โดย พงศกร
ขอถือโอกาสที่กลับมาเขียนบทความอีกครั้ง... แชร์ประสบการณ์ในตลาดหุ้นของตัวเองหลังจากลงทุนมาครบ 2 ปี
ผมเข้าตลาดหุ้นช่วงต้นปี 52 หลังเกิดวิกฤต subprime ตอนนั้นรู้แต่ว่าตลาดหุ้นตกหนักมาก ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเพราะอะไร? มารู้ทีหลังว่าบริษัท Lehman Brother ล้มละลาย ... ตอนนั้นผมไม่รู้เลยว่าหุ้นเล่นแบบไหน ต้องซื้อขายยังงัย บริษัทอะไรทำกิจการอะไรไม่รู้เลย เรียกว่าในหัวกลวงโบ๋...รอบตัวผมและคนที่รู้จักไม่มีใครเล่นหุ้นเป็นซักคน แต่ผมรู้ว่านี่คือโอกาสทองที่หาได้ยากยิ่ง...
ผมพยายามใช้การถามคนใกล้ตัวที่พอรู้จัก...โชคดีที่มีผู้ใหญ่ที่ผมเคารพมากท่านนึงแนะนำให้ไปอ่านหนังสือของ Warren Buffet ตอนนั้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาคือใคร? ทุกวันนี้ยังขอบคุณผู้ใหญ่ท่านนั้นอยู่เลย แม้ว่าสไตส์การลงทุนจะไม่เหมือนกันก็ตาม (ของท่านจะเล่นแต่ Bigcaps พวก PTT Family)
ช่วงที่ไปเปิดพอร์ตจำได้ว่า...สายตามาร์เก็ตติ้งดูถูกมาก เพราะผมบอกว่าผมยังไม่รู้อะไรเลย บอกว่าให้ผมไปศึกษามาก่อนปีนึง ตอนนั้นผมบอกเค้าไปว่า...หุ้นอสังหามาแน่... มาร์เก็ตติ้งไม่เชื่อ(ตอนนี้คงเจ็บใจน่าดู555)...ผมก็เลยไม่เปิดพอร์ตกับโบรกนั้นเลย (สาเหตุที่ผมบอกเรื่องอสังหามาแน่ตอนนั้นไม่ใช่ว่าผมเซียนอะไร...แต่หมอดูเคยบอกว่าผมมีดวงด้านอสังหา 555...แต่ตอนนี้ผมไม่เชื่อเรื่องดวงแล้ว เชื่อเรื่องการกระทำ การสร้างเหตุที่ดีมากกว่า)
สุดท้ายถึงได้มาเปิดพอร์ตกับกิมเอ็ง...กับมาร์เก็ตติ้งที่ยังดูแลถึงปัจจุบัน ด้วยเงิน 2 แสนบาท
แรกๆที่เริ่มเข้าตลาดยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า PE ratio คืออะไร? ดูแต่ชื่อหุ้นกับราคา...ตัวไหนชื่อดังก็ชื้อตัวนั้น...และก็เจอดีกับ land and house ขาดทุนทีเดียว 8 หมื่นบาท ในช่วงที่ตลาดลงไปแตะ 400 จุดในเดือนมีนาคม ตอนนั้นทุกข์ใจและกระสับกระส่ายมากเพราะเงิน 8 หมื่นกว่าจะหาได้ต้องทำงานเป็นครึ่งปี แต่ก็ไม่ได้ยอมแพ้... ได้ไปซื้อหนังสือทุกเล่มที่มีชื่อ Warren Buffet มาอ่าน เล่มแรกที่อ่านแล้วคิดว่าดีคือ Buffetology เป็นหนังสือที่เปิดโลกทัศน์อย่างมากสำหรับคนที่ไม่รู้อะไรเลยอย่างผม...
หลังจากนั้นผมได้ศึกษาพื้นฐานของหุ้นอย่างจริงจัง...ในเวลาว่างที่พอจะมีบ้างของการเรียนต่อแพทย์ประจำบ้าน
ผมพบว่า...การเล่นหุ้นจริงๆแล้วไม่ใช่การพนันแบบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน (ทุกวันนี้ยังเปลี่ยนความเชื่อของคนใกล้ตัวหลายๆคนไม่ได้เลย) แต่การชื้อหุ้นคือการเป็นเจ้าของธุรกิจตามสัดส่วนการถือหุ้น ประสบการณ์ที่เห็นที่บ้านทำธุรกิจและความที่ผมเป็นคนชอบวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการค้าจึงนำมาใช้กับการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานแบบเน้นคุณค่า(Value investment) ในแบบที่เรียกว่ากลมเกลือนได้ทันที เรื่องการเล่นหุ้นผมเริ่มต้นจาก 0 แต่เรื่องกลยุทธ์ทางธุรกิจผมไม่ได้เริ่มต้นจาก 0 เหมือนคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทางธุรกิจมาก่อน...(ผมเคยทำบัญชี ส่งของ พบปะลูกค้า วิเคราะห์กลยุทธ์ให้กับธุรกิจทางบ้าน รวมถึงชอบเรื่องเล่นเกมส์ทุกชนิดโดยเฉพาะโกะ ชอบเรียน Physicและ Math เป็น Physic Olympics ที่7 รอบคัดตัวแทน)
แรกๆผมต้องต่อสู้กับความเชื่อของทางบ้านที่ไม่ยอมรับการลงทุนในหุ้น (ทุกวันนี้ทางบ้านก็ยังไม่ยอมรับ...แต่ก็ดีขึ้นบ้างหลังจากที่พอร์ตผมโต 7- 8 เท่าจากเงินเก็บทั้งหมด) ต้องเล่นโดยไม่ให้ที่บ้านรู้ในตอนแรกๆ ..และผมไม่สามารถเอาเงินเก็บ 1 ล้านบาทมาลงทุนในหุ้นได้เลย แม้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเงินที่ผมทำงานหามาด้วยตัวเองและเก็บออมเป็นเวลา 3 ปีเต็ม โดยยอมอดใจที่จะไม่ซื้อรถยนต์ใหม่ๆเท่ห์เหมือนคนอื่นๆ...หลังจากที่พอร์ตหลักแสนโตเป็นพอร์ตหลักล้าน(ช่วงปี 53) ทางบ้านจึงพอยอมรับบ้าง ผมจึงนำเงินทั้งหมด 1 ล้านมาบวกกับพอร์ตปีแรกและลงทุนต่อในปี 53...
ในปีแรกที่พอร์ตหลักแสนและยังไม่มีใครเห็นโอกาส ผมพยายามทุกวิถีทางที่นำเงินมาลงทุน รับงานตรวจ OPD เบอร์ 9 อยู่เวรทุกอย่างที่กำลังกายพอจะมี โดยที่การเรียนและงานประจำต้องไม่เสียแม้แต่น้อย... เพื่อโอกาสที่มีแต่ผมที่มองเห็นในตอนนั้น
ในช่วงแรกผมใช้การลงทุนในหุ้น PE ต่ำเป็นหลัก...ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นวัฏจักรที่ราคาติดดิน (PBV ต่ำ) เช่น STANLY AMATA เพราะมองว่าหุ้นเหล่านี้เมื่อเศรษฐกิจพื้นตัวราคาหุ้นน่าจะกลับไปอยู่ที่เดิมได้ รวมถึง PM ที่ตอนนั้นผมมองว่าเป็นหุ้น turnaround PE ต่ำมาก...ผมเข้าเพราะเชื่อว่ากำไรน่าจะต่อเนื่องล้างขาดทุนสะสมได้หมด...
สุดท้ายผมพบว่า...ผมคิดผิดกับ PM ตอนนั้นผมคิดว่าถ้าล้างขาดทุนสะสมหมดราคาต้องไปเหนือ IPO แน่ๆ...แต่กลับไม่ใช่ หุ้น PE ต่ำยังงัยมันก็จะต่ำอยู่อย่างนั้น ถ้าตราบใดมันไม่มีการ”เติบโต” ...ไม่มีปัจจัยมาขับเคลื่อนราคาหุ้น (อย่างไรก็ตามผมได้กำไรจาก PM > 50% โดยยังไม่รวมปันผล)
จากบทเรียนครั้งนั้นผมจึงสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่...แค่ธุรกิจมั่นคง กำไรสม่ำเสมอไม่พอ...ต้องมีการ”เติบโตของกำไร”ด้วย
และนั่นเป็นโครงสร้างหลักของแนวคิดการลงทุนของผมจนถึงทุกวันนี้...
แนวทางการลงทุนของผม
1. ลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตสูง รายได้เติบโตมากกว่า 20% ต่อปี
- ผมจะเน้นหุ้นโตเร็วเกือบทั้งพอร์ต อาจจะมีหุ้นวัฏจักรบ้าง (เดี๋ยวจะเขียนเรื่องหุ้นวัฏจักรอีกครั้ง) สาเหตุที่ผมเน้นหุ้นโตเร็วเพราะ...
1.1 หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่สร้างผลตอบแทนได้สูงที่สุด (แต่ของตลาดไทยน่าจะเป็นหุ้นวัฏจักรมากกว่า) ราคาหุ้นจะไปตามกำไรของบริษัท ถ้ากำไรเพิ่มราคาหุ้นจะเพิ่มตาม อย่างน้อยก็ในระยะยาว (ระยะสั้นจะตามอารมณ์ตลาด...ต้องมีเวลาเกาะติดสถานการณ์มากพอควรซึ่งผมไม่มีเวลา) ปัจจัยที่ drive ราคาหุ้นมีชัดเจนคือ กำไรที่เพิ่มขึ้น ปันผลที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตขึ้นแล้วข่าวดีก็จะไหลเข้ามาๆ...ผมไม่ต้องเสียเวลาและเปลืองตัวเชียร์หุ้นเลยแม้แต่น้อย รอแค่เวลาเหมาะสมเท่านั้นเอง
1.2 หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่ถือยาวได้...ไม่ต้องซื้อขายบ่อยๆ (อาจจะมีการทำ partial short against port ไปบ้างถ้ามีเวลา)...เพราะจะมีผลตอนที่พอร์ตขนาดใหญ่ขึ้นมากๆ ถ้าต้องซื้อขายบ่อยๆจะเสียเวลาปรับพอร์ต เสียค่าคอม ต้องเข้าๆออกๆซึ่งไม่ใช่วิธีให้เงินทำงานเลย ทำงานให้เงินซะมากกว่า ยิ่งถ้าไปลงทุนต่างประเทศจะมีการเก็บภาษี capital gain ซึ่งไม่เป็นผลดีกับผลตอบแทนของพอร์ตเลย) รวมถึงไม่สนว่าดัชนีจะขึ้นหรือลง ฝรั่งจะมาหรือไป...ขอแค่รายได้เติบโต กำไรเติบโต พื้นฐานดีขึ้นเรื่อยๆก็ถือต่อ หุ้นลงหนักๆก็ปรับพอร์ตเข้าช้อน มีเวลาไปทำสิ่งดีๆ พักผ่อนเที่ยวเล่น อยู่กับคนที่เรารัก สร้างสิ่งดีๆให้กับสังคมได้อีกมาก
1.3 หุ้นเติบโตเร็วต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์สูง...นั่นทำให้คู่แข่งของผมเหลือน้อยลง โดยเฉพาะการอ่านเกมส์ที่มากกว่า 1 ปีขึ้นไป เพราะไม่มีใครรู้ว่าบริษัทที่คาดว่าจะเติบโตเร็วจะเป็นไปได้ตามที่คาดหรือไม่ หุ้นเติบโตหลายๆตัว PE สูงลิบลิ่ว...นักลงทุนหลายๆคนจึงกลัวหุ้นชนิดนี้ แต่ผมมองว่าท้าทายความสามารถเพราะต้องอ่านธุรกิจทั้งระบบว่าอุตสาหกรรมไหนเติบโต...และเติบโตมาจากความต้องการส่วนไหนของสังคม สังคมจะมุ่งหน้าไปทางไหนเพราะอะไร นวัตกรรมไหนที่กำลังขับเคลื่อนสังคม ธุรกิจนี้มีจุดแข็งที่เหนือกว่าธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างไร ความเป็นไปได้ที่ธุรกิจนี้จะเติบโตมีกี่เปอร์เซ็นต์ ความเสี่ยงคืออะไร เป็นต้น (เฉพาะหัวข้อนี้น่าจะขยายได้หลายบทความ)
1.4 หุ้นเติบโตต้องใช้ความมั่นคงทางจิตใจค่อนข้างมากในการถือเพราะราคาจะผันผวนกว่าหุ้นทั่วไปมาก ราคาอาจจะแกว่ง+/- 30 เปอร์เซ็นต์ได้ไม่ยากเลย ถ้าจิตใจไม่มั่นคงพอก็ถือไม่ไหว (แต่ในจะยะยาวจะ outperform market ตลอด) ยิ่งช่วงแรกๆที่ถือจะถูกกระแนะกระแหนค่อนข้างมาก...แต่เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าหุ้นตัวนี้คนยังสนใจน้อยและราคายังถูกอยู่ ตอนหลังๆเลยไม่ชอบบอกใครว่าถือหุ้นตัวไหนอยู่
2. รายละเอียดของหุ้นโตเร็วที่ผมจะเข้าถือ...
2.1 บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต(Growth story)...ซึ่งประเมินจาก Life style ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ...เมื่อก่อนเวลาว่างคนพักผ่อนอยู่กับบ้าน เดี๋ยวนี้ต้องออกไปเดินห้าง...เมื่อก่อนมือถือต้องเป็นคนที่มีสตางค์ใช้เท่านั้นเดี๋ยวนี้ใครๆก็มีมือถือ...เมื่อก่อนคนฮิตโนเกีย 3310 เดี๋ยวนี้ต้อง smartphone...เมื่อก่อนคนซื้อของตามร้านของชำแถวบ้าน เดี๋ยวนี้ต้องเข้า modern trade...เมื่อก่อนคนชอบซื้อของโดยใช้เงินสด เดี๋ยวนี้หันมาใช้บัตรเครดิตมากขึ้น...เมื่อก่อนคนส่งเมลหากัน เดี๋ยวนี้ต้อง social network...เป็นต้น (ที่จริงยังมีอีกมาก)
ซึ่งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ทั้งหลายเหล่านี้ได้สร้าง demand ให้กับหลายๆธุรกิจ และมีธุรกิจที่เติบโตภายได้ supply chain ที่เกิดจาก demand chain นั้นๆ
พอเรามองเห็นกระแสสังคมที่กำลังมุ่งหน้าไป เราก็จะรู้ว่าอุตสาหกรรมไหนกำลังมา...การลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังโตจะดูง่ายกว่าการหาบริษัทที่ดีในอุตสาหกรรมที่ไม่โตแล้ว เพราะบริษัทจะออกแรงเพียงครึ่งเดียวในการเติบโต อีกครึ่งที่เหลือกระแสสังคมจะเป็นตัวขับเคลื่อนไปให้...
แล้วเราก็เลือกซื้อบริษัทที่ดีที่สุด (or upside ดีที่สุด) ในอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยที่ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์มองเห็นการเติบโตที่ชัดเจนแบบ conservative และ advance ถ้าผู้บริหารไม่มีวิสัยทัศน์มองไม่เห็นโอกาสผมจะไม่ถือเพราะถึงแม้อุตสาหกรรมโตแต่บริษัทคงไม่สามารถฉกฉวยโอกาสได้
(...แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆอย่างเดียว...อุตสาหกรรมเก่าๆก็สามารถเติบโตได้เช่นกัน ภายใต้ demand trendนี้ ยกตัวอย่าง เช่น กระเบื้องเติบโตตามอุตสาหกรรมสร้างบ้าน ซ่อมบ้าน แม้ว่าจะเป็นธุรกิจเก่า หรือเพชรเติบโตตามวิถีชีวิตสาวโสดและคนหันมาลงทุนในอัญมณีมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นธุรกิจเก่า...เพียงแต่บริษัทที่เราจะเลือกต้องเติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรมโดยรวมจากความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า)
2.2 ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท (Durable competitive advantage)
การเลือกบริษัท ต้องเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงในระยะยาว...เพราะไม่งั้นอาจจะล้มหายตายจากไปก่อนจากการแข่งขันที่รุนแรง นั่นคือบริษัทต้องมีความได้เปรียบบางอย่าง เช่น
- ตราสินค้า (Brand) เป็นที่นิยม สามารถครองใจลูกค้าไว้ได้ ลูกค้าไม่ค่อยเกี่ยงราคาทำให้สามารถตั้งราคาขายสูงขึ้นได้ มี mind share ในใจลูกค้าสูง แล้ว market share จะตามมาเอง บริษัทจะเป็นตัวเลือกแรกๆหรือตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียวในการให้บริการสินค้านั้นๆ
- ต้นทุนถูกกว่ารายอื่นๆ ทำให้ตั้งราคาขายได้ต่ำกว่า...ลูกค้าจะเลือกของที่ถูกกว่าถ้าคุณภาพเท่ากัน ซึ่งการควบคุมต้นทุนทำได้หลายวิธี เช่น การมี Economy of scale ที่ยอดขาย break even point โดยที่เลย fixed cost ไปเรื่อยๆ ขณะที่ variable cost เพิ่มไม่มากนัก และยอดขายที่เพิ่มขึ้นทำให้การสั่งของจาก supplier ทำได้มากขึ้นและต่อราคาต้นทุนได้ถูกลงอีกไปเรื่อยๆ หรือ การที่มี innovation หรือ management บางอย่างที่บริษัททำได้ดีกว่ารายอื่นๆ ทำให้ลดงานซ้ำซ้อน ลดคนงาน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้มาก
- การบริหารจัดการ (Management) และประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งรายอื่นๆอย่างชัดเจน
ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) จะเป็นตัวบอกว่า การเติบโตที่คาดการณ์นั้นเป็นไปได้หรือไม่!!! นี่แหละ key point
2.3 กระแสเงินสดยอดเยี่ยม (good Cash flow)
บริษัทที่มีการไหลเวียนของกระแสเงินสดไม่ดี จะทำให้การเติบโตหยุดชะงักและต้องเพิ่มทุน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นเลย บริษัทที่ดีต้องใช้เงินลงทุนน้อย ลงทุนไม่บ่อย แต่ลงทุนแล้วสามารถสร้างผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้มาก...ค้าขายรับเป็นเงินสด(หรือเงินเชื่อที่ใช้เวลาเก็บไม่นาน หนี้สูญน้อย)...ค้าขายกับEnd customer ที่มีอำนาจการต่อรองน้อย...ค้าขายกับรายใหญ่ที่มีประวัติการจ่ายเงินชัดเจนและตรงเวลา ซื้อของเป็นเงินเชื่อ...ทำให้เหลือเงินสดไว้ทำอย่างอื่นได้อีกมาก เช่น จ่ายปันผล ซื้อหุ้นคืน หรือ ลงทุนต่อเนื่อง
ถ้าบริษัทไหนมีคุณสมบัติเข้าได้กับ 3 ข้อนี้ก็เก็บไว้ใน list และจับตาดูเอาไว้...
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆในblog ..โดยเฉพาะแนวทางที่ได้จากประสบการณ์จริงนี้ช่วยให้มือใหม่ได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นครับ
ตอบลบขอบคุณคุณ Pathfinder เช่นกันครับ
ตอบลบ:D
ขอบคุณนะครับ บทความคุณสร้างแรงบันดาลใจให้ผม ส่วนตัวผมพึ่งเริ่มลงทุน จะตดตามเรื่อย ๆ ครับ
ตอบลบขอบคุณคุณ nopgood เช่นกันนะครับ :D
ตอบลบ