โดย พงศกร
ผมตั้งใจเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์อันน้อยนิดในตลาดหุ้น ผมเองยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนอีกมาก การเขียนบทความนี้เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจผมว่าตอนนี้ผมยืนอยู่ที่จุดไหน ใช้หลักการข้อใดในการลงทุน ไม่ได้มีเจตนาจะอวดอ้างความสามารถของตัวเองใดๆทั้งสิ้น เพราะการทำแบบนั้นไม่เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองเลย และไม่เกิดประโยชน์กับผู้อ่านเช่นกัน
7. ความเสี่ยงของหุ้นเติบโต
การที่บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโต ย่อมมีการดึงดูดให้ผู้เล่นรายใหม่สนใจอยากจะทำธุรกิจแบบเดียวกันบ้างเพราะดูมีอนาคต ทำให้อุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตมีการแข่งขันสูง อาจจะมีการลดราคาขายสินค้าแข่งกันเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาด สุดท้ายแล้วอุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตขึ้นก็จริงแต่ไม่มีธุรกิจใดเลยที่ได้ประโยชน์
ถ้าจะสรุปความเสี่ยงของหุ้นเติบโตจะมีดังนี้
7.1 คู่แข่งรายใหม่เข้ามาแย่งสวนแบ่งการตลาด
การมีผู้เล่นมากๆอาจจะเกิดสงครามราคาได้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกหุ้นเติบโตที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว(DCA) เพื่อป้องกันความเสี่ยงข้อนี้ ยิ่งถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งขันน้อย (Low competition)เนื่องจากคู่แข่งรายใหม่เข้ามาลำบากยิ่งดี เช่น บริษัทขนาดใหญ่ต้องใช้เงินลงทุนสูงไม่ใช่ว่าใครมีเงินก็เข้ามาทำได้ง่ายๆ บริษัทที่เป็นธุรกิจสัมปทานซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ ธุรกิจที่ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาล ที่ไม่ใช่ว่าใครมีเงินก็ทำได้เลย อย่างไรก็ตามในระยะยาวถึงจะมี barrier of entry ที่ดีอย่างไรก็ตาม ผมก็คิดว่าการมีความสามารถในการแข่งขันระยะยาวจะดีที่สุดเพราะสุดท้ายเราไม่มีทางหลีกเลี่ยงการแข่งขันได้ตลอดไปในระบบทุนนิยม
7.2 การเติบโตทำไม่ได้อย่างที่คาดหวัง
เนื่องจากการเติบโตของรายได้ไม่ได้เป็นไปตามเป้าเสมอไปเพราะมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการขาย ยิ่งการประกาศงบรายไตรมาสทำให้นักลงทุนที่เก็งงบเกิดการผิดหวังและเทขายหุ้นออกมา ทั้งที่จริงๆแล้วภาพรวมในปีต่อปีจะมีการเติบโตที่สูงก็ตาม เนื่องจากบางธุรกิจมีปัจจัยเรื่องฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว รวมถึงในเรื่องหุ้นนั้นมีปัจจัยเชิงจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องมาก เติบโตไม่เท่าที่คาดหวังหุ้นก็ลงแรงได้ ดังนั้นควรประเมินความคาดหวังของตลาดร่วมไปด้วย และมองภาพรวมในแต่ละปีมากกว่าการเก็งกำไรรายไตรมาส แต่ควรดูงบทุกไตรมาสเพื่อดูตัวเลขที่สำคัญๆทางบัญชี เช่น การบริหารจัดการเงินสด กระแสเงินสด การเพิ่มสินค้าคงเหลือเทียบกับการเพิ่มของต้นทุนขาย ตัวเลขหนี้สินทั้งเจ้าหนี้การค้าและเงินกู้จากสถาบันทางการเงิน การเพิ่มลูกหนี้การค้าเทียบกับยอดขาย กำไรขั้นต้น(Gross profit margin) การเพิ่มของต้นทุนเทียบกับยอดขาย ตัวเลขการเพิ่มของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร ยอดการเก็บหนี้-หนี้สูญ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมราคา(EBITDA) และสุดท้ายอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) การที่เราดูงบการเงินไม่ใช่ว่าให้ยึดติดกับตัวเลขที่เกิดขึ้นเพราะตัวเลขเหล่านี้เป็นอดีต สิ่งที่เราจะทำคือแปลงบการเงินเพื่อให้เห็นสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่ว่าเป็นไปในแนวทางการเติบโตหรือไม่? นั่นคือเป็นข้อมูลที่บ่งบอกทิศทางของข้อมูลเชิงคุณภาพอีกที
นักลงทุนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับบรรทัดสุดท้าย (EPS) แล้วจะมีความสมหวังหรือผิดหวังกับตัวเลขบรรทัดนี้เป็นหลัก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของนักลงทุนที่มองงบการเงินและปัจจัยพื้นฐานระยะยาวที่จะเข้าไปคว้าโอกาส ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายหุ้นได้
เนื่องจากการที่ตลาดมีความคาดหวัง เราควรซื้อหุ้นเติบโตตอนที่ตลาดตกใจกลัวหรือช่วงที่ราคาสะท้อนความผิดหวังอย่างรุนแรง เพราะช่วงนั้นราคาจะมีส่วนลด และในการประเมินมูลค่าเราควรใช้กรณีที่เป็นระดับ conservative เพื่อป้องกันการขาดทุน
7.3 การเติบโตที่รวดเร็วเกินไป
การเติบโตของบริษัทที่ดีจะใช้กำไรจากดำเนินงานมาลงทุน แต่ถ้าเติบโตเร็วมากๆอาจจะต้องเพิ่มทุน เพราะเงินสดไม่พอโดยเฉพาะกิจการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และการเติบโตที่รวดเร็วมากไปอาจจะทำให้การบริหารได้ไม่ดี ไม่ทั่วถึง การรับพนักงานใหม่ๆจำนวนมากที่ไม่มีความสามารถ ทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการตกลง ซึ่งถ้ากรณีเลวร้ายที่สุดอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทจนไม่อาจจะแข่งขันได้อีกเลย ดังนั้นผมจะดูว่าการเติบโตนั้นมีพื้นฐานรองรับหรือไม่ บริษัทมีวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร ระบบการฝึกพนักงานและการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างไร ถ้าบริษัทโตเร็วมากๆแต่โตอย่างมีคุณภาพผมถือว่าผ่าน แม้ว่าอาจจะต้องมีการเพิ่มทุนในกรณีเงินสดไม่พอ แต่ถ้าการเพิ่มทุนนั้นสามารถทำผลตอบแทนต่อเงินลงทุนก้อนใหม่มากขึ้น ก็ยังจัดว่าน่าลงทุนอยู่ แต่ถ้าการเพิ่มทุนนั้นบริษัทไม่ได้มีแผนการเติบโตที่เป็นไปได้ และผลตอบแทนต่อเงินลงทุนดูต่ำผมจะขายหุ้นทิ้ง
7.4 การซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาแพงเกินไป
ของดีแต่ราคาแพงมากๆก็ไม่น่าซื้อ ไม่ใช่การลงทุนที่ดี ดังนั้นควรซื้อหุ้นที่มีส่วนลดจากมูลค่าที่ประเมินไว้ (แต่ไม่ใช่การซื้อหุ้น low PE นะครับ คนละเรื่องกัน ถ้าจะซื้อก็คือหุ้น low forward PE)
8. การบริหารพอร์ต (Portfolio management)
8.1 จำนวนหุ้นในพอร์ต
ผมจะถือหุ้น 3-5 ตัวเท่านั้น ไม่ถือมากกว่านี้เพราะดูแลไม่ทั่วถึง เพราะกว่าจะวิเคราะห์ได้แต่ละบริษัทต้องใช้เวลาและข้อมูลจนประเมินภาพในอนาคตได้ ทำให้ผมดูหุ้นใน watchlist ได้ไม่มาก (เต็มที่สุดประมาณ 20-30 ตัว) รวมถึงผมไม่ใช่นักลงทุนอาชีพที่มีเวลาทั้งวัน ผมมีงานประจำที่ต้องทำและต้องทำให้ได้อย่างดีเยี่ยมด้วย ผมจึงให้เวลากับการลงทุนได้น้อยกว่านักลงทุนทั่วๆไป โดยผมจะแบ่งเวลามานั่งดูข้อมูลพื้นฐานของหุ้นที่ผมสนใจในตอนเย็นของวันธรรมดาและวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งนั่นก็นับได้ว่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว และผมคิดว่าเท่านี้ก็เพียงพอแล้วเพราะผมให้เงินทำงานไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน ควรจะใช้เวลาให้น้อยแต่มีประสิทธิภาพจะดีกว่า(แม้แต่การอ่านหนังสือเรียนผมก็ใช้หลักนี้) ยิ่งไปกว่านั้นการลงทุนในหุ้นจำนวนมากจะทำให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาด ซึ่งสำหรับคนที่หวังจะชนะตลาดอย่างผม การลงทุนในหุ้นที่ดีที่สุดจำนวนน้อยตัวจะได้ผลมากกว่า ส่วนการลงทุนที่น้อยกว่าหุ้น 3 ตัวจะเสี่ยงเกินไป เสี่ยงกับการที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับบริษัทที่เราถืออยู่ซึ่งจะทำให้พอร์ตโดยรวมของเราลดลงอย่างรุนแรง เพราะไม่มีกำไรตัวอื่นมาช่วยเสริม ยิ่งไปกว่านั้นเราจะเสียโอกาสปรับพอร์ตเมื่อตลาดให้ราคาหุ้นของเราสูงหรือต่ำเกินไปอีกด้วย (ขายตัวแพงไปซื้อตัวถูก)
8.2 การคิดกำไรคาดหวัง
การศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณทั้งหมดเพื่อให้ได้ตัวเลข 4 ตัว 1. Upside ส่วนต่างราคาหุ้นที่เหมาะสมกับราคาปัจจุบันในการประเมินทั้ง 3 ระดับ ดูว่าเราจะได้กำไรแค่ไหน 2. Downside ส่วนต่างของราคาหุ้นปัจจุบันกับราคาหุ้นถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ความเสี่ยงขั้นรุนแรง ดูว่าเราจะขาดทุนได้ขนาดไหน 3. Probability ของ upside โอกาสที่หุ้นตัวนั้นราคาจะสูงขึ้น 4. Probability ของ downside โอกาสที่หุ้นตัวนั้นจะมีราคาลดลง
กำไรคาดหวังได้จากการคำนวณดังนี้... Expected profit = (upside x probability) – (downside x probability)
ยิ่งกำไรคาดหวังมากเท่าไร หุ้นยิ่งหน้าซื้อมากขึ้นเท่านั้น และกำไรคาดหวังยิ่งมากยิ่งควรถือหุ้นตัวนั้นในพอร์ตด้วยสัดส่วนที่สูง ตามหลัก Kelly’s formula
การหาค่าตัวเลขทั้ง 4 ตัว เราจำเป็นต้องเข้าใจข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเป็นอย่างดี รวมถึงคิดตัวเลขไว้หลายแบบตามเหตุการณ์ที่เราคาดไว้ โดยเราอาจจะแยกย่อยได้ดังนี้
- ถ้า upside สูงแต่ probability ต่ำ ... หุ้นประเภทนี้โอกาสได้กำไรน้อยแต่ถ้าโชคดีจะได้กำไรมาก ดังนั้นควรถือหุ้นแบบนี้หลายๆตัวเพื่อเพิ่มโอกาสให้มากขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่ผมไม่ได้ซื้อหุ้นกลุ่มนี้เพราะผมต้องการซื้อหุ้นน้อยตัว
- ถ้า upside ต่ำแต่ probability สูง ... หุ้นกลุ่มนี้ซื้อน้อยตัวได้แต่กำไรอาจจะไม่มากนัก
- ถ้า downside สูง probability ต่ำ ... หุ้นกลุ่มนี้ผมจะไม่ถือเพราะถึงโอกาสจะเกิดน้อยแต่ถ้าเกิดขึ้นมาจะเป็นอันตรายกับพอร์ตอย่างมาก
- โดยส่วนตัวผมจะพยายามเลือกหุ้นที่ upside สูง probability ของ upside สูง downside ต่ำ probability ของ downside ต่ำ ที่สุดเท่าที่ผมจะหาเจอ ดังนั้นการหาหุ้นดีๆในการเข้าลงทุนไม่ใช่ว่าจะหาเจอได้ทุกวัน บางทีเจอปีละตัวยังนับว่ามากเลย ต้องใจเย็นและรอคอยได้ ถ้าราคายิ่งลดจากตลาดตื่นตระหนกโดยที่กิจการยังดี ยิ่งเป็นการเพิ่ม upside และลด downside ไปโดยปริยาย โดยแต่ละครั้งที่เข้าซื้อถ้าเป็นไปได้ประเมินให้ probability ของ upside มากกว่า downside เสมอ (โอกาสหุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง)
8.3 การปรับพอร์ต
การปรับพอร์ตเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อตลาดให้ราคาหุ้นของเราผิดไปมากๆ จนกำไรคาดหวังเปลี่ยนแปลง บางตัวกำไรคาดหวังลดและบางตัวกำไรคาดหวังเพิ่ม เราควรจะขายตัวที่กำไรคาดหวังลดมาซื้อตัวที่กำไรคาดหวังเพิ่ม แต่สิ่งที่เป็นไปได้ที่ควรทำคือ ทุกครั้งที่หุ้นของเราราคาลดลงหรือเพิ่มขึ้นแรงๆ ให้ประเมินว่าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนหรือไม่ เพราะถ้าพื้นฐานเปลี่ยนต้องประเมินตัวเลขทั้ง 4 ตัวใหม่ กำไรคาดหวังจะเปลี่ยนไปด้วย การปรับพอร์ตโดยยึดตัวเลขที่ประเมินครั้งแรกโดยไม่ดูความเปลี่ยนแปลงตามเวลาอาจจะเกิดความเสียหายกับพอร์ตได้ รวมถึงไม่ควรปรับพอร์ตบ่อยเพราะจะโดนค่าคอมไปเยอะ ควรปรับเมื่อกำไรคาดหวังต่างกันมากๆจะดีที่สุด ช่วยให้ผลตอบแทนดีขึ้นมาก
9. การใช้จิตวิทยาการลงทุน
แนวคิดของ เบน เกรแฮม เนื่องนายตลาด (Mr. Market) เป็นแนวคิดที่ผมชอบมาก เพราะเบื้องของกระดานหุ้นที่ซื้อขายทางอินเตอร์เนตความเร็วสูงคือคน ต่อให้คนมีความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารเร็วแค่ไหน คนก็คือคนที่มีอารมณ์ความรู้สึกที่ทำให้การคิดเชิงเหตุผลแย่ลง มีสมหวังมีผิดหวัง มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้นักลงทุนที่มีเหตุผลฉกฉวยโอกาสในภาวะที่จิตใจของนายตลาดไม่ปกติได้ (โอกาสไม่ได้มาบ่อยๆ) แต่การที่มีวุฒิภาวะควบคุมอารมณ์ได้ดีใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน ลดอคติในการลงทุน
- ถ้า upside สูงแต่ probability ต่ำ ... หุ้นประเภทนี้โอกาสได้กำไรน้อยแต่ถ้าโชคดีจะได้กำไรมาก ดังนั้นควรถือหุ้นแบบนี้หลายๆตัวเพื่อเพิ่มโอกาสให้มากขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่ผมไม่ได้ซื้อหุ้นกลุ่มนี้เพราะผมต้องการซื้อหุ้นน้อยตัว
- ถ้า upside ต่ำแต่ probability สูง ... หุ้นกลุ่มนี้ซื้อน้อยตัวได้แต่กำไรอาจจะไม่มากนัก
- ถ้า downside สูง probability ต่ำ ... หุ้นกลุ่มนี้ผมจะไม่ถือเพราะถึงโอกาสจะเกิดน้อยแต่ถ้าเกิดขึ้นมาจะเป็นอันตรายกับพอร์ตอย่างมาก
- โดยส่วนตัวผมจะพยายามเลือกหุ้นที่ upside สูง probability ของ upside สูง downside ต่ำ probability ของ downside ต่ำ ที่สุดเท่าที่ผมจะหาเจอ ดังนั้นการหาหุ้นดีๆในการเข้าลงทุนไม่ใช่ว่าจะหาเจอได้ทุกวัน บางทีเจอปีละตัวยังนับว่ามากเลย ต้องใจเย็นและรอคอยได้ ถ้าราคายิ่งลดจากตลาดตื่นตระหนกโดยที่กิจการยังดี ยิ่งเป็นการเพิ่ม upside และลด downside ไปโดยปริยาย โดยแต่ละครั้งที่เข้าซื้อถ้าเป็นไปได้ประเมินให้ probability ของ upside มากกว่า downside เสมอ (โอกาสหุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง)
8.3 การปรับพอร์ต
การปรับพอร์ตเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อตลาดให้ราคาหุ้นของเราผิดไปมากๆ จนกำไรคาดหวังเปลี่ยนแปลง บางตัวกำไรคาดหวังลดและบางตัวกำไรคาดหวังเพิ่ม เราควรจะขายตัวที่กำไรคาดหวังลดมาซื้อตัวที่กำไรคาดหวังเพิ่ม แต่สิ่งที่เป็นไปได้ที่ควรทำคือ ทุกครั้งที่หุ้นของเราราคาลดลงหรือเพิ่มขึ้นแรงๆ ให้ประเมินว่าลงเพราะพื้นฐานเปลี่ยนหรือไม่ เพราะถ้าพื้นฐานเปลี่ยนต้องประเมินตัวเลขทั้ง 4 ตัวใหม่ กำไรคาดหวังจะเปลี่ยนไปด้วย การปรับพอร์ตโดยยึดตัวเลขที่ประเมินครั้งแรกโดยไม่ดูความเปลี่ยนแปลงตามเวลาอาจจะเกิดความเสียหายกับพอร์ตได้ รวมถึงไม่ควรปรับพอร์ตบ่อยเพราะจะโดนค่าคอมไปเยอะ ควรปรับเมื่อกำไรคาดหวังต่างกันมากๆจะดีที่สุด ช่วยให้ผลตอบแทนดีขึ้นมาก
9. การใช้จิตวิทยาการลงทุน
แนวคิดของ เบน เกรแฮม เนื่องนายตลาด (Mr. Market) เป็นแนวคิดที่ผมชอบมาก เพราะเบื้องของกระดานหุ้นที่ซื้อขายทางอินเตอร์เนตความเร็วสูงคือคน ต่อให้คนมีความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารเร็วแค่ไหน คนก็คือคนที่มีอารมณ์ความรู้สึกที่ทำให้การคิดเชิงเหตุผลแย่ลง มีสมหวังมีผิดหวัง มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้นักลงทุนที่มีเหตุผลฉกฉวยโอกาสในภาวะที่จิตใจของนายตลาดไม่ปกติได้ (โอกาสไม่ได้มาบ่อยๆ) แต่การที่มีวุฒิภาวะควบคุมอารมณ์ได้ดีใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน ลดอคติในการลงทุน
แนวทางการฝึกฝนฝีมือของผม
ผมเองลงทุนมาได้แค่ 2 ปีเท่านั้น ประสบการณ์ในตลาดหุ้นยังน้อย ยังต้องฝึกฝนอีกมาก โดยผมมีแนวทางการฝึกตนดังนี้
1.การให้ การช่วยเหลือผู้อื่น
ผมมองอนาคตว่า...ผมอยากทำงานให้กับมูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร อยากใช้ความสามารถทั้งด้านการทำงานวิชาชีพแพทย์ให้กับสังคมให้กับเด็กๆซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานการเติบโตระยะยาวที่แข็งแกร่งให้กับประเทศ ทั้งในด้านการบริหารการเงินการลงทุนให้กับองค์กรช่วยเหลือผู้คนเหล่านี้ เพื่อที่เงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคจะได้ทำงานสูงสุด รวมถึงองค์กรเหล่านี้จะด้ไม่ขาดทุน อยู่ได้ด้วยตนเอง สร้างเงินทุนหมุนเวียนและเงินปันผลที่ใช้ในการดำเนินงานช่วยเหลือคนได้โดยไม่ล่มกลางทาง
ในความจริงการเก็บเงินไปลงทุน 100 เปอร์เซ็นต์ อาจทำให้พอร์ตผมโตเร็วสุดก็จริง แล้วค่อยไปให้คืนสังคมทีหลัง แต่ผมไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะความจริงเราอาจจะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ การให้คืนกับสังคมและการช่วยเหลือผู้อื่น นั่นคือความหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างนึงของผม การให้ต้องทำในวันนี้ และให้กับคนที่เดือดร้อนตอนนี้ ไม่ใช่คนที่เดือดร้อนในอีก 20-30 ปีข้างหน้าตอนพอร์ตใหญ่แล้ว
เพราะเงินในพอร์ตก็เป็นเพียงตัวเลข ถ้าเราไม่ได้เอามาใช้ การใช้ที่ดีที่สุดคือให้กับคนที่ต้องการ ทั้งตัวเราเอง ครอบครัว สังคม นั่นคือการที่เงินของเราได้สร้างความสุขมากกว่าการกองอยู่ในพอร์ตขนาดใหญ่เฉยๆ
และที่สำคัญผมเชื่อว่า ยิ่งให้ยิ่งได้รับ ... แต่นั่นไม่ใช่ว่าเราจะให้แล้วจะขอให้โชคดี ขอให้รวย ความตั้งใจของการให้คือเพื่อช่วยเหลือผู้คนเพื่อทำประโยชน์อย่างแท้จริง แม้จะไม่มีใครรู้เห็นก็ตาม แต่ใจเรารู้ดีที่สุด และสภาพของจิตใจที่ปลอดโปร่งจากการให้จะทำให้เรามองเห็นโอกาสและวิเคราะห์หุ้นดียิ่งขึ้น รวมถึงไม่ทุกข์ร้อนมากเวลาหุ้นลง เพราะเรารู้ว่าความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขในพอร์ตแต่อยู่ที่ใจเรา
2. การใช้เวลาว่างในแต่ละวันอ่านข้อมูลพื้นฐานของบริษัท
ผมเองไม่ใช่คนที่มีเวลาว่างมาก ไม่ใช่นักลงทุนอาชีพ ผมเป็นคนที่งานประจำที่ต้องใช้สมาธิในการคุยกับคนไข้ ถ้าใจของผมแกว่งตามตลาดผมจะรักษาคนไข้ไม่ได้เลย นั่นทำให้ผมเลือกการลงทุนระยะยาวมากกว่าการลงทุนระยะสั้น แม้กำไรอาจจะไม่มากมายเท่านักเก็งกำไรก็ตาม
และเพราะผมชอบการลงทุน ผมจึงไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหนื่อย ไม่ใช่เรื่องลำบาก และการศึกษาวิเคราะห์คือการพักผ่อนจากงานประจำของผม
3. การอ่านหนังสือที่เกี่ยวธุรกิจและการลงทุน
โดยเฉพาะหนังสือการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ
4. การออกไปเที่ยว เดินห้างดูหนัง เที่ยวต่างประเทศ
อาจจะฟังดูแปลกว่าเกี่ยวอะไร แต่นี่คือการศึกษาพฤตกรรมผู้บริโภคและวิถีชีวิตผู้คนจากของจริง ทำให้เรามองทิศทางของธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมและบริษัทที่เราสนใจลงทุนได้ดีเพราะเราสัมผัสเองโดยตรง แม้แต่โฆษณาบนรถไฟฟ้าที่หลายคนไม่ชอบผมก็ยังชอบดู เพราะการโฆษณาเป็นการสื่อสารระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค เช่น โฆษณาน้ำยาล้างห้องน้ำสำหรับแม่บ้านที่ไม่เปลืองแรงถู...พอดูไปก็จะมองเห็นว่า...ตอนนี้คนใช้หายาก คนไม่ค่อยเป็นคนไข้ตามบ้านไปอยู่อุตสาหกรรมอื่นที่เงินดีกว่า รวมถึงคนไหลออกไปทำงานต่างประเทศ แรงงานราคาถูกก็เป็นคนพม่าเข้ามาทำแทน สินค้าสำหรับแม่บ้านที่เป็นผู้หญิงทำงานแต่วันหยุดเป็นแม่บ้านจึงออกมา จะเห็นได้ว่าแค่โฆษณาเดียวแต่เรามองได้ลึกกว่านั้นมาก
5. การเขียนบทความ (แบบที่ผมกำลังทำอยู่)
เป็นการรวบรวมความคิดที่กระจัดจายในหัวเข้ามาให้เป็นรูปเป็นร่าง พอเขียนจบแล้วความคิดจะชัดเจนมากขึ้น รวมถึงอาจจะเกิดไอเดียใหม่ๆได้เวลาที่เขียน คนที่อ่านก็จะได้ประโยชน์จากการอ่านเช่นกัน เป็นการเรียนรู้แบบต่อยอดกันไปเรื่อยๆ
6. การเรียนภาษาต่างประเทศ และการเรียนเรื่องธุรกิจ
โดยเฉพาะภาษาจีน(ภาษาอังกฤษตอนนี้พอได้แล้ว) เพราะผมสนใจจะลงทุนในหุ้นจีนตั้งแต่ต้นปี 53 เพราะการเติบโตของประเทศยังมีศักยภาพอีกมาก แต่ขอพอร์ตเมืองไทยใหญ่กว่านี้อีกหน่อย รวมถึงการเรียน MBA เมื่อเรียนจบเฉพาะทางแล้ว
7. การจดบันทึกความผิดพลาดทุกครั้ง และเรียนรู้ที่จะไม่ทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 2
7. การจดบันทึกความผิดพลาดทุกครั้ง และเรียนรู้ที่จะไม่ทำผิดอีกเป็นครั้งที่ 2
และนี่คือภาพรวมทั้งหมดของแนวทางการลงทุนของผมในตอนนี้ ซึ่งก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ ในหนังสือ outliers ผู้เขียน คุณ Malcolm Galdwell ได้บอกถึงตัวเลขที่ต้องใช้ในการฝึกฝนเพื่อเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่งว่า ใช้เวลา 10000 ชม. หรือประมาณ 7 ปี ดังนั้นผมต้องฝึกฝนตัวเองอีกอย่างน้อย 5 ปีถึงจะไปถึงจุดที่ผมหวังเอาไว้ นั่นคือการเป็น player ระดับ Top ของการลงทุนแบบหุ้นเติบโตและเป็นนักลงทุนข้ามชาติ มีก๊วนนักลงทุนระดับสุดยอดไม่ต้องมีเยอะแค่ 4-5 คนก็พอ
และถ้าเรามีเป้าหมายแล้วเราพยายามอย่างฉลาด ผมเชื่อว่าไม่มีอะไรไกลเกินฝันแน่นอนครับ
และถ้าคนที่ลงทุนมา 2 ปีทำได้ คุณเองก็ทำได้เหมือนกันเชื่อผมสิ