพูดถึงในหัวข้อนี้นั้น  คือ การที่ความคิดของเรายึดติดอยู่กับจุดอ้างอิงบางอย่างที่ไม่มีเหตุผลและไม่เกี่ยวข้องกันเลย...

ฟังดูน่าแปลกใจใช่ไหมครับ  ข้อมูลและจุดอ้างอิงที่ไม่มีเหตุผล ไม่เกี่ยวข้องกันจะมีผลต่อการตัดสินใจของเราได้อย่างไร...

มีการศึกษาในปี 1974 ในหัวข้อเรื่อง “Judgment Under Uncertainty : Heuristics and Biases” โดย Kahneman และ Tversky โดยผู้เข้ารับการทดสอบจะถูกถามว่า เปอร์เซ็นต์ของสมาชิกสหประชาชาติในประเทศของทวีปแอฟริกาสูงกว่าหรือต่ำกว่าตัวเลขที่ได้จากการปั่นวงล้อ...วงล้อนี้จะมีตัวเลขตั้งแต่ 1-100  หลังจากนั้นจะให้ประมาณตัวเลขเปอร์เซ็นต์  ผลการศึกษาพบว่าตัวเลขที่ได้จากการปั่นวงล้อเป็นแบบการสุ่ม (Random) กลับมีผลต่อตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่ผู้เข้ารับการทดสอบประมาณไว้... เช่น ถ้าหมุนล้อได้เลข 10 ตัวเลขเฉลี่ยที่ผู้เข้าทดสอบประมาณ คือ 25 เปอร์เซ็นต์  ถ้าล้อหมุนได้เลข 60 ตัวเลขเฉลี่ยที่ผู้เข้าทดสอบประมาณคือ 45 เปอร์เซ็นต์

จะเห็นได้ว่าตัวเลขสุ่มจากการหมุนวงล้อซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรเลยกับเปอร์เซ็นต์ของประเทศสมาชิกของสหประชาติในแอฟริกา...กลับสามารถดึงค่าเฉลี่ยตัวเลขที่ผู้เข้าทดสอบประมาณ...ให้เข้ามาใกล้เคียงกับตัวเลขที่เกิดจากการสุ่ม...(มี Anchoring effect ต่อผู้เข้ารับการทดสอบ)

ในการลงทุนนั้น...ตัวเลขและสถิติที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทก็มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเช่นกัน...เช่น  นักลงทุนเห็นหุ้นตัวหนึ่งราคาดิ่งลงอย่างรุนแรงแล้วเข้าไปช้อนซื้อเพราะคิดว่าของถูก...เพราะเคยเห็นที่ราคาสูงกว่านี้  โดยไม่ได้ดูว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงหรือไม่...

ยกตัวอย่าง...หุ้น XYZ ที่มียอดขายและกำไรที่ดีมากๆเมื่อปีที่ผ่านมาทำให้ราคาพุ่งจาก 12 บาท เป็น 50 บาท แต่โชคไม่ดีที่ปีนี้ลูกค้าคนสำคัญไม่ได้ต่อสัญญา(แบบถาวร)ทำให้รายได้ของบริษัท XYZ หายไปเกินครึ่ง...ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงจาก 50 บาท เหลือเพียง 25 บาท ...นักลงทุนที่มีการยึดราคา 50 บาทเป็นจุดอ้างอิงจะเห็นว่าที่ราคา 25 บาทคือถูกมาก...ทั้งที่จริงๆแล้วพื้นฐานได้เปลี่ยนไปแล้วเพราะลูกค้ารายใหญ่หายไป...(25 บาทตอนหลัง เป็น Fairvalue ไม่ใช่  undervalue ) และนี่คือกับดักของ Anchoring effect

บางครั้งหุ้นบางตัวได้วิ่งขึ้นไปสูงมากๆจนทำให้นักลงทุนที่ดูราคาก่อนหน้านี้กลัว...ทั้งๆที่จริงพื้นฐานอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากก็ได้...การดูราคาหุ้นอย่างเดียวจึงมีผลต่อ Anchoring อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...

การที่จะให้ Anchoring มีผลต่อเราน้อยที่สุดหรือไม่มีผลเลยนั้น...ต้องมีการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล...การประเมินบริษัทต้องใช้ข้อมูลที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงอย่างระมัดระวัง...แยกให้ออกระหว่างข้อคิดเห็นกับข้อเท็จจริง (Fact or Opinion) รวมถึงประเมินข้อมูลอย่างรอบด้านตามความจริงเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนที่สุด...การรับฟังความเห็นของผู้อื่นอย่างใตร่ตรองจะทำให้เรามองเห็นอีกหลายๆมุมก่อนตัดสินใจเช่นกัน...

ขอให้นักลงทุนทุกคนมีสติและเปรียบเทียบราคาตลาดกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทครับ (Best Reference point)... ให้หลุดพ้นจาการยึดติดราคาในอดีตหรือต้นทุนของหุ้นที่ถืออยู่ในมือนะครับ...

เพื่อพอร์ตของเราจะได้มีหลักยึดที่มั่นคงและเติบโตอย่างแข็งแรงครับ...


พฤติกรรมมนุษย์และตลาดทุน (ตอนที่3) แห่ตามฝูงชน

พฤติกรรมมนุษย์และตลาดเงิน  (ตอนที่3) แห่ตามฝูงชน







ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยกำลังร้อนแรงได้ที่เลยนะครับ...นักลงทุนส่วนใหญ่เล่นหุ้นด้วยความมั่นใจ...ซื้อตัวโน้นแล้วเอามาขายแล้วซื้อตัวใหม่ไปๆมาๆ...หลายๆคนเริ่มคิดว่าตลาดหุ้นเป็นสถานที่ทำเงินได้ง่ายๆ  ไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลและความเสี่ยงใดๆ  ขอแค่รู้สึกว่ามันจะขึ้นก็เข้าไปซื้อ... Derivative warrant ทำกำไรได้เป็นร้อยๆเปอร์เซ็นต์ในเวลาเพียงไม่กี่วันทั้งที่ราคาตลาดของวอร์แรนต์เมื่อใช้สิทธิแล้วสูงกว่าราคาตลาดของตัวแม่อย่างมากกกก ...เรามาลองดูกันต่อไปนะครับว่าท้ายที่สุดแล้วทุกอย่างจะเป็นอย่างไร...


ที่ผมพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันเนื่องจากต้องเสนอเรื่อง Overconfidence ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน...(ต้น ต.ค. 53) และอีกอันที่เป็นอติที่เห็นชัดๆตอนนี้คือ ...พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน

เราจะมาต่อเรื่อง Behavioral finance ในหัวข้อต่อไปนะครับ...


2. Herd behavior พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน


สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกคือ...การเกิดฟองสบู่และการแตกของฟองสบู่  (Bubbles and bursting of bubble)  ที่เราจะเห็นล่าสุดคือ ...ฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของอเมริกา... ก่อนหน้านี้ก็ฟองสบู่ดอตคอม..

เพราะอะไรหายนะทางเศรษฐกิจถึงได้เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า...ราวกับมนุษย์เป็นเด็กน้อยที่ไม่รู้จักความเจ็บปวด...

มนุษย์เราถูกจัดว่าเป็นสัตว์สังคม...มีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ...ความต้องการภายในลึกๆของมนุษย์นั้นล้วนแต่ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น...เราจะรู้สึกสบายใจและปลอดภัยเมื่อมีคนที่คิดคล้ายๆกับเราและยอมรับเรา...โดยที่ไม่รู้อย่างแท้จริงด้วยซ้ำว่าเรื่องที่ยอมรับกันนั้นเป็นความจริงหรือไม่  เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์หรือไม่...

ผมเคยไปเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าที่สถานีสยาม...แล้วบันไดเลื่อนเกิดเสียเลื่อนไม่ได้...ข้างๆบันไดเลื่อนจะมีบันไดธรรมดาอยู่ด้วย  แต่คนที่อยู่ข้างหน้าผม 20 กว่าคน  เลือกที่จะเดินลงบันไดเลื่อนทุกคน(เดินตามๆกันไปเรื่อยๆ)...ทั้งๆที่ผมมองว่าขั้นของบันไดเลื่อนสูงกว่าและเดินยากกว่าบันไดทั่วไป...ผมเลือกที่จะเดินลงบันไดธรรมดาแล้วหลังจากนั้นก็เริ่มมีคนเดินลงบันไดธรรมดาบ้าง...

ถ้าเราลองสังเกตดูดีๆจะมีพฤติกรรมทำตามๆกันเต็มไปหมดเลยครับ...(รวมถึงตัวเราเองด้วยตอนที่ไม่รู้ตัว...) เช่น  คนส่วนใหญ่จะเลือกเข้าร้านอาหารที่มีคนกินเยอะมากกว่าร้านอาหารที่ไม่มีใครนั่งกินอยู่เลย...(ทั้งๆที่ร้านนั้นอาจจะอร่อยกว่าแต่ยังไม่ถึงเวลาที่ขาประจำจะมานั่งกิน)

ยิ่งสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน  ไม่ปลอดภัย... มนุษย์ยิ่งต้องการที่พึ่ง  เราจะสบายใจถ้ามีคนทำเหมือนเราหลายๆคน

การทำตามๆกันนั้นไม่ได้เป็นเฉพาะด้านจิตใจและพฤติกรรมเท่านั้น  แม้แต่ด้านชีวภาพก็มีการปรับตัวเข้าหากันอย่างน่าอัศจรรย์  มีการทดลองเกี่ยวกับรอบของประจำเดือนในผู้หญิงที่เข้าไปอยู่บ้านเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปปรากฎว่าประจำเดือนของผู้หญิงที่เข้าร่วมในการศึกษาจากเดิมที่ไม่ตรงกันได้เคลื่อนเข้ามาอยู่ในเวลาใกล้เคียงกัน...หรือเราจะเห็นบุคคลิกลักษณะและหน้าตาของคนที่อยู่ด้วยกันนานๆก็จะมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้น...

การที่จะคิดไม่เหมือนคนอื่นๆ...ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย...เพราะแม้แต่ปัจจัยทางชีวภาพทางร่างกายส่วนที่เราควบคุมไม่ได้ยังมีการทำตามกัน...แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องความคิดที่เปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย...


สิ่งที่สำคัญกว่าการตระหนักว่าเรากำลังทำตามคนอื่นๆอย่างไม่รู้ตัว คือ...แล้วจริงๆสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้องหรือไม่...มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นหรือไม่  สิ่งที่เราทำมีโทษกับตัวเองและผู้อื่นหรือไม่  เรามีเจตนาหรือต้องการผลลัพธ์อะไรจากการกระทำนี้???


หรือเราแค่ทำไปเพราะความไม่รู้   เพียงเพราะความอุ่นใจว่าเราไม่แปลกแยกจากคนอื่น...โดยที่ผลลัพธ์ของการกระทำนั้นอาจจะเป็นหายนะ

พฤติกรรมเหล่านี้นำด้วยความเชื่อ  ความศรัทธา  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย...แม้ว่าในบางเรื่องความเชื่อนั้นอาจจะพิสูจน์เลยไม่ได้ก็ตามที...ขอเพียงเป็นบุคคลที่เราให้ความวางใจพูดหรือทำเราก็พร้อมที่จะเชื่อและทำตาม...

และพร้อมที่จะทำลายล้างคนที่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อเช่นกัน!!!...

นี่คือหนึ่งในพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล (Irrational behavior) ของมนุษย์

มี 2 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทำตามฝูงชน....1. แรงกดดันทางสังคมที่ทำให้คนคล้อยตามกัน  นี่คือสิ่งที่มีอำนาจมาก...คนเราล้วนแต่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและต้องการการยอมรับจากผู้อื่นมากกว่าที่เป็นคนที่ถูกทิ้ง... 2. การให้เหตุผลที่ว่า...”คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะผิด”...แม้ว่าคุณจะมีความคิดว่าความคิดคนส่วนใหญ่ไร้เหตุผลแต่คุณก็ยังจะพยายามบังคับตัวเองให้เชื่อและทำตามคนส่วนใหญ่ต่อไปโดยเฉพาะตอนที่คุณประสบการณ์ยังน้อย  เราคงยังไม่รู้อะไรที่คนส่วนใหญ่รู้ล่ะน่า...(นี่อาจจะใกล้เคียงแนวคิดเรื่องตลาดมีประสิทธิภาพ...ซึ่งผมพูดไปเมื่อตอนแรกว่าตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพตลอดเวลา)

ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1990 นักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยที่อเมริกา...ซื้อขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เนต(Dotcom) อย่างเมามันส์ด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล  (เทียบของบ้านเราคงเป็นหุ้นที่เกี่ยวกับ 3 G ในช่วงที่ผ่านมา)  แม้ว่าหุ้นเหล่านี้หลายตัวบริษัทไม่ได้มีกำไรนัก  แต่ราคาหุ้นกลับขึ้นอย่างไร้แนวต้าน...นักลงทุนไม่มีความหวาดกลัวใดๆเพราะคิดว่าซื้อแพงแล้วก็ยังขายได้แพงกว่า...และทุกๆคนก็ล้วนทำแบบเดียวกันหมด...

เวลาที่เราซื้อหุ้นแบบเดียวกับคนอื่นเราจะรู้สึกปลอดภัยเพราะถ้าคนอื่นกำไรเราก็กำไรด้วย...ถ้าเราขาดทุนคนอื่นก็ขาดทุนด้วยรวมถึงเรายังโทษว่าเป็นความผิดของคนที่เราซื้อตาม...ซึ่งความรู้สึกปลอดภัย(Sense of security)ในการทำตามคนอื่นไม่ได้หมายความว่าหุ้นตัวนั้นจะปลอดภัย...

การแห่ทำตามฝูงชนจึงเป็นอคติ(Bias)อย่างหนึ่งที่ทำให้ทนุษย์มองไม่เห็นความจริงที่เกิดขึ้น...

ลองทบทวนดูว่าหุ้นที่เราซื้อหรือการตัดสินใจต่างๆในชีวิตที่เราทำไปนั้นเป็นเพียงเพราะคนส่วนใหญ่ทำกันและทำตามค่านิยมของสังคมหรือไม่... บางทีหุ้นเด็ดของเซียนๆที่คุณซื้อตามอยู่อาจจะเป็นหุ้นที่วิเคราะห์ผิดพลาดหรือเซียนเจตนาปล่อยของก็เป็นได้... พอเรารับของๆเซียนคนนั้นแล้วหุ้นตกกราวรูดเซียนก็จะเข้ามาปลอบใจนั่นนี่โน่น... เหมือนในหนังไทยฉากกระท่อมปลายนาวันฝนตกไม่มีผิด...

โดยส่วนตัวผมไม่ซื้อหุ้นตามใครเลย (ช่วงเล่นใหม่ๆซื้อตามที่โบรกเชียร์ 555 เจ๊งครับ)... แต่ถ้าซื้อแล้วไปตรงกับเซียนนับเป็นเรื่องที่ดีเพราะมีคนคอยเชียร์ให้โดยที่ผมไม่ต้องเหนื่อยออกแรง... อยากให้นักลงทุนรายย่อยใช้ความคิดตัวเองมากกว่าจะพึ่งพิงสิ่งภายนอกเพราะนี่คือหนทางสู่การพัฒนาความเป็นมนุษย์... ให้บอกตัวเองว่า  “ผิดก็เพราะฉันตัดสินใจผิด  ฉันจะเรียนรู้จากการตัดสินใจของฉันไม่ว่าผลลัพธ์ของการตัดสินใจของฉันจะเป็นอย่างไร  ฉันจะเผชิญหน้ากับความไม่มั่นคงด้วยจิตใจที่กล้าหาญและเต็มไปด้วยสติปัญญา” ให้ชีวิตและผลการลงทุนขึ้นอยู่กับความคิดการกระทำของเราเอง...(Sense of mastery)

สุดท้ายผมอยากบอกว่า...


การทำตามคนอื่นไม่ใช่เรื่องไม่ดี...ไม่ต้องไปบังคับให้ตัวเองแปลกกว่าชาวบ้านหรือทำไม่เหมือนใคร...แต่ให้มีสติและรู้ว่าคุณค่าและเป้าหมายของการกระทำ(การลงทุน)ที่แท้จริงอยู่ที่ไหนมากกว่าจะมาดูแค่ว่า...เหมือนคนอื่นหรือไม่เหมือนคนอื่นครับ...