โดย พงศกร
สัปดาห์นี้เรามาคุยกันต่อนะครับ...
หลังจากที่เราได้บริษัทที่มีคุณสมบัติ 2 ใน 3 อย่าง โดยจะมีรูปแบบดังนี้
1. Growth story + DCA
2. Growth story + good Cash flow
หรือ 3. มีคุณสมบัติทั้ง 3 รูปแบบคือ...Growth story + DCA + good cash flow
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามต้องมีการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นหลัก (Growth story) แล้วจึงดูคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติม
3. การประเมินโอกาสและความเสี่ยง (Opportunity and Risk evaluation)
ผมจะประเมินโอกาสก่อน เพื่อเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้ามาอยู่ใน Watch list เพราะถ้ามองความเสี่ยงก่อนเราอาจจะกลัวจนไม่กล้าจะสนใจบริษัทไหนเลย...(หรือ อาจจะไม่กล้าลงทุนในหุ้น ไม่กล้าแม้แต่จะใช้ชีวิต ไม่กล้าแม้แต่จะเดินออกจากบ้านด้วยซ้ำ !!!) โดยการมองโอกาสผมจะมองเป็น 3 ระดับ
3.1 ระดับ Conservative เป็นระดับการเติบโตที่บริษัททำได้อย่างแน่นอน โดยคิดจากกรณีที่บริษัทเผชิญกับปัญหาหรือความเสี่ยงที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Worst case scenario) (ความเสี่ยงพวกดาวหางวิ่งชนโลก มนุษย์ต่างดาวบุกโลกหรืออะไรที่มีโอกาสเกิดน้อยมากๆๆ ผมจะไม่เอามาคิดในกรณีนี้) ถ้าประเมินอนุรักษ์นิยมแล้วบริษัทยังมีการเติบโตได้อีกมาก รายได้และกำไรเพิ่มได้อีกมากจากปัจจุบัน บริษัทที่ผ่านการประเมินแบบนี้จัดว่าน่าลงทุนเพราะโอกาสขาดทุนน้อยมาก (ทั้งนี้ขึ้นกับราคาหุ้นที่เข้าซื้อด้วย ราคาที่เข้าซื้อต้องประเมินจากระดับ conservative เท่านั้น) การประเมินความเสี่ยงจะทำในขั้นตอนนี้ โดยต้องเขียนออกมาให้หมดว่ามีเหตุการณ์ใดบ้างที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นความเสี่ยงของบริษัท เช่น มีสินค้าใหม่เข้ามาแข่งหรือมีคู่แข่งเข้ามาแข่งด้วย, บริษัทถูกควบคุมจากภาครัฐ, บริษัทประมูลงานไม่ได้ (ยกตัวอย่างเฉยๆ เพราะผมไม่ชอบหุ้น project based), สงครามราคา, ยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาด (กรณีนี้เหมือนเป็นผลลัพธ์มากกว่า...แต่ผมจะเอาความคาดหวังของตลาดมาคิดเสมอ แล้วจะพูดในหัวข้อต่อๆไป) เป็นต้น โดยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต้องกระทบต่อพื้นฐานของบริษัทในระยะยาวจึงจะเป็นความเสี่ยงที่เรากลัวจริงๆ...กรณีที่เป็นความเสี่ยงชั่วคราวไม่ได้กระทบต่อพื้นฐานระยะยาวของบริษัท ผมมองว่าเป็นโอกาสเข้าซื้อมากกว่า
3.2 ระดับ Fair เป็นระดับการเติบโตของรายได้และกำไรที่น่าจะเกิดขึ้นจริงตามความน่าจะเป็น เป็นระดับที่ผมใช้ประเมินมูลค่าเมื่อเข้าถือแล้วและกำหนดโซนถือไปถึงโซนขาย (Hold and Sell zone)
3.3 ระดับ Advance เป็นระดับที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท โดยเขียนออกมาให้ชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น...เช่น การปรับปรุงโครงสร้างบริษัท, การควบรวมกิจการ, ยอดขายโตกว่าที่ตลาดคาดไว้มากๆ, บริษัทได้งานที่มูลค่าสูงมากๆ เป็นต้น
การประเมินโอกาสทั้ง 3 ระดับที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท ให้เขียนออกมาให้ชัดเจนว่าในแต่ละกรณีมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่มีโอกาสเกิดขึ้น และทำการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 3 กรณี โดยมูลค่าหุ้นแบบ conservative จะนำมาซึ่งการกำหนดโซนซื้อ (Buy zone) โดยให้มีส่วนต่างความปลอดภัย (MOS – Margin of Safety) 30-50% จากมูลค่าของบริษัทเมื่อประเมินแบบ conservative เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนครั้งนี้จะไม่ขาดทุน
ต่อมาให้ตั้ง Target price โดยใช้การประเมินมูลค่าแบบกรณี Fair เพราะเป็นกรณีที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะเกิดเหตุการณ์ และจะนำมาซึ่งการกำหนดโซนถือและโซนขาย (Hold and Sell zone)
แล้วถ้าอย่างนั้นกำหนดรูปแบบ Advance ไปทำไม? การกำหนด Best case scenario เพื่อให้เราไม่พลาดโอกาสที่ดีที่สุดถ้าเกิดขึ้นกับบริษัท เราต้องคว้าไว้ได้...รวมถึงสามารถประเมินมูลค่าทั้ง 3 รูปแบบขึ้นใหม่ได้ถ้ามีกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ดีมากๆกับบริษัท (โดยต้องประเมินด้วยว่าเหตุการณ์กระทบพื้นฐานของบริษัทแบบชั่วคราวหรือถาวร ถ้าชั่วคราวแล้วราคาวิ่งไปสูงมากต้องขาย แต่ถ้าพื้นฐานเปลี่ยนแบบถาวรต้องประเมินมูลค่าใหม่และถือต่อ) เพราะบางครั้งราคาหุ้นวิ่งอย่างรุนแรงก่อนที่จะมีการประกาศข่าวดีอย่างเป็นทางการ ดังนั้นต้องถามตัวเองว่า...ราคาวิ่งรุนแรงครั้งนี้จะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงพื้นฐานในทางที่ดีขึ้นที่เราเคยคาดไว้หรือไม่?
การประเมินความเสี่ยงในกรณีเข้าถือผมได้พูดไปแล้วในกรณีรูปแบบ conservative ต่อมาจะประเมินความเสี่ยงในกรณีที่ต้องขาย นั่นคือเราพบว่าในภายหลังว่าเหตุผลของการเข้าถือไม่เป็นไปตามคาดในระยะยาว เช่น บริษัทไม่เติบโตอีกต่อไปแล้ว รายได้ลุ่มๆดอนๆไม่สม่ำเสมอ ผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ ความต้องการสินค้าและบริการลดลงเรื่อยๆ เป็นต้น
4. การประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation)
เมื่อเราคิดรูปแบบที่เป็นไปได้ 3 รูปแบบ ผมจะมานั่งคิดมูลค่าที่เป็นไปได้ในแต่ละรูปแบบ โดยใช้วิธี
4.1 ขนาด Market Cap โดยจะมีการเปรียบเทียบบริษัทชนิดเดียวกันกับตลาดต่างประเทศว่าบริษัทชนิดนี้ควรจะมี Market Cap ขนาดไหน เนื่องจากการดูอัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียวจะทำให้พลาดโอกาสที่จะมองเห็นอนาคตของบริษัท เนื่องจากการซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคตของบริษัท บริษัทที่จะมีอนาคตได้นั้นต้องประเมินจากปัจจัยเชิงคุณภาพในปัจจุบันมากกว่าที่จะประเมินปัจจัยเชิงปริมาณ ถ้าบริษัทมีพื้นฐานที่ดีเยี่ยมใน 3 ข้อที่ผมกล่าวมา อัตราส่วนทางการเงินสวยๆจะตามมาเอง ถ้า Market cap ของบริษัทไทยกับอเมริกาแตกต่างกันมากๆเป็นสิบๆเท่า โดยที่บริษัทไทยอยู่ในช่วงเติบโตตามรอยของอเมริกาก็ให้พิจารณาเข้าซื้อได้ (แม้ว่าPE จะสูงลิบลิ่วก็ไม่เป็นไร)
4.2 Forward PE ratio เป็นการมองกำไรในรอบ 1 ปีข้างหน้าเพื่อมาหาสัดส่วน price per earning ในอนาคตของราคาในปัจจุบันเพื่อหาว่าหุ้นยังน่าลงทุนหรือไม่ การดู PE ต้องดูอนาคตเท่านั้น เพราะการยึดปัจจุบันและอดีตจะทำให้พลาดได้ โดยเฉพาะบริษัทที่กำไรไม่สม่ำเสมอ เราอาจจะเข้าซื้อตอน PE ต่ำ แต่นั่นคือดอยแล้วเพราะถัดจากนี้ไปคือช่วงขาลงของบริษัทที่กำไรมีแต่จะลดลง ทำให้ Forward PE สูงลิบลิ่ว...การที่ไม่ซื้อหุ้น PE สูงๆโดยที่ไม่ดูข้อมูลเชิงคุณภาพจะทำให้พลาดได้ เพราะการที่พื้นฐานของบริษัทดีขึ้นเรื่อยๆจะทำให้รายได้และกำไรเพิ่ม และนำมาซึ่ง Forward PE ซึ่งนับวันจะลดลงเรื่อยๆ และเป็นหุ้นราคาถูกที่คนมองข้ามเพียงเพราะ PE สูงในปัจจุบัน
โดยการกำหนด PE ของบริษัทที่ควรจะเป็นให้ใช้ค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของบริษัท อย่าไปเที่ยวต่อว่าตลาดว่าทำไมให้ PE น้อยจัง นั่นเพราะแต่ละธุรกิจมีโอกาสและความเสี่ยงต่างกัน การเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันบางครั้งยังไม่ควรทำเลยด้วยซ้ำ...ผมไม่เคยหวัง Capital gain จากการปรับ PE ของตลาดเลย (ถ้ามีก็เป็นเพียงของแถมเท่านั้น) สิ่งที่หวังได้คือ ราคาหุ้นเพิ่มตามกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
4.3 การทำ DCF การประเมินมูลค่าแบบ DCF เป็นการประเมินที่ต้องใช้ตัวแปรหลายปัจจัยซึ่งอาจจะนำมาถึงตัวเลขที่แตกต่างกันมากๆได้...อย่างไรก็ตามผมมักจะคิดDCF ไว้หลายๆแบบเพื่อ recheck การประเมินมูลค่าแบบ Market caps และ Forward PE โดยบริษัทที่ผมจะใช้ DCF ผมจะต้องคาดการณ์อนาคตของบริษัทได้ค่อนข้างแน่นอน
4.4 ประเมิน PBV ผมจะเอาไว้ใช้กับหุ้น cycle ขาลง และหุ้น Asset play (ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ใช่ความถนัดของผม แต่ก็เล่นบ้างถ้ามีโอกาสและปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้นที่ชัดเจน)
5. ประเมินปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้น (Driver)
ราคาหุ้นจะนิ่งสนิทอยู่แบบนั้นถ้าไม่มีปัจจัยมาขับดัน ยกตัวอย่าง driver ที่ผมจะชอบใช้นะครับ
5.1 รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ... กรณีนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งหุ้นเติบโตที่วิ่งไปได้ไกลในระยะยาวก็เพราะปัจจัยขับเคลื่อนข้อนี้เป็นหลัก
5.2 ปันผลเพิ่ม ... นั่นคือเงินถึงมือผู้ถือหุ้นมากขึ้น ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบอื่นๆ เช่น เงินฝากระยะยาว พันธบัตร หุ้นกู้ และเปอร์เซ็นต์ของปันผลสูงมากๆราคาจะวิ่งแน่นอน เพราะเงินจะไหลสู่สินทรัพย์ที่ผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่ความเสี่ยงต่ำที่สุด ยิ่งถ้าเงินปันผลที่เพิ่มมาจากกำไรจากการดำเนินงาน(Operating profit) ที่เพิ่มขึ้นมั่นใจได้เลยว่าราคาไปได้อีกไกลแน่ หรือแม้แต่กรณีที่เงินสดเหลือมากๆแล้วปันผลพิเศษก็ทำให้ราคาหุ้นวิ่งอย่างรุนแรงได้เหมือนกัน
5.3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัท (Structural change) เช่น การขายบริษัทที่ขาดทุนออกไป, การปรับเปลี่ยนการเก็บสต๊อกที่สั้นลง, การควบรวมหรือเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่จะส่งเสริมกิจการซึ่งกันและกัน, โดยเหตุการณ์เหล่านี้มีผลต่อผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตของบริษัท ราคาหุ้นก็จะวิ่ง
5.4 การเปลี่ยนแปลงตัวเลขทางบัญชี เช่น Gross profit margin สูงขึ้น โดยอาจจะมาจากการเพิ่มขายสินค้าที่มี margin สูงในสัดส่วนที่สูงขึ้น อาจจะการที่บริหารจัดการต้นทุนได้ถูกลงเรื่อยๆ อาจจะมาจากค่าเงินบาทแข็งขึ้นทำให้นำเขาสินค้าได้ถูกลง, หรือ Net profit margin สูงขึ้น อาจจะมาจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงเพราะบริษัทไม่ต้องกู้เนื่องจากสามารถใช้เครดิตสต๊อกสินค้าได้ มีเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาชำระหนี้เงินกู้ การที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีให้ การเกิด Economy of scale เป็นต้น
6. การมองเศรษฐกิจภาพรวมที่มีผลต่อธุรกิจที่เราสนใจ
การมองและเลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่กำลังโตเป็นการมองจากภาพรวม (Top down) หลังจากที่เราเลือกบริษัทที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว ผมจะมองว่าเศรษฐกิจปัจจุบันมีผลอย่างไรบ้างกับบริษัทที่เลือก (Down top) ซึ่งบริษัทที่ดีมากๆ เศรษฐกิจโดยรวมควรจะมีผลต่อบริษัทน้อยมากๆ (แต่ไม่มีทางที่จะไม่มีผลเลย) ซึ่งผมเรียกการประเมินทั้งหมดว่า Top down and Down top recheck เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนทั้งบริษัทและองค์ประกอบโดยรอบ
เหมือนเมล็ดพันธ์จะเติบโตได้ต้องอาศัยดินที่ดี มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่นกัน ... บริษัทที่ดีถ้าได้อยู่ในองค์ประกอบที่ดี ย่อมนำมาซึ่งการเติบโตที่แข็งแรงได้
แต่ไม่ใช่ว่าจะให้ความสนใจกับ Macroeconomic มากเกินไป ให้สนใจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น...เพราะไม่ใช่ทุกปัจจัยที่จะมีผลต่อบริษัทที่เราถือ แม้ว่าจะมีวิกฤตเศรษฐกิจแต่บางบริษัทก็ยังเติบโตได้ นั่นคือมีโอกาสในทุกสถาณการณ์ขึ้นอยู่กับเราว่าจะมองเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง...
ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยเงินกู้ (มีผลต่อธุรกิจ ลูกค้าที่ใช้การผ่อนชำระ แบงค์) ดอกเบี้ยเงินฝากหุ้นกู้พันธบัตร (มีผลต่อการเลือกตัดสินใจลงทุน) ค่าเงินบาท (มีผลต่อธุรกิจที่ต้องนำเข้าหรือส่งออก) ราคาทองคำและUSD index (มีผลต่อการทำ Asset Allocation ของพวกกองทุนต่างชาติ – อันนี้จะเป็นเรื่อง Fundflow เดี๋ยวค่อยมาว่ากันอีกที) ตัวเลขการซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถยนต์ใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ความเชื่อมั่นในการใช้เงิน) ราคาน้ำมัน (เป็นต้นทุนของหลายๆธุรกิจ) เป็นต้น (เฉพาะเรื่องนี้เขียนได้อีกเรื่องนึงเต็มๆ)
ปล. ตอนแรกตั้งใจว่าจะให้จบในตอนนี้แต่กลับไม่จบแฮะ...ต่ออาทิตย์หน้าละกันครับ^^
สัปดาห์นี้เรามาคุยกันต่อนะครับ...
หลังจากที่เราได้บริษัทที่มีคุณสมบัติ 2 ใน 3 อย่าง โดยจะมีรูปแบบดังนี้
1. Growth story + DCA
2. Growth story + good Cash flow
หรือ 3. มีคุณสมบัติทั้ง 3 รูปแบบคือ...Growth story + DCA + good cash flow
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามต้องมีการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นหลัก (Growth story) แล้วจึงดูคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติม
3. การประเมินโอกาสและความเสี่ยง (Opportunity and Risk evaluation)
ผมจะประเมินโอกาสก่อน เพื่อเลือกหุ้นที่น่าสนใจเข้ามาอยู่ใน Watch list เพราะถ้ามองความเสี่ยงก่อนเราอาจจะกลัวจนไม่กล้าจะสนใจบริษัทไหนเลย...(หรือ อาจจะไม่กล้าลงทุนในหุ้น ไม่กล้าแม้แต่จะใช้ชีวิต ไม่กล้าแม้แต่จะเดินออกจากบ้านด้วยซ้ำ !!!) โดยการมองโอกาสผมจะมองเป็น 3 ระดับ
3.1 ระดับ Conservative เป็นระดับการเติบโตที่บริษัททำได้อย่างแน่นอน โดยคิดจากกรณีที่บริษัทเผชิญกับปัญหาหรือความเสี่ยงที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Worst case scenario) (ความเสี่ยงพวกดาวหางวิ่งชนโลก มนุษย์ต่างดาวบุกโลกหรืออะไรที่มีโอกาสเกิดน้อยมากๆๆ ผมจะไม่เอามาคิดในกรณีนี้) ถ้าประเมินอนุรักษ์นิยมแล้วบริษัทยังมีการเติบโตได้อีกมาก รายได้และกำไรเพิ่มได้อีกมากจากปัจจุบัน บริษัทที่ผ่านการประเมินแบบนี้จัดว่าน่าลงทุนเพราะโอกาสขาดทุนน้อยมาก (ทั้งนี้ขึ้นกับราคาหุ้นที่เข้าซื้อด้วย ราคาที่เข้าซื้อต้องประเมินจากระดับ conservative เท่านั้น) การประเมินความเสี่ยงจะทำในขั้นตอนนี้ โดยต้องเขียนออกมาให้หมดว่ามีเหตุการณ์ใดบ้างที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นความเสี่ยงของบริษัท เช่น มีสินค้าใหม่เข้ามาแข่งหรือมีคู่แข่งเข้ามาแข่งด้วย, บริษัทถูกควบคุมจากภาครัฐ, บริษัทประมูลงานไม่ได้ (ยกตัวอย่างเฉยๆ เพราะผมไม่ชอบหุ้น project based), สงครามราคา, ยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาด (กรณีนี้เหมือนเป็นผลลัพธ์มากกว่า...แต่ผมจะเอาความคาดหวังของตลาดมาคิดเสมอ แล้วจะพูดในหัวข้อต่อๆไป) เป็นต้น โดยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต้องกระทบต่อพื้นฐานของบริษัทในระยะยาวจึงจะเป็นความเสี่ยงที่เรากลัวจริงๆ...กรณีที่เป็นความเสี่ยงชั่วคราวไม่ได้กระทบต่อพื้นฐานระยะยาวของบริษัท ผมมองว่าเป็นโอกาสเข้าซื้อมากกว่า
3.2 ระดับ Fair เป็นระดับการเติบโตของรายได้และกำไรที่น่าจะเกิดขึ้นจริงตามความน่าจะเป็น เป็นระดับที่ผมใช้ประเมินมูลค่าเมื่อเข้าถือแล้วและกำหนดโซนถือไปถึงโซนขาย (Hold and Sell zone)
3.3 ระดับ Advance เป็นระดับที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท โดยเขียนออกมาให้ชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น...เช่น การปรับปรุงโครงสร้างบริษัท, การควบรวมกิจการ, ยอดขายโตกว่าที่ตลาดคาดไว้มากๆ, บริษัทได้งานที่มูลค่าสูงมากๆ เป็นต้น
การประเมินโอกาสทั้ง 3 ระดับที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท ให้เขียนออกมาให้ชัดเจนว่าในแต่ละกรณีมีเหตุการณ์อะไรบ้างที่มีโอกาสเกิดขึ้น และทำการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 3 กรณี โดยมูลค่าหุ้นแบบ conservative จะนำมาซึ่งการกำหนดโซนซื้อ (Buy zone) โดยให้มีส่วนต่างความปลอดภัย (MOS – Margin of Safety) 30-50% จากมูลค่าของบริษัทเมื่อประเมินแบบ conservative เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนครั้งนี้จะไม่ขาดทุน
ต่อมาให้ตั้ง Target price โดยใช้การประเมินมูลค่าแบบกรณี Fair เพราะเป็นกรณีที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะเกิดเหตุการณ์ และจะนำมาซึ่งการกำหนดโซนถือและโซนขาย (Hold and Sell zone)
แล้วถ้าอย่างนั้นกำหนดรูปแบบ Advance ไปทำไม? การกำหนด Best case scenario เพื่อให้เราไม่พลาดโอกาสที่ดีที่สุดถ้าเกิดขึ้นกับบริษัท เราต้องคว้าไว้ได้...รวมถึงสามารถประเมินมูลค่าทั้ง 3 รูปแบบขึ้นใหม่ได้ถ้ามีกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ดีมากๆกับบริษัท (โดยต้องประเมินด้วยว่าเหตุการณ์กระทบพื้นฐานของบริษัทแบบชั่วคราวหรือถาวร ถ้าชั่วคราวแล้วราคาวิ่งไปสูงมากต้องขาย แต่ถ้าพื้นฐานเปลี่ยนแบบถาวรต้องประเมินมูลค่าใหม่และถือต่อ) เพราะบางครั้งราคาหุ้นวิ่งอย่างรุนแรงก่อนที่จะมีการประกาศข่าวดีอย่างเป็นทางการ ดังนั้นต้องถามตัวเองว่า...ราคาวิ่งรุนแรงครั้งนี้จะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงพื้นฐานในทางที่ดีขึ้นที่เราเคยคาดไว้หรือไม่?
การประเมินความเสี่ยงในกรณีเข้าถือผมได้พูดไปแล้วในกรณีรูปแบบ conservative ต่อมาจะประเมินความเสี่ยงในกรณีที่ต้องขาย นั่นคือเราพบว่าในภายหลังว่าเหตุผลของการเข้าถือไม่เป็นไปตามคาดในระยะยาว เช่น บริษัทไม่เติบโตอีกต่อไปแล้ว รายได้ลุ่มๆดอนๆไม่สม่ำเสมอ ผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์ ความต้องการสินค้าและบริการลดลงเรื่อยๆ เป็นต้น
4. การประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation)
เมื่อเราคิดรูปแบบที่เป็นไปได้ 3 รูปแบบ ผมจะมานั่งคิดมูลค่าที่เป็นไปได้ในแต่ละรูปแบบ โดยใช้วิธี
4.1 ขนาด Market Cap โดยจะมีการเปรียบเทียบบริษัทชนิดเดียวกันกับตลาดต่างประเทศว่าบริษัทชนิดนี้ควรจะมี Market Cap ขนาดไหน เนื่องจากการดูอัตราส่วนทางการเงินเพียงอย่างเดียวจะทำให้พลาดโอกาสที่จะมองเห็นอนาคตของบริษัท เนื่องจากการซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคตของบริษัท บริษัทที่จะมีอนาคตได้นั้นต้องประเมินจากปัจจัยเชิงคุณภาพในปัจจุบันมากกว่าที่จะประเมินปัจจัยเชิงปริมาณ ถ้าบริษัทมีพื้นฐานที่ดีเยี่ยมใน 3 ข้อที่ผมกล่าวมา อัตราส่วนทางการเงินสวยๆจะตามมาเอง ถ้า Market cap ของบริษัทไทยกับอเมริกาแตกต่างกันมากๆเป็นสิบๆเท่า โดยที่บริษัทไทยอยู่ในช่วงเติบโตตามรอยของอเมริกาก็ให้พิจารณาเข้าซื้อได้ (แม้ว่าPE จะสูงลิบลิ่วก็ไม่เป็นไร)
4.2 Forward PE ratio เป็นการมองกำไรในรอบ 1 ปีข้างหน้าเพื่อมาหาสัดส่วน price per earning ในอนาคตของราคาในปัจจุบันเพื่อหาว่าหุ้นยังน่าลงทุนหรือไม่ การดู PE ต้องดูอนาคตเท่านั้น เพราะการยึดปัจจุบันและอดีตจะทำให้พลาดได้ โดยเฉพาะบริษัทที่กำไรไม่สม่ำเสมอ เราอาจจะเข้าซื้อตอน PE ต่ำ แต่นั่นคือดอยแล้วเพราะถัดจากนี้ไปคือช่วงขาลงของบริษัทที่กำไรมีแต่จะลดลง ทำให้ Forward PE สูงลิบลิ่ว...การที่ไม่ซื้อหุ้น PE สูงๆโดยที่ไม่ดูข้อมูลเชิงคุณภาพจะทำให้พลาดได้ เพราะการที่พื้นฐานของบริษัทดีขึ้นเรื่อยๆจะทำให้รายได้และกำไรเพิ่ม และนำมาซึ่ง Forward PE ซึ่งนับวันจะลดลงเรื่อยๆ และเป็นหุ้นราคาถูกที่คนมองข้ามเพียงเพราะ PE สูงในปัจจุบัน
โดยการกำหนด PE ของบริษัทที่ควรจะเป็นให้ใช้ค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังของบริษัท อย่าไปเที่ยวต่อว่าตลาดว่าทำไมให้ PE น้อยจัง นั่นเพราะแต่ละธุรกิจมีโอกาสและความเสี่ยงต่างกัน การเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันบางครั้งยังไม่ควรทำเลยด้วยซ้ำ...ผมไม่เคยหวัง Capital gain จากการปรับ PE ของตลาดเลย (ถ้ามีก็เป็นเพียงของแถมเท่านั้น) สิ่งที่หวังได้คือ ราคาหุ้นเพิ่มตามกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
4.3 การทำ DCF การประเมินมูลค่าแบบ DCF เป็นการประเมินที่ต้องใช้ตัวแปรหลายปัจจัยซึ่งอาจจะนำมาถึงตัวเลขที่แตกต่างกันมากๆได้...อย่างไรก็ตามผมมักจะคิดDCF ไว้หลายๆแบบเพื่อ recheck การประเมินมูลค่าแบบ Market caps และ Forward PE โดยบริษัทที่ผมจะใช้ DCF ผมจะต้องคาดการณ์อนาคตของบริษัทได้ค่อนข้างแน่นอน
4.4 ประเมิน PBV ผมจะเอาไว้ใช้กับหุ้น cycle ขาลง และหุ้น Asset play (ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ใช่ความถนัดของผม แต่ก็เล่นบ้างถ้ามีโอกาสและปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้นที่ชัดเจน)
5. ประเมินปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้น (Driver)
ราคาหุ้นจะนิ่งสนิทอยู่แบบนั้นถ้าไม่มีปัจจัยมาขับดัน ยกตัวอย่าง driver ที่ผมจะชอบใช้นะครับ
5.1 รายได้เพิ่ม กำไรเพิ่ม ... กรณีนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งหุ้นเติบโตที่วิ่งไปได้ไกลในระยะยาวก็เพราะปัจจัยขับเคลื่อนข้อนี้เป็นหลัก
5.2 ปันผลเพิ่ม ... นั่นคือเงินถึงมือผู้ถือหุ้นมากขึ้น ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบอื่นๆ เช่น เงินฝากระยะยาว พันธบัตร หุ้นกู้ และเปอร์เซ็นต์ของปันผลสูงมากๆราคาจะวิ่งแน่นอน เพราะเงินจะไหลสู่สินทรัพย์ที่ผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่ความเสี่ยงต่ำที่สุด ยิ่งถ้าเงินปันผลที่เพิ่มมาจากกำไรจากการดำเนินงาน(Operating profit) ที่เพิ่มขึ้นมั่นใจได้เลยว่าราคาไปได้อีกไกลแน่ หรือแม้แต่กรณีที่เงินสดเหลือมากๆแล้วปันผลพิเศษก็ทำให้ราคาหุ้นวิ่งอย่างรุนแรงได้เหมือนกัน
5.3 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบริษัท (Structural change) เช่น การขายบริษัทที่ขาดทุนออกไป, การปรับเปลี่ยนการเก็บสต๊อกที่สั้นลง, การควบรวมหรือเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่จะส่งเสริมกิจการซึ่งกันและกัน, โดยเหตุการณ์เหล่านี้มีผลต่อผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตของบริษัท ราคาหุ้นก็จะวิ่ง
5.4 การเปลี่ยนแปลงตัวเลขทางบัญชี เช่น Gross profit margin สูงขึ้น โดยอาจจะมาจากการเพิ่มขายสินค้าที่มี margin สูงในสัดส่วนที่สูงขึ้น อาจจะการที่บริหารจัดการต้นทุนได้ถูกลงเรื่อยๆ อาจจะมาจากค่าเงินบาทแข็งขึ้นทำให้นำเขาสินค้าได้ถูกลง, หรือ Net profit margin สูงขึ้น อาจจะมาจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลดลงเพราะบริษัทไม่ต้องกู้เนื่องจากสามารถใช้เครดิตสต๊อกสินค้าได้ มีเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาชำระหนี้เงินกู้ การที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีให้ การเกิด Economy of scale เป็นต้น
6. การมองเศรษฐกิจภาพรวมที่มีผลต่อธุรกิจที่เราสนใจ
การมองและเลือกหุ้นในอุตสาหกรรมที่กำลังโตเป็นการมองจากภาพรวม (Top down) หลังจากที่เราเลือกบริษัทที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว ผมจะมองว่าเศรษฐกิจปัจจุบันมีผลอย่างไรบ้างกับบริษัทที่เลือก (Down top) ซึ่งบริษัทที่ดีมากๆ เศรษฐกิจโดยรวมควรจะมีผลต่อบริษัทน้อยมากๆ (แต่ไม่มีทางที่จะไม่มีผลเลย) ซึ่งผมเรียกการประเมินทั้งหมดว่า Top down and Down top recheck เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนทั้งบริษัทและองค์ประกอบโดยรอบ
เหมือนเมล็ดพันธ์จะเติบโตได้ต้องอาศัยดินที่ดี มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่นกัน ... บริษัทที่ดีถ้าได้อยู่ในองค์ประกอบที่ดี ย่อมนำมาซึ่งการเติบโตที่แข็งแรงได้
แต่ไม่ใช่ว่าจะให้ความสนใจกับ Macroeconomic มากเกินไป ให้สนใจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น...เพราะไม่ใช่ทุกปัจจัยที่จะมีผลต่อบริษัทที่เราถือ แม้ว่าจะมีวิกฤตเศรษฐกิจแต่บางบริษัทก็ยังเติบโตได้ นั่นคือมีโอกาสในทุกสถาณการณ์ขึ้นอยู่กับเราว่าจะมองเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง...
ตัวเลขที่น่าสนใจคือ ดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยเงินกู้ (มีผลต่อธุรกิจ ลูกค้าที่ใช้การผ่อนชำระ แบงค์) ดอกเบี้ยเงินฝากหุ้นกู้พันธบัตร (มีผลต่อการเลือกตัดสินใจลงทุน) ค่าเงินบาท (มีผลต่อธุรกิจที่ต้องนำเข้าหรือส่งออก) ราคาทองคำและUSD index (มีผลต่อการทำ Asset Allocation ของพวกกองทุนต่างชาติ – อันนี้จะเป็นเรื่อง Fundflow เดี๋ยวค่อยมาว่ากันอีกที) ตัวเลขการซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถยนต์ใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ความเชื่อมั่นในการใช้เงิน) ราคาน้ำมัน (เป็นต้นทุนของหลายๆธุรกิจ) เป็นต้น (เฉพาะเรื่องนี้เขียนได้อีกเรื่องนึงเต็มๆ)
ปล. ตอนแรกตั้งใจว่าจะให้จบในตอนนี้แต่กลับไม่จบแฮะ...ต่ออาทิตย์หน้าละกันครับ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น