วันนี้มาว่ากันต่อเรื่องกรอบแนวคิดหลักในการลงทุนของผมนะครับ
แต่ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาเรื่องหุ้น ผมจะขอบอกกล่าวสำหรับผู้สนใจอยากเรียนสักเล็กน้อย
วิธีการใช้ประโยชน์จากบทความนี้
การอ่านบทความ สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม เพื่อนๆจะได้ภาพในมุมกว้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน รวมถึงประเด็นสำคัญในหัวข้อนั้นๆ ถ้าเพื่อนๆสนใจศึกษาต่อให้ลึกขึ้น ผมแนะนำว่า
- กรณีที่เพื่อนๆต้องการศึกษาด้วยตนเอง เนื่องจากติดธุระ ไม่ว่าง หรือผมอาจจะไม่ว่างสอนเพราะงานประจำเยอะ (ช่วงนี้เริ่มมีสอบเยอะขึ้นเรื่อยๆ ไหนจะงานวิจัยอีก T_T) ขอให้อ่านหนังสือและศึกษาลงลึกด้วยตนเองตามประเด็นที่ผมเขียนไว้ (เวลาผมสอนก็จะพูดตามที่ short note ไว้ในบทความนี่ล่ะครับ) และถ้ามีคำถามสามารถโพสถามได้ทั้งใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ครับ (วิธีนี้น่าจะง่ายที่สุด)
- กรณีที่เพื่อนๆต้องการเรียนกับผมและไม่ต้องการรอให้คนลงชื่อเกิน 5 คน (เพราะผมจะสอนเมื่อเกิน 5 คนขึ้นไป และเพื่อนๆอาจจะรอนานเพราะ blog ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก) ขอให้เพื่อนๆรวบรวมคนที่อยากเรียนมาเองและลงชื่อว่า”ครบ” แล้วไว้ใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ได้ครับ
- กรณีที่มีเพื่อนๆลงชื่อใน blog และ/หรือบน wall ของ facebook ว่า ”สนใจ” ครบ 5 คน ผมจะกำหนดวันสอนล่วงหน้านะครับ
ส่วนสถานที่ผมจะนัดเป็น ห้องสมุดมารวยที่สาขาเอสพลานาดรัชดาภิเษก วันอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง (แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีเก้าอี้ว่างหรือเปล่า...เพราะผมก็ไม่มีสถานที่ส่วนกลางเหมือนกัน หรือไม่งั้นก็ต้องเป็นโรงอาหารตามมหาลัยที่โต๊ะว่างๆ)
ส่วนถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสถานที่รวมถึงมีคอมพิวเตอร์แล้วต้องการให้ผมไปสอนถึงที่ ขอให้เป็นที่ที่ผมสามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าได้ และถ้าเป็นหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ขอใช้เปิดห้องประชุมสอนจะดีมากครับ (ผมว่างวันอาทิตย์)
ทั้งนี้เพื่อที่ผมจะสามารถสอนฟรีได้ ไม่อยากให้เกิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสในการเข้าถึงความรู้แบบเท่าเทียมกัน โดยที่ผมเสียสละแรงกายและเวลาแล้วเพื่อนๆได้ประโยชน์ก็โอเคครับ :D
ความคาดหวังของผม
ผมไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนเล่นหุ้นเป็น แต่ต้องการให้รู้ว่าจะสร้างความมั่งคั่งทางการเงินให้กับตนเองได้อย่างไร มีทางไปทางไหนบ้าง ต้องปรับทัศนคติและเรียนรู้วิธีการตั้งแต่ขั้นพื้นฐานขึ้นไป
อยากให้เลิกคิดว่าคนจะรวยได้ต้องมีบุญวาสนา ต้องเกิดมาโชคดี เพราะมันไม่จริงเลยครับ ทุกอย่างสร้างได้ด้วยการกระทำที่เกิดจากทัศนคติที่ถูกต้อง
รวมถึงต้องการให้ทุกคนมีทัศนคติของการให้ เนื่องจากทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นต่างมาหากำไรทั้งสิ้น พูดง่ายๆคือมาเอา เราจะไม่ต่างจากคนทั่วไปเลยถ้าเราไม่รู้จักการให้การแบ่งปันผู้อื่น เมื่อใจเราลดความโลภลงจากการให้และลงทุนโดยใช้สติและปัญญา มองตามข้อมูลตามเหตุผลตามข้อเท็จจริง เราจะแตกต่างจากนักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด และนั่นทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ
ถ้าคนที่ผมสอนแล้วเล่นหุ้นเป็น (หมายถึงคนที่มีวิจารณญาณ คิดเองเป็น มีเหตุผล และมีความคิดสร้างสรรค์) และถึงขึ้นเล่นเก่งได้ผมจะดีใจมาก แต่ผมคาดหวังแค่สอนซัก 100 คนมีอย่างนี้สักคนก็ดีใจแล้วครับ
เอาล่ะ...มาว่าเรื่องเนื้อหากันต่อนะครับ
การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน
ต่อจากหัวข้อสินทรัพย์ต่างๆที่สำคัญ ในครึ่งหลังของการบรรยายจะพูดเรื่องการลงทุนในหุ้นนะครับ
11. หุ้น
(ผมจะพูดถึงการลงทุนในหุ้นในแนวปัจจัยพื้นฐานนะครับ อาจจะมีพูดถึงเทคนิคอลบ้างแต่ผมรู้น้อยมากครับ)
11.1 ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้น
- ซื้อหุ้นด้วยมุมมองของการซื้อธุรกิจ หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มีคนทำงานอยู่จริงๆ
- ผู้ถือหุ้นคือเจ้าของธุรกิจ (ตามสัดส่วนการถือหุ้น)
- คนรวยในโลกส่วนใหญ่รวยจากหุ้น ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจที่เอากิจการเข้าตลาด หรือนักลงทุนอาชีพที่ไม่ได้ทำธุรกิจเอง
- หุ้นต่างกับสินทรัพย์อย่างอื่น คือหุ้นสามารถทำกำไรและสร้างกระเงินสดได้ ถ้าเป็นพวกทองคำหรือที่ดินต้องให้คนมาสนใจและร่วมกันตีมูลค่าให้สูงขึ้น
- ระยะยาวตลาดหุ้นกำไร 10% ต่อปี (กรณีเล่นกองทุนดัชนีก็เป็นทางเลือกนึงที่น่าสนใจมาก)
- หุ้นดูง่าย เปิดบัญชีซื้อขาย ใครก็ทำได้ แต่อะไรดูเหมือนยิ่งง่ายนี่แหละครับยิ่งยาก เหมือนหมากล้อม กติกาสุดง่าย เล่นจริงยากมาก ใช้เวลาทั้งชีวิตก็เรียนรู้ไม่หมด ตลาดหุ้นไม่ง่ายครับ การทำกำไรให้ชนะตลาดหลายปีติดต่อกันเป็นเรื่องที่ยากมาก
11.2 ก่อนเล่นหุ้นพิจารณา
- 1.) เงินที่ลงทุนเป็นเงินเย็น ไม่มีความเร่งรีบในการใช้ในช่วง 3 ปี และมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 6 เดือน (เงินทั้ง 2 ก้อนมาจากเงินออม)
- 2.) มีบ้าน (ถึงเจ๊งหุ้นก็ยังมีบ้านอยู่)
- 3.) หาความรู้เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุน
11.3 การจะลงทุนในหุ้นต้องพิจารณา 4 ปัจจัย
- 1. Stock selection
- 2. Market or Stock timing
- 3. Portfolio management
- 4. Psychology
Stock selection
1. การ approach หุ้น
- มี 2 วิธี 1. Top down 2. Bottom up
- Top down – มองจากภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมและเลือกบริษัทที่น่าจะได้ผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดในสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
- Bottom up – มองจากบริษัทที่เราเข้าใจหรือสนใจ แล้วดูว่าบริษัทนั้นจะได้รับการกระทบอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า
2. หุ้น 6 ประเภท
- Peter lynch เซียนหุ้นระดับโลก ได้แบ่งบริษัทต่างๆ ในการลงทุนได้ 6 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. หุ้นโตช้า (Slow growers) การเติบโตของกำไรจะสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเล็กน้อย ประมาณ 2-4% ต่อปี ให้ซื้อที่ PE ต่ำและหวังปันผลเป็นหลัก
2. หุ้นแข็งแกร่ง (Stalwarts) บริษัทที่แข็งแกร่งมีอัตราการเติบโตประมาณ 10 - 20% ต่อปี เหมาะที่จะถือระยะยาว
3. หุ้นโตเร็ว (Fast growers) บริษัทขนาดเล็กขนาดกลางที่มีอัตราการเติบโตที่สูงมากประมาณ 20 -25% ต่อปี เป็นหุ้นที่เหมาะจะถือในระยะยาว
4. ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) บริษัทที่กำไรขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจ
5. ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) บริษัทที่ประสบปัญหา แต่มีสัญญาณแห่งการฟื้นตัวที่ชัดเจน
6. ประเภทสินทรัพย์แฝง (Asset plays) บริษัทที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีที่เราทราบแต่อีกหลายคนในตลาดยังไม่ทราบ เช่น ที่ดินที่มีอยู่อาจมีมูลค่าตลาดสูงมาก แต่บันทึกบัญชีเป็นราคาทุน หรือในบริษัทประกันภัยที่ตั้งสำรองเงินประกันสูงๆ
3. การประเมินมูลค่าหุ้น
มีความสำคัญ ให้เลือกหุ้นที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มี margin of safety และมี upside ให้ทำกำไร
วิธีการประเมินมูลค่าหุ้น
1. P/E Ratio ดูความสามารถในการทำกำไรเป็นหลัก
2. P/BV ดูสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นหลัก
3. DCF ดูกระแสเงินสดในอนาคตที่ทำได้เป็นหลัก
4. P/E/G ดูการเติบโตของกำไรเป็นหลัก
5. ดู Market caps ดูขนาดของบริษัทเป็นหลัก
4. หลักการดูหุ้นเติบโต
- 1. Demand trend แนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้น (ตลาดรวมโตขึ้น)
- 2. DCA (Durable competative adventage) ความสามารถในการแข่งขันระยะยาว (รักษาและชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น)
Demand trend
แนวโน้มความต้องสินค้าและบริการในภาพใหญ่ระดับประเทศระดับโลกจะล้อไปตาม Megatrend
แนวโน้มธุรกิจในอนาคต
1. Aging economy สังคมคนแก่ โครงสร้างประชากรเป็นพีรามิดหัวกลับ เด็กน้อยลงต้องทำงานเลี้ยงดูคนแก่มากขึ้น
2. Female economy สังคมผู้หญิง ผู้หญิงรายได้เพิ่มมีบทบาทในสังคมและครอบครัวมากขึ้น
3. Raising of China การเติบโตของประเทศจีนและประเทศในแถบเอเชีย
4. Urbanization การที่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น
5. คนแต่งงานลดลง มีลูกน้อยลงแต่เลี้ยงดีขึ้น ให้การศึกษาลูกอย่างดี
6. Energy and Green energy พลังงานและพลังงานทางเลือก
7. Modern trade พ่อค้าคนกลางยุคใหม่
8. Internet, Social network, E-commerce คนใช้เวลากับอินเตอร์เนตมากขึ้น
9. Transport การขนส่ง เนื่องจากการเกิด FTA เขตการค้าเสรี ไม่มีการตั้งกำแพงภาษี การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทำได้อย่างอิสระ ต้นทุนที่เกิดคือค่าขนส่ง
10. Food ประชาการโลกอยู่ดีกินดีขึ้น มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
11. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี สินค้าและบริการเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ จะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
12. Investment ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น, การทำงานแบบเข้าออฟฟิตลดลง ทำงานที่บ้านแบบออนไลน์
DCA (Durable competative adventage)
-การประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท โดยการใช้ 5 forces ร่วมกับ SWOT analysis
1. Michael E. Porter's five forces
ศ. พอร์เตอร์แห่ง ม. ฮาวาร์ด ได้พูดถึง แรงทั้ง 5 ที่ส่งผลต่อการทำกำไรของบริษัท และอุตสาหกรรมโดยรวม
a framework for the industry analysis and business strategy development
1. The threat of the entry of new competitors การเข้ามาแข่งขันของผู้เล่นรายใหม่
2. The intensity of competitive rivalry การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
3. The threat of substitute products or services สินค้าทดแทน
4. The bargaining power of customers (buyers) อำนาจการต่อรองจากลูกค้า
5. The bargaining power of suppliers อำนาจในการต่อรองจากซัพพลายเออร์
2. SWOT analysis
การวิเคราะห์บริษัทสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
- Strengths จุดแข็ง
- Weaknesses จุดอ่อน
- Opportunities โอกาส
- Threats ความเสี่ยง
โดยจุดอ่อนจุดแข็ง เป็นการมองจากปัจจัยภายในของบริษัท โอกาสและความเสี่ยงเป็นการมองสภาพแวดล้อมภายนอก ให้วิเคราะห์ว่าบริษัทจะกลยุทธ์ในการแข่งขันหรือแนวทางใด ที่ใช้จุดแข็งคว้าโอกาส และป้องกันจุดอ่อนจากความเสี่ยง
5. ปัจจัยที่ Drive ราคาหุ้น
ถ้าไม่มีตัวขับดันราคา ราคาก็จะต่ำกว่ามูลค่าไปตลอด การพิจารณาปัจจัยขับดันราคาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
- ผลประกอบการณ์ดีขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น (ถ้าดีกว่าคาดยิ่งดี)
- ปันผลมากขึ้น
- Structural change เช่น ขายบ.ที่ขาดทุนออก การควบรวมกิจการ การลดต้นทุนการผลิต à ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
- แตกพาร์
- ถูก Tender offer โดยสูงกว่าราคาตลาด
6. การเลือกตัวหุ้นของผม
- เลือกหุ้นจากชีวิตประจำวันโดยดูว่าสินค้าอะไรมาแรงและขายดี
- ผู้คนใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง
- พฤติกรรมผู้บริโภคที่พบเห็น
- จัดหุ้นให้เป็นหมวดหมู่ แล้วเปรียบเทียบ
- คุยกับคนที่รู้เรื่องสินค้าหรือธุรกิจนั้นๆ
- ใช้จินตนาการมองไปในอนาคต
การเลือกหุ้นของผม (แบบละเอียด)
- อ่านรายงานประจำปี, แบบ 56-1, งบการเงินรายไตรมาสและปี
- ข้อมูลซื้อขายของผู้บริหาร (ซื้อ)
- บริษัทนี้จัดเป็นหุ้นแบบใดใน 6 แบบ
- เจาะตัวเลขที่สำคัญ ROA, ROE, Net profit margin, EBITDA, Gross profit margin, Cash, Free cash flow, D/E ratio etc. (เรื่องบัญชีงบการเงินจะต้องแยกพูดอีกบทความต่างหากเลยครับ โดยส่วนใหญ่ผมจะเลือกหุ้นโดยใช้ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานมากกว่าน่ะครับ แล้วค่อยตรวจสอบด้วยงบการเงิน)
- เพดานการเติบโตของรายได้อยู่ที่เท่าไร บริษัทใช้กลยุทธ์ใดในการเติบโต
- จุดเด่นของบริษัทนี้คืออะไร (DCA = Durable competative adventage)
- อะไรจะเป็นตัว Drive ราคาหุ้น
(ปล. ไม่มีข้อไหนที่บอกว่าซื้อตามเซียนนะครับ)
7. การวิเคราะห์หุ้น
- หาข้อมูลของบริษัทที่เราสนใจ
- ประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ
- ประเมินปัจจัยเชิงปริมาณ
- ประเมินมูลค่าของหุ้นตัวนั้นในเวลาที่เรามองออก เช่น 3-5 ปี เป็นต้น
ทั้งหมดคือหัวข้อการเลือกหุ้นนะครับ (Stock selection) บางคนเล่นง่ายข้ามขั้นตอนที่ยากลำบากนี้ไปโดยซื้อตามเซียน คอยถามพอร์ตชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ผมไม่สนับสนุนเลยครับ ผมอยากสอนให้จับปลาเองเป็นมากกว่า อย่าดูถูกศักยภาพตัวเองเลยครับ ผมเล่นมา 2 ปียังทำได้ เพื่อนๆก็ต้องทำได้เหมือนกัน
แต่การเลือกหุ้นนั้นไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของการเล่นหุ้น Stock selection isn’t everything.
Market timing / Stock timing
การเลือกหุ้นถูกตัว(ซึ่งอาจจะไปลอกเค้ามา) แต่ไม่มีจังหวะซื้อขายที่ถูกต้องจะทำให้กำไรลดลงหรือถึงขั้นขาดทุนได้
หลักในการมองจังหวะซื้อขายนะครับ
- ซื้อเมื่อคนอื่นกลัวขายเมื่อคนอื่นโลภ ให้คิดต่างจากคนส่วนใหญ่
- ซื้อเมื่อราคาถูกและมี MOS มากพอ ขายเมื่อราคาเต็มหรือเกินมูลค่า
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ ให้ระวังตอนที่คนคาดหวังมากๆ
- ซื้อตอน Downside น้อย Upside มาก, ขายตอน Upside น้อย Downside มาก
การดู Fund flow, Technical (ผมดู Fund flow บ้าง เช่น เรื่อง Spread ดอกเบี้ยระยะยาว-สั้น, real interest rate, earning yield gap แต่เทคนิคอลผมไม่ได้ดูเลย ผมคิดว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในการช่วยบอกจังหวะซื้อขายได้ ถ้ามีความชำนาญ)
การซื้อขาย
- Bid (การซื้อ)
- ซื้อทีละน้อยก่อน + มี limit ว่าซื้อเก็บถึงราคาเท่าไร
- ซื้อตอนราคานิ่งๆ ไม่ใช่ช่วงที่ราคาเคลื่อนไหวรุนแรง
- ซื้อตอนคนคาดหวังน้อยๆ
- พยายามไม่ซื้อถัวเฉลี่ยขาลง ยกเว้น ประเมินมาอย่างดีแล้ว
- Offer (การขาย)
- ขายเมื่อเต็มมูลค่าหรือเกินมูลค่า
- ขายตอนประเมินพื้นฐานผิด
- ขายถ้าเห็นว่าลงแรงและมี downside มากกว่าราคาตลาด
- ขายถ้าหากมีตัวอื่นที่ upside สูงกว่า
Portfolio management
การเลือกหุ้นถูกตัวและจังหวะซื้อขายถูกต้อง ยังไม่ใช่ทั้งหมดของการเล่นหุ้น มีคนมากมายที่ซื้อถูกตัวจังหวะซื้อขายดี แต่ทำกำไรโดยรวมของพอร์ตได้น้อยหรือขาดทุนเพราะตัวที่ควรซื้อกลับซื้อน้อย แต่ดันซื้อตัวที่ขาดทุนไว้มาก ทำให้ผลตอบแทนแย่ ต่างกับคนที่บริหารพอร์ตได้ดีผลตอบแทนจะสูงขึ้นมาก
1. หลักการทั่วไปของการบริหารพอร์ต
- รักษาสมดุลของการถือเงินสดกับการถือหุ้น
- การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ถือกระจายความเสี่ยงไปหลายๆอุตสาหกรรม
- ระวัง...กระจายความเสี่ยงหรือกระจายความเสียหาย ให้ทุกบริษัทต้องเป็นการลงทุนที่ดี ไม่ใช่กระจายเพราะตำราบอกให้กระจาย
- โดยมากถือกระจายความเสี่ยง 5-10 ตัว ไม่มากจนไม่เข้าใจบริษัทที่ลงทุน ไม่น้อยจนเสี่ยงเกินไป
- ถือหุ้นตัวนี้เป็นกี่ % ของพอร์ต มั่นใจมากถือถือมาก มั่นใจน้อยถือน้อย ไม่มั่นใจเลยก็ไม่ต้องซื้อ
- ทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นผิดหูผิดตาเลยครับ
2. หลักการ Portfolio management
- ใช้ Kelly’s formula
- ดู downside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่% ดู upside ว่าอยู่ที่เท่าไร Probability กี่ % แล้วคิดรวมออกมาเป็น Expected profit ว่าควรจะ bet เป็นกี่ % ของ port
3. การปรับพอร์ต
- ให้สัดส่วนพอร์ตเป็นไปตาม Expected profit
- ถ้าสัดส่วนเปลี่ยนไป ขายตัวที่ expect profit น้อยมาซื้อตัวที่ expect profit มากกว่า
- ได้กำไรเพิ่ม มากกว่าการถือหุ้นไว้เฉยๆ
ระวัง!!!
-ตัวเลขในพอร์ตเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลใหม่ๆ เช่น Target price
- วิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี (ไม่อย่างนั้นวิธีนี้จะไม่มีประโยชน์เลยครับ)
- ลืมต้นทุนไป ให้เปรียบเทียบราคาตลาดกับราคาเป้าหมาย
- บางทีอาจจะพลาดได้ถ้าขายแล้วตัวที่ขายขึ้นต่อ หรือตัวที่ซื้อแล้วลงต่อ (ต้องวิเคราะห์แต่ละตัวเป็นอย่างดี)
Psychology จิตวิทยาการลงทุน
มีคนมากมายที่วิเคราะห์ได้ถูกต้อง เลือกหุ้นได้ถูก วางแผนและบริหารพอร์ตได้ดี แต่กลับหวั่นไหวไปตามตลาดและทำไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ ถูกความโลภและความกลัวเข้าครอบงำ ทำให้ผลตอบแทนไม่ดีเท่าที่ควรหรือถึงขั้นแย่ ยกกรณีศึกษา อัจฉริยะนิวตัน
การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มองตามความจริง ช่วยเพิ่มผลตอบแทนได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ !!!
การฝึกพัฒนาจิตสำหรับนักลงทุน
-ให้มองโลกตามความจริง ลด bias ลง
Bias (Cognitive error) ที่สำคัญ
1. Overconfidence เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
2. Loss aversion กลัวขาดทุน กลัวกำไรหาย
3. Hindsight bias มองย้อนหลัง
4. Selective bias มองแค่ด้านเดียว
5. Anchoring การยึดติด
ฝึกได้โดย
- มีสติสมาธิให้มากขึ้น, ฝึกอ่านอารมณ์ตัวเองให้ออก, อ่านอารมณ์ตลาด
- อย่าไปยินดียินร้ายมาก, หุ้นขึ้นแรงก็ดีใจนิดหน่อย หุ้นลงแรงก็เสียใจนิดหน่อย ให้มองไปที่พื้นฐานกิจการ การผันผวนในช่วงสั้นๆ ไม่มีผลกับนักลงทุนระยะยาว
- Focus ที่กิจการมากกว่าราคาหุ้น, อย่าดูราคาบ่อย อยู่ห่างๆจอหุ้นบ้าง
- อย่าหลอกตัวเองเพราะ sense การรับรู้ความจริงจะถูกบิดเบือนไป
เมื่อจิตใจเราพัฒนาขึ้น จะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นมาก เพราะไม่ถูกปั่นหัวด้วยความโลภและความกลัว ไม่หลงไปกับอคติ
ทั้ง 4 ปัจจัย Stock selection, Timing, Portfolio management, Psychology ต่างก็เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กันในเรื่องการลงทุนในหุ้น
กฏพื้นฐานของการลงทุน
-ข้อที่ 1 อย่าขาดทุน ข้อที่ 2 ให้ไปดูข้อแรก เพราะการขาดทุนจะทำให้ผลตอบแทนแย่ในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะได้เคยกำไรมากๆก็ตาม ดังนั้นให้ดู downside ด้วยเสมอ
- แต่จริงๆแล้วไม่มีใครไม่เคยขาดทุน เพียงแต่เราต้องขาดทุนให้น้อย แต่ตอนกำไรต้องให้มาก ไม่ได้ให้สอนให้เพื่อนใช้ความโลภนำหน้า แต่ต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมตามจริง
- อย่าถอนดอกไม้แล้วรดน้ำให้หญ้า, อย่าขายหมูไปซื้อควาย…Cut loss and let profit run !!!
- เมื่อคิดผิดต้องยอมรับว่าเราผิดให้เร็ว...แล้วรีบแก้ไขเสีย อย่าเถียงหรือเอาชนะคะคานแบบไร้เหตุผลหรือหลอกตนเอง
ก่อนจะลงทุนให้ถามตัวเองว่า...
- เราจะลงทุนอะไร...เพราะอะไร...นานแค่ไหน...จำนวนเงินเท่าไร...คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของport...จะเข้าตอนไหน...เพราะอะไร...จะขายตอนไหน...เพราะอะไร...มีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะลงทุน...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาขึ้น...ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ราคาลง...ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดมีแผนรับมืออย่างไร...?
ทัศนคติเรื่องความล้มเหลว
- ความล้มเหลวคือบันไดของความสำเร็จ อย่าหยุดฝันอย่าหยุดพยายาม
- ในรร.บทเรียนมาก่อนแล้วจึงมีการทดสอบ...ชีวิตจริงบททดสอบมาก่อนแล้วจึงได้บทเรียนตามมา อย่าปล่อยบทเรียนให้ผ่านไป เรียนรู้จากทั้งความผิดพลาดและความสำเร็จ
- “จดบันทึกความผิดพลาดและเรียนรู้”
- เรียนรู้จากความล้มเหลวของคนอื่น
ผลตอบแทนที่คาดหวังได้
- 10% ต่อปี สำหรับกองทุนดัชนี
- เซียนระดับโลกได้โดยเฉลี่ย 15 - 30% ต่อปี
- คนพอร์ตเล็กน่าจะทำได้ 30% ต่อปี...
สุดท้ายผมฝากไว้ว่า...
ตลาดหุ้นคือแหล่งรวมคนเก่งคนประสบความสำเร็จจากทุกสาขาอาชีพ...มีผู้เล่นหลักทั้ง 4 ที่ร้ายกาจ (ฝรั่ง กองทุน proprietary trader เซียนหุ้นรายย่อย) เราเป็นแค่นักลงทุนตัวน้อยๆเมื่อเทียบกลับตลาดทุนอันกว้างใหญ่ไพศาล ขอให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ประมาท
โลกของการลงทุนไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่มีความพยายามครับ
อยากไปเรียนก้บคุณก๊อบบ้าง
ตอบลบไม่รู้พี่จะมีโอกาสรึเปล่านะครับ
อ้อ ประโยคนี้น่าจะเขียนผิดนะ...
- ซื้อตอน Downside น้อย Upside มาก, ขายตอน Upside มาก Downside น้อย
น่าจะเป็น ... ขายตอน Upside น้อย Downside มาก รึเปล่า
ขอบคุณครับพี่บี แก้ไขส่วนผิดเรียบร้อยแล้วครับ
ตอบลบเรื่องลงทุนพี่บีเก่งอยู่แล้วครับ ผมมิอาจจะไปสอนพี่หรอกครับ แหะๆ เหมือนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากกว่าครับ ผมยินดีพูดคุยกับพี่อยู่แล้วถ้ามีโอกาส แต่อาจจะลำบากที่อยู่คนละจังหวัดน่ะครับ :)
บทความกระชับ ได้ใจความมากๆครับ
ตอบลบขอติดตามเรื่อยๆนะครับ
ขอบคุณคุณ tonya มากครับ ช่วงนี้ผมยุ่งมากๆ พยายามจะกลับมาเขียนบทความให้เร็วที่สุดครับ
ตอบลบ:D
ขอบคุณมาก ครับ
ตอบลบผมอยู่ตรัง
จะหาเวลาไปเรียนกับคณ Gob ครับ
paladwit
แต่ผมติดปัญหา
ตอบลบเรื่องการหาคนและอยู่ไกลครับ
เปิดสอน corse ใหญ่เมื่อไหร่
(มีค่าใช้จ่ายก็ยินดีครับ)
แจ้งล่วงหน้าหลายๆวันน่ะครับ
paladwit
paladwit@hotmail.com
@คุณ paladwit
ตอบลบขอบคุณมากครับที่สนใจ ... แต่ผมเองยังไม่สะดวกจัดเลยครับ (แถมยังไม่มีเวลาเขียนบทความใหม่ๆเลย) เนื่องจากมีงานเข้าหลายอย่าง มีสอบ และเดือนม.ค.55 ผมต้องไปอังกฤษ 1 เดือน
ยังงัยถ้ามีจัดผมจะแจ้งล่วงหน้าใน blog กะ FB แน่นอนครับ และไม่มีค่าใช้จ่ายแน่นอนครับ แต่ส่วนตัวผมแนะนำว่าอ่านตามหัวข้อที่ผม list ไว้ ไม่ต่างอะไรกับการมาฟังผมพูดเลยครับ กลัวว่าคุณ paladwit จะลำบากน่ะครับ
ขอบคุณนะครับ
เข้าไป like ใน FB แล้ว ไปอังกฤษขอให้สนุกครับ
ตอบลบลงชื่อเรียนด้วยครับ ...ผมอยู่จ.อุดรครับ
ตอบลบผมสงสัยเรื่อง Timing ครับ สมมุติว่าตลาดตอนนี้้ 1230 จุด (สูงมาก)
ราคาหุ้นที่เราเล็งไว้ = 30 บ. แต่ราคาพื้นฐาน+mos = 15 บ.
คำถามคือ
1. เราจะรอซื้อตอนตลาดลงมากๆ เช่น เหลือ 1050 จุด ซึ่งราคาหุ้นอาจจะวิ่งไปที่ 40 บ. แล้วตกลงเหลือ 25 บ. ซึ่งไม่ถึงราคาที่เราเล็งไว้ก้อเป็๋นได้
2. รอราคาแกว่งลงซักหน่อย แล้วทะยอยสะสมซื้ออาจแบ่ง เป็น 3 ไม้ เป็นต้น
ในความคิดของผม (มือใหม่ครับ) ถ้าตลาดยังคงเดินหน้าไปแบบนี้ ราคาหุ้นที่เราเล็งไว้ก้อจะสูงขึ้นๆ ถึงตอนที่ตลาดลง ราคาก้ออาจจะลงไม่ถึงกับที่เราประเมินไว้ครับ หรืออาจจะเท่ากับราคา ณ ปัจจุบัน(วันที่ต้งคำถามครับ) ก้อเป็นได้
ปล. เน้นลงทุนระยะยาว 15 ปี ขึ้นไปครับและเป็นเงินเย็นครับ ขอบคุณมากๆ ครับ
ผมคงไม่ได้เปิดคอร์สสอนแล้วน่ะครับ เพราะต้องไปเริ่มงานใหม่ที่รพ.อุดรฯ จัดตั้งหน่วยงานจิตเวชเด็กขึ้นมาใหม่ (ไม่มีหมอจิตเวชเด็กเลยที่อีสานตอนบน...ผมเป็นคนแรกครับ) รวมถึงมีงานเปิดคลีนิคส่วนตัวกับภรรยาด้วยครับ (+งานอื่นๆอีกมากมาย ผมไม่ได้เป็นนักลงทุนอาชีพ ไม่ค่อยมีเวลาว่างหรอกครับ)
ลบยังงัยคุณ Tomnoi สามารถสอบถามได้ครับ ถ้ามีเวลาผมจะเข้ามาตอบนะครับ
ส่วนคำถามนะครับ...
การคาดเดาการขึ้นลงของตลาดเป็นเรื่องยาก การคาดเดาการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็ยาก (เพราะถ้าเรารู้จริงๆ 100%ก็ไปเล่น Future Option ย่อมได้ผลตอบแทนดีกว่าจริงไหมครับ?) ดังนั้นลองมองให้กว้างๆ... ถ้าราคาหุ้นที่เราเล็งไว้ยังไม่มาถึงราคาที่เราจะซื้อ...เราก็ไปรอก่อน แล้วไปดูหุ้นตัวอื่นที่น่าจะเข้าข่ายมากกว่า ถ้าเราซื้อแพงและราคาไม่มี MOS โอกาสขาดทุนย่อมสูงครับ
แต่เราควรจะประเมินการวัดมูลค่าของเราด้วยว่า...ถูกต้องจริงหรือไม่ เพราะบางครั้งหุ้นที่เรามองว่าแพง ไม่มี MOS บางครั้งถ้าดูอนาคตใน1-2 ปีขึ้นไป ราคาอาจจะถูกมากก็ได้ แต่แพงเพราะเป็นหุ้นเติบโตสูงหรือเปล่า? เพราะหุ้นเติบโตสูงจะไม่มีวันถูกเลยยกเว้นกรณีตลาด crash ครับ
ดังนั้นเราควรจะฝึกประเมินมูลค่าและดูว่าเมื่อเวลาผ่านไป...ผลกำไรของบริษัทหรือราคาหุ้นเติบโตอย่างที่เราคาดหวังหรือไม่ครับ (เช่น เขียนในกระดาษ ไม่ได้ซื้อจริง)
ถ้าลงทุนยาว 15ปี แนะนำกลยุทธ์ 7thLTG ของคุณสุมาอี้ครับ
http://dekisugi.net/7thltg
ขอบคุณครับ
เขียนดีจังเลยคะ.ขอบคุณสำหรับบทความสอนดีีๆค่ะ ขอให้สนุกกับงานนะคะ. เก่งและจิตใจดีอีกด้วย
ตอบลบ