เวลาที่เราจะเข้าพักอาศัยในอาคารสูง ไปเดินห้างสรรพสินค้า นอกจากการเพลิดเพลินชมสิ่งสวยงาม เครื่องเรือนทันสมัยในตัวอาคารแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราควรจะทำคือ “สังเกตทางหนีไฟ”
เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟใหม้ หรือแม้แต่เกิดการระเบิดในตัวอาคาร คนที่เตรียมพร้อมในการออกจากตัวอาคารคือคนที่รอดตาย โดยผ่านทางหนีไฟที่พวกเขาเห็นก่อนหน้าที่ไฟจะใหม้
ในการทำสงครามนั้นจะมีทั้งการบุกและการตั้งรับ เมื่อกองกำลังของเราได้เปรียบ เราอาจจจะทำการบุก เมื่อกองกำลังของเราเสียเปรียบเราอาจจะทำการตั้งรับ หรือแม้กระทั่งหนีให้เป็นเพื่อเอาชีวิตรอดมาต่อสู้ใหม่
36 กลยุทธ์ จึงมีกลศึกสุดท้ายคือ “หนีคือสุดยอดกลยุทธ์”
ดังนั้นเราจะมาคุยกันถึงกลยุทธ์การถอยในการลงทุนกันครับ
ยุทธศาสตร์ทางออก (หรือ Exit Strategy) ของการลงทุนในหุ้นเติบโต
เวลาที่นักเดินป่าเข้าในในป่าที่เป็นเขาวงกตและติดอยู่ในนั้นเป็นเวลานาน เข็มทิศไม่สามารถใช้การได้ พวกเขาไม่สามารถหาทางออกได้เลย เพราะจริงๆแล้วทางออกที่พวกเขาตามหาไม่ได้มีอยู่
ทางออกที่จริงอยู่ที่ทางเข้านั่นเอง !!
ในการลงทุนก็เช่นกัน ก่อนที่เราจะทำการเข้าลงทุนซื้อหุ้น เราต้องประเมินทางถอยไปพร้อมกันตั้งแต่เราเข้าซื้อแล้ว ...ว่าหุ้นตัวนี้เราจะขายเมื่อไร?
“ซื้อเพราะเหตุผลไหน ให้ขายด้วยเหตุผลนั้น” ยังเป็น quote ที่ใช้ได้อยู่เสมอ
เราจะเข้าซื้อหุ้นเติบโตเพราะ บริษัทมีพื้นฐานที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันสูงหรือคู่แข่งน้อย อุตสาหกรรมโดยรวมอาจจะมีการเติบโต (แต่บริษัทจะโตด้วยอัตราสูงกว่า) ส่งผลต่อรายได้และกำไรของบริษัทที่จะเพิ่มตามมาเรื่อยๆในอนาคตระยะยาวหลายปี ราคาที่เข้าซื้อต้องถูกหรือเป็นราคาที่สมเหตุสมผล มี margin of safety มากพอ โดยมีสมมุติฐานว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นตามกำไรและกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของบริษัท
ดังนั้นเมื่อมองจากการเหตุผลของการเข้าซื้อ เราจะเริ่มเห็นแล้วว่าจะขายหุ้นเมื่อไร...
โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนหุ้นเติบโตจะขายหุ้นเมื่อ
1. ธุรกิจเข้าสู่จุดอิ่มตัว ไม่มีโอกาสในการเติบโตแล้ว (ธุรกิจถึง room of growth แล้ว) แม้ว่ารายได้และกำไรยังมั่นคงอยู่ก็ตาม แต่โอกาสการเพิ่มของราคาตามกำไรที่เพิ่มขึ้นทำได้ลำบากแล้ว ถ้าถือต่อจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นปันผลแทน
2. เจอหุ้นเติบโตตัวอื่นที่ดีกว่า มี upside สูงกว่าเดิมมาก, กำไรคาดหวัง (expected profit) สูงกว่าหุ้นตัวเดิมมาก (ที่พูดถึงกำไรคาดหวังเพราะเป็นการมอง downside ร่วมไปด้วย)
3. พื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ธุรกิจหมดศักยภาพในการเติบโตระยะยาวแล้ว แม้ว่ากำไรอาจจะเพิ่มได้ในระยะสั้นๆช่วง 1 - 2 ปี
4. ราคาแพงมาก ราคาถึงหรือเกินค่า room of growth ไปมาก เมื่อคิดจากพื้นฐานและศักยภาพที่ดีที่สุดที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับบริษัท (อ่านเพิ่มเติมในบทความเพดานของการเติบโตนะครับ)
เราไม่ได้ขายหุ้นเติบโตเพราะ...
1. ราคาลงอย่างหนักโดยที่พื้นฐานยังเหมือนเดิม การเติบโตของกำไรในระยะยาวยังเหมือนเดิม
- เพราะแม้ว่าราคาในระยะสั้นจะปรับลดลงมาก แต่การที่อนาคตของบริษัทยังสดใส อาจจะทำให้ราคาดีดกลับมาทำ New high เมื่อไรก็ได้ (ที่ตลาดเริ่มหาย panic และกลับมามีสติ) ถ้าเราขายหุ้นออกไปก่อน อาจจะเสียโอกาสในการรับกลับได้ โดยเฉพาะถ้าพอร์ตเราใหญ่เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายของหุ้นและต้องใช้เวลาพอสมควรในการเก็บหุ้น อาจจะเก็บไม่ทันตลาด ยิ่งกรณีตลาดในต่างประเทศที่ไม่มี ceiling และ floor ราคาแกว่งด้วย range ที่กว้างขึ้น การคาดเดาการเคลื่อนไหวของราคายิ่งทำได้ลำบากขึ้น
- การที่ตลาดโดยรวมลงอย่างหนักถือเป็นโอกาสทองในการเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ต เหมือนที่ปู่ Buffet เข้าซื้อหุ้นโค้ก ช่วงที่ตลาดหุ้นอเมริกาเกิด panic sell ปี 1987 ครับ
(ยกเว้นกรณีที่พอร์ตเรายังเล็กและเข้าออกได้ในการซื้อขายไม่กี่ครั้ง โดยที่ราคายังไม่รับข่าวร้ายเต็มที่ อาจจะทำ Short against port ได้ ถ้ามั่นใจในจังหวะการซื้อขายของตนเองครับ)
2. ราคาถึงเป้าหมาย (Target price) เต็มมูลค่าของปีนั้น แต่การเติบโตยังดำเนินต่อไป และยังมี growth potential อยู่อีกมาก
- ถ้ากำไรที่มาจาการดำเนินงานยังเติบโตไปได้เรื่อยๆ ราคาหุ้นก็จะทำ New high ได้เรื่อยๆเช่นกันครับ
3. ธุรกิจเผชิญปัญหาชั่วคราวบางอย่างที่แก้ไขได้ หรือกำไรลดลงแค่บางไตรมาสบางปี แต่ศักยภาพบริษัทในการเติบโตยังล้นเหลือ
- ถ้ากำไรลดลงบางไตรมาสหรือบางปี โดยที่ศักยภาพของธุรกิจยังดีอยู่ในระยะยาว จะเป็นโอกาสที่ดีของการเข้าซื้อมากกว่าโอกาสขายครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้กำไรเติบโตทุกไตรมาส เช่น อาจจะมีปัจจัยด้านฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับยอดขาย
ซึ่งการที่หุ้นเติบโตที่มีอนาคตสดใสจะมีราคาลดลงอย่างรุนแรงโดยที่พื้นฐานยังเหมือนเดิมมาจาก 2 กรณี
1. ตลาดเกิด panic sell อย่างรุนแรง
- เวลาดัชนีตลาดลงแรงๆเมื่อมีข่าวไม่คาดฝันเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ตลาดจะไม่สนใจว่าพื้นฐานดีหรือไม่ หุ้นเกือบทุกตัวราคาลดลงหมด ผู้คนแห่กันเทขายตามกันเพราะไม่อยากขาดทุนทั้งกำไรและขาดทุนจริงๆ (Herd behavior and loss aversion) ในสมองทุกคนจะมีแต่คำว่า ”ขาย!!!” คนที่ถือโดยใช้เงินกู้หรือบัญชีมาร์จิ้นเมื่อราคาลดลงถึงจุดหนึ่งก็จะถูกบังคับขาย (Force sell) ทำให้ราคาลดลงไปเรื่อยๆ และเกิดกระบวนการเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมา นักทำ Short sell เมื่อเห็นราคาหุ้นลดลงและมีแนวโน้มจะลงต่อ ก็จะเข้ามาทำ short sell ราคาก็ลดลงไปอีก จนกระทั่งคนที่ถือหุ้นที่คิดจะขายได้ขายไปจนหมดแล้ว เหลือแต่คนที่คิดจะซื้อหรือถือหุ้นราคาถึงจะหยุดไหลลง และเริ่มนิ่ง
- นี่คือโอกาสทองในการซื้อเก็บหุ้นเติบโตดีๆเข้าพอร์ตครับ
2. ธุรกิจเผชิญปัญหาบางอย่างที่แก้ไขได้
- อาจจะเป็นการยากที่จะแยกได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาชั่วคราวหรือปัญหาถาวรที่จะกระทบปัจจัยการเติบโตของบริษัท แต่นักลงทุนที่แยกได้จะสามารถเก็บหุ้นเติบโตราคาถูกเข้าพอร์ตได้
- ยกตัวอย่าง เช่น การมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (เช่น ค่าปรับจากการถูกฟ้องร้อง) ส่งผลต่อกำไรที่ลดลงหรือถึงขั้นทำให้ขาดทุน แต่ปีต่อมาบริษัทกลับมาทำกำไรได้เหมือนเดิม กรณีนี้ตลาดจะตอบสนองต่อข่าวในระยะสั้นคือกำไรลดมาก ราคาก็จะถูกกดจนติดดินทั้งที่ถ้าดู Forward PE 1-2 ปีอาจจะต่ำมาก หรือกรณีบริษัทย่อยขาดทุนหนักทำให้กำไรลดลง โดยที่ธุรกิจหลักยังแข็งแกร่ง แล้วบริษัทมีแนวโน้มจะขายบริษัทย่อยที่ขาดทุนออกไป เป็นต้น
ปัญหาคือ เมื่อตลาดโดยรวมอยู่ในขาลง (Bear market) หุ้นเติบโตจะถูกกระทบมาก ทั้งจากการลดของกำไรและการลดค่า PE ratio จากตลาด ราคาจึงลงได้มากและลึก ถ้าอย่างนั้นนักลงทุนในหุ้นเติบโตควรจะทำอย่างไรดี?
Philip Fisher ปรมาจารย์การลงทุนแบบ Value investment ท่านหนึ่ง และเป็นนักลงทุนในหุ้นเติบโตชั้นแนวหน้า (Growth investing) ผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดการลงทุนของปู่ Buffet ท่านได้เข้าถือหุ้น Motorola ตั้งแต่ปี 1955 ช่วงที่โลกได้เริ่มมีการใช้การสื่อสารแบบไร้สาย โดยฟิสเชอร์ได้ถือหุ้น Motorola ซึ่งเป็นหุ้นเติบโตชั้นเลิศ ไว้นานถึงสี่สิบกว่าปี จนกระทั่งฟิสเซอร์เสียชีวิต
โดยในระหว่างนั้นมีช่วงที่ราคาหุ้นได้ลดลงจากจุดสูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวฟิสเซอร์ก็ไม่ได้สะทกสะท้านใดๆ ยังคงถือหุ้นต่อไป ไม่ได้ขายหุ้นจนบริษัทกลับมาทำกำไรเติบโตและราคาหุ้นทำ New high ได้อีกครั้ง
คำถามคือ เราควรจะถือหุ้นเติบโตในช่วงที่บริษัทโดนผลกระทบจากปัจจัยมหภาคหรือไม่? (Macroeconomic factor) เหมือนที่ฟิสเซอร์ทำ... (เนื่องจากราคาจะลดลงมาก)
เราคงต้องย้อนกลับมามองปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ว่าถูกกระทบได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากความเข้มแข็งต่อปัจจัยมหภาคไม่เท่ากัน เช่น หุ้นที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคหรือปัจจัย 4 ที่ราคาถูก คนเราถึงเศรษฐกิจตกแค่ไหนก็ต้องการปัจจัย 4 ทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมถึงสินค้าและบริการอื่นๆที่จำเป็น แต่อาจจะลดความฟุ่มเฟือยลง ใช้ประหยัดขึ้น ลดราคาลดปริมาณของที่ใช้ลง ทำให้กำไรโตแต่โตแบบอัตราชะลอตัวลง บางทีกำไรอาจจะไม่โต (แม้แต่หุ้น Defensive อย่างโรงไฟฟ้ากำไรยังลดเลยครับ เพราะคนใช้อย่างประหยัดมากขึ้น)
แต่บางบริษัทอาจจะโตสวนตลาดได้เพราะคู่แข่งรายอื่นๆเจอพิษเศรษฐกิจเข้าไปแล้วล้มไปเพราะความแข็งแกร่งไม่เท่าหุ้นเติบโตที่เราสนใจอยู่ ทำให้บริษัทกิน Market share ได้เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่บริษัทที่ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยแต่ถ้า Demand ยังไม่ตก กำไรก็อาจจะยังโตได้อยู่ครับ
อย่างช่วง Subprime ที่ผ่านมาหลายๆบริษัทก็ไม่ได้มีกำไรลดลงแต่กลับโตขึ้น อย่างเช่น CPALL BANPU APPLE เป็นต้น
ดังนั้นภาวะตลาดขาลงหรือเศรษฐกิจตกต่ำอาจจะไม่ได้ทำให้กำไรของบริษัทลดลงเสมอไป
โดยผมแบ่งผลกระทบของหุ้นเติบโตในตลาดขาลงเป็น 3 แบบ
1. หุ้นเติบโตที่กำไรลดในระยะสั้นช่วงตลาดตกต่ำ (ระยะยาวยังเติบโตสูงมากเป็นเวลานาน เพราะ demand กลับมาตามวงจรเศรษฐกิจ) แล้วราคาหุ้นลดลงด้วย
- หุ้นแบบนี้จะโดน 2 เด้ง (ทั้งกำไรลด ทั้ง PE ลด) ถ้าเราถือหุ้นแบบที่ 1 นี้ แล้วเห็นปัจจัยที่เข้ากระทบให้กำไรลดลงชัดเจน และราคายังไม่รับข่าวร้ายอย่างเต็มที่ (อาจจะเป็นช่วงที่ราคาหุ้นลดลงช่วงแรกๆ) อาจจะขายหุ้นออกไปก่อน ทั้งนี้เศรษฐกิจโดยรวมอาจจจะแย่และผลกระทบที่เกิดต้องกินเวลาหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปี เราจะได้มีเงินสดไว้รอช้อนซื้อหุ้นตัวเดิมหรืออาจจะเป็นหุ้นตัวอื่นที่ upside สูงกว่า
โดยอาจจะต้องประเมินความคาดหวังของตลาดด้วย ถ้าตลาดผิดหวังแรงๆโอกาสที่หุ้นลงไปมากกว่าที่ควรจะเป็นก็มีสูง การถือหุ้นไว้เฉยๆจะเสียโอกาสได้
แต่นั่นเป็นแนวคิดที่ว่าเราคาดเดาแนวโน้มตลาดได้ ...ในความจริงเราคงคาดการตลาดได้ยากมากๆ (ถึงมากที่สุด) ว่าจะราคาหุ้นลงต่อหรือหยุดนิ่งเพราะลงมาเยอะแล้ว
ดังนั้นการที่ท่านปรมาจารย์ Fisher ทำคือ การถือหุ้น Motorola ไว้เฉยๆ แม้ว่าราคาจะลดลงมากย่อมเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะท่านคงจะมองข้ามกำไรที่ลดระยะสั้นรายเดือนรายปีแต่มองไปถึง 5 – 10 ข้างหน้าแล้ว
สรุปว่า...การขายหุ้นออกถ้ายังมีปัจจัยลบ กำไรมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ (ในหลายๆไตรมาสหรือลดในช่วง 1 ปี) โดยที่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองถึงขีดสุด การทยอยขายหุ้นออกไปก่อนแล้วรอซื้อกลับ โดยเฉพาะกรณีพอร์ตยังเล็กใช้เวลาเก็บหุ้นและปล่อยหุ้นไม่นาน เพื่อไม่ไห้เสียโอกาส (โดยเฉพาะกรณีตลาดไทยที่ market semi-efficient )
แต่ถ้าพอร์ตใหญ่มากขึ้น การปล่อยหุ้นทำได้ลำบาก และต้องขายแบบกดราคาลงในภาวะที่คนแย่งกันขายสุดๆ การถือหุ้นไว้เฉยๆดีกว่าครับ เพราะศักยภาพของธุรกิจในระยะยาวยังเติบโตดีอยู่ราคาหุ้นต้องวิ่งกลับมาทำ New high ได้อย่างแน่นอนครับ (โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่ market efficient มากๆ และไม่มี ceiling - floor)
สิ่งที่ต้องระวังมากๆคือ...ระวังการวิเคราะห์หุ้นเติบโตว่ากำไรลดแค่ชั่วคราว แต่ในความจริงอาจจะเป็นการลดลงอย่างถาวรได้ เช่น จากการที่มีบริษัทคู่แข่งเข้ามามาก, พื้นฐานเปลี่ยนจนเสียความสามารถในการแข่งขันระยะยาว เพราะเวลาตลาดลงเรามักจะคิดว่าหุ้นของเราลงตามตลาดโดยไม่ได้มองดูผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับบริษัทในปัจจุบันครับ เวลาเปลี่ยน สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน คนเปลี่ยน ประมาทไม่ได้เลย
ส่วนที่เหลือ .... ข้อ 2-3
2. หุ้นเติบโตที่กำไรไม่ลด(หรืออาจจะโตขึ้น) แต่ราคาหุ้นกลับลงตามตลาด
3. หุ้นเติบโตที่กำไรไม่ลด(หรืออาจจะโตขึ้น) แล้วราคาหุ้นก็ไม่ลงด้วย
ควรถือหุ้นไว้เฉยๆและซื้อเพิ่มครับ
กำไรที่ลดลงชั่วคราว แต่ถ้าโครงสร้างหลักของธุรกิจยังมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เป็นโอกาสทองในการเข้าซื้อ สิ่งที่น่ากลัวจริงๆของการถือหุ้นเติบโตคือ การถึงเพดานของการเติบโตและไม่เหลือศักยภาพในการเติบโตอีกต่อไปแล้ว
และทั้งหมดนี้คือแนวคิดเรื่อง Exit Strategy ในการลงทุนหุ้นเติบโตครับ
ดังนั้น Key success factor ของการลงทุนในหุ้นเติบโตจึงเป็นการอ่าน Business model ความเข็งแกร่งของการเติบโตให้ขาด (แต่ถ้าอ่านการเคลื่อนไหวของราคาได้ขาดด้วยยิ่งดีเลยครับ แต่สำหรับผมมันยากเกินไป)
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ จิตใจที่มีสติสมาธิก่อให้เกิดปัญญา สามารถทำได้ตามแผนที่วางเอาไว้ได้สำเร็จครับ :)
เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟใหม้ หรือแม้แต่เกิดการระเบิดในตัวอาคาร คนที่เตรียมพร้อมในการออกจากตัวอาคารคือคนที่รอดตาย โดยผ่านทางหนีไฟที่พวกเขาเห็นก่อนหน้าที่ไฟจะใหม้
ในการทำสงครามนั้นจะมีทั้งการบุกและการตั้งรับ เมื่อกองกำลังของเราได้เปรียบ เราอาจจจะทำการบุก เมื่อกองกำลังของเราเสียเปรียบเราอาจจะทำการตั้งรับ หรือแม้กระทั่งหนีให้เป็นเพื่อเอาชีวิตรอดมาต่อสู้ใหม่
36 กลยุทธ์ จึงมีกลศึกสุดท้ายคือ “หนีคือสุดยอดกลยุทธ์”
ดังนั้นเราจะมาคุยกันถึงกลยุทธ์การถอยในการลงทุนกันครับ
ยุทธศาสตร์ทางออก (หรือ Exit Strategy) ของการลงทุนในหุ้นเติบโต
เวลาที่นักเดินป่าเข้าในในป่าที่เป็นเขาวงกตและติดอยู่ในนั้นเป็นเวลานาน เข็มทิศไม่สามารถใช้การได้ พวกเขาไม่สามารถหาทางออกได้เลย เพราะจริงๆแล้วทางออกที่พวกเขาตามหาไม่ได้มีอยู่
ทางออกที่จริงอยู่ที่ทางเข้านั่นเอง !!
ในการลงทุนก็เช่นกัน ก่อนที่เราจะทำการเข้าลงทุนซื้อหุ้น เราต้องประเมินทางถอยไปพร้อมกันตั้งแต่เราเข้าซื้อแล้ว ...ว่าหุ้นตัวนี้เราจะขายเมื่อไร?
“ซื้อเพราะเหตุผลไหน ให้ขายด้วยเหตุผลนั้น” ยังเป็น quote ที่ใช้ได้อยู่เสมอ
เราจะเข้าซื้อหุ้นเติบโตเพราะ บริษัทมีพื้นฐานที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันสูงหรือคู่แข่งน้อย อุตสาหกรรมโดยรวมอาจจะมีการเติบโต (แต่บริษัทจะโตด้วยอัตราสูงกว่า) ส่งผลต่อรายได้และกำไรของบริษัทที่จะเพิ่มตามมาเรื่อยๆในอนาคตระยะยาวหลายปี ราคาที่เข้าซื้อต้องถูกหรือเป็นราคาที่สมเหตุสมผล มี margin of safety มากพอ โดยมีสมมุติฐานว่าราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้นตามกำไรและกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของบริษัท
ดังนั้นเมื่อมองจากการเหตุผลของการเข้าซื้อ เราจะเริ่มเห็นแล้วว่าจะขายหุ้นเมื่อไร...
โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนหุ้นเติบโตจะขายหุ้นเมื่อ
1. ธุรกิจเข้าสู่จุดอิ่มตัว ไม่มีโอกาสในการเติบโตแล้ว (ธุรกิจถึง room of growth แล้ว) แม้ว่ารายได้และกำไรยังมั่นคงอยู่ก็ตาม แต่โอกาสการเพิ่มของราคาตามกำไรที่เพิ่มขึ้นทำได้ลำบากแล้ว ถ้าถือต่อจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นปันผลแทน
2. เจอหุ้นเติบโตตัวอื่นที่ดีกว่า มี upside สูงกว่าเดิมมาก, กำไรคาดหวัง (expected profit) สูงกว่าหุ้นตัวเดิมมาก (ที่พูดถึงกำไรคาดหวังเพราะเป็นการมอง downside ร่วมไปด้วย)
3. พื้นฐานหุ้นเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ธุรกิจหมดศักยภาพในการเติบโตระยะยาวแล้ว แม้ว่ากำไรอาจจะเพิ่มได้ในระยะสั้นๆช่วง 1 - 2 ปี
4. ราคาแพงมาก ราคาถึงหรือเกินค่า room of growth ไปมาก เมื่อคิดจากพื้นฐานและศักยภาพที่ดีที่สุดที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับบริษัท (อ่านเพิ่มเติมในบทความเพดานของการเติบโตนะครับ)
เราไม่ได้ขายหุ้นเติบโตเพราะ...
1. ราคาลงอย่างหนักโดยที่พื้นฐานยังเหมือนเดิม การเติบโตของกำไรในระยะยาวยังเหมือนเดิม
- เพราะแม้ว่าราคาในระยะสั้นจะปรับลดลงมาก แต่การที่อนาคตของบริษัทยังสดใส อาจจะทำให้ราคาดีดกลับมาทำ New high เมื่อไรก็ได้ (ที่ตลาดเริ่มหาย panic และกลับมามีสติ) ถ้าเราขายหุ้นออกไปก่อน อาจจะเสียโอกาสในการรับกลับได้ โดยเฉพาะถ้าพอร์ตเราใหญ่เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายของหุ้นและต้องใช้เวลาพอสมควรในการเก็บหุ้น อาจจะเก็บไม่ทันตลาด ยิ่งกรณีตลาดในต่างประเทศที่ไม่มี ceiling และ floor ราคาแกว่งด้วย range ที่กว้างขึ้น การคาดเดาการเคลื่อนไหวของราคายิ่งทำได้ลำบากขึ้น
- การที่ตลาดโดยรวมลงอย่างหนักถือเป็นโอกาสทองในการเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ต เหมือนที่ปู่ Buffet เข้าซื้อหุ้นโค้ก ช่วงที่ตลาดหุ้นอเมริกาเกิด panic sell ปี 1987 ครับ
(ยกเว้นกรณีที่พอร์ตเรายังเล็กและเข้าออกได้ในการซื้อขายไม่กี่ครั้ง โดยที่ราคายังไม่รับข่าวร้ายเต็มที่ อาจจะทำ Short against port ได้ ถ้ามั่นใจในจังหวะการซื้อขายของตนเองครับ)
2. ราคาถึงเป้าหมาย (Target price) เต็มมูลค่าของปีนั้น แต่การเติบโตยังดำเนินต่อไป และยังมี growth potential อยู่อีกมาก
- ถ้ากำไรที่มาจาการดำเนินงานยังเติบโตไปได้เรื่อยๆ ราคาหุ้นก็จะทำ New high ได้เรื่อยๆเช่นกันครับ
3. ธุรกิจเผชิญปัญหาชั่วคราวบางอย่างที่แก้ไขได้ หรือกำไรลดลงแค่บางไตรมาสบางปี แต่ศักยภาพบริษัทในการเติบโตยังล้นเหลือ
- ถ้ากำไรลดลงบางไตรมาสหรือบางปี โดยที่ศักยภาพของธุรกิจยังดีอยู่ในระยะยาว จะเป็นโอกาสที่ดีของการเข้าซื้อมากกว่าโอกาสขายครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำให้กำไรเติบโตทุกไตรมาส เช่น อาจจะมีปัจจัยด้านฤดูกาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับยอดขาย
ซึ่งการที่หุ้นเติบโตที่มีอนาคตสดใสจะมีราคาลดลงอย่างรุนแรงโดยที่พื้นฐานยังเหมือนเดิมมาจาก 2 กรณี
1. ตลาดเกิด panic sell อย่างรุนแรง
- เวลาดัชนีตลาดลงแรงๆเมื่อมีข่าวไม่คาดฝันเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ตลาดจะไม่สนใจว่าพื้นฐานดีหรือไม่ หุ้นเกือบทุกตัวราคาลดลงหมด ผู้คนแห่กันเทขายตามกันเพราะไม่อยากขาดทุนทั้งกำไรและขาดทุนจริงๆ (Herd behavior and loss aversion) ในสมองทุกคนจะมีแต่คำว่า ”ขาย!!!” คนที่ถือโดยใช้เงินกู้หรือบัญชีมาร์จิ้นเมื่อราคาลดลงถึงจุดหนึ่งก็จะถูกบังคับขาย (Force sell) ทำให้ราคาลดลงไปเรื่อยๆ และเกิดกระบวนการเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมา นักทำ Short sell เมื่อเห็นราคาหุ้นลดลงและมีแนวโน้มจะลงต่อ ก็จะเข้ามาทำ short sell ราคาก็ลดลงไปอีก จนกระทั่งคนที่ถือหุ้นที่คิดจะขายได้ขายไปจนหมดแล้ว เหลือแต่คนที่คิดจะซื้อหรือถือหุ้นราคาถึงจะหยุดไหลลง และเริ่มนิ่ง
- นี่คือโอกาสทองในการซื้อเก็บหุ้นเติบโตดีๆเข้าพอร์ตครับ
2. ธุรกิจเผชิญปัญหาบางอย่างที่แก้ไขได้
- อาจจะเป็นการยากที่จะแยกได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาชั่วคราวหรือปัญหาถาวรที่จะกระทบปัจจัยการเติบโตของบริษัท แต่นักลงทุนที่แยกได้จะสามารถเก็บหุ้นเติบโตราคาถูกเข้าพอร์ตได้
- ยกตัวอย่าง เช่น การมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (เช่น ค่าปรับจากการถูกฟ้องร้อง) ส่งผลต่อกำไรที่ลดลงหรือถึงขั้นทำให้ขาดทุน แต่ปีต่อมาบริษัทกลับมาทำกำไรได้เหมือนเดิม กรณีนี้ตลาดจะตอบสนองต่อข่าวในระยะสั้นคือกำไรลดมาก ราคาก็จะถูกกดจนติดดินทั้งที่ถ้าดู Forward PE 1-2 ปีอาจจะต่ำมาก หรือกรณีบริษัทย่อยขาดทุนหนักทำให้กำไรลดลง โดยที่ธุรกิจหลักยังแข็งแกร่ง แล้วบริษัทมีแนวโน้มจะขายบริษัทย่อยที่ขาดทุนออกไป เป็นต้น
ปัญหาคือ เมื่อตลาดโดยรวมอยู่ในขาลง (Bear market) หุ้นเติบโตจะถูกกระทบมาก ทั้งจากการลดของกำไรและการลดค่า PE ratio จากตลาด ราคาจึงลงได้มากและลึก ถ้าอย่างนั้นนักลงทุนในหุ้นเติบโตควรจะทำอย่างไรดี?
Philip Fisher ปรมาจารย์การลงทุนแบบ Value investment ท่านหนึ่ง และเป็นนักลงทุนในหุ้นเติบโตชั้นแนวหน้า (Growth investing) ผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดการลงทุนของปู่ Buffet ท่านได้เข้าถือหุ้น Motorola ตั้งแต่ปี 1955 ช่วงที่โลกได้เริ่มมีการใช้การสื่อสารแบบไร้สาย โดยฟิสเชอร์ได้ถือหุ้น Motorola ซึ่งเป็นหุ้นเติบโตชั้นเลิศ ไว้นานถึงสี่สิบกว่าปี จนกระทั่งฟิสเซอร์เสียชีวิต
โดยในระหว่างนั้นมีช่วงที่ราคาหุ้นได้ลดลงจากจุดสูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวฟิสเซอร์ก็ไม่ได้สะทกสะท้านใดๆ ยังคงถือหุ้นต่อไป ไม่ได้ขายหุ้นจนบริษัทกลับมาทำกำไรเติบโตและราคาหุ้นทำ New high ได้อีกครั้ง
คำถามคือ เราควรจะถือหุ้นเติบโตในช่วงที่บริษัทโดนผลกระทบจากปัจจัยมหภาคหรือไม่? (Macroeconomic factor) เหมือนที่ฟิสเซอร์ทำ... (เนื่องจากราคาจะลดลงมาก)
เราคงต้องย้อนกลับมามองปัจจัยพื้นฐานของบริษัท ว่าถูกกระทบได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากความเข้มแข็งต่อปัจจัยมหภาคไม่เท่ากัน เช่น หุ้นที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคหรือปัจจัย 4 ที่ราคาถูก คนเราถึงเศรษฐกิจตกแค่ไหนก็ต้องการปัจจัย 4 ทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมถึงสินค้าและบริการอื่นๆที่จำเป็น แต่อาจจะลดความฟุ่มเฟือยลง ใช้ประหยัดขึ้น ลดราคาลดปริมาณของที่ใช้ลง ทำให้กำไรโตแต่โตแบบอัตราชะลอตัวลง บางทีกำไรอาจจะไม่โต (แม้แต่หุ้น Defensive อย่างโรงไฟฟ้ากำไรยังลดเลยครับ เพราะคนใช้อย่างประหยัดมากขึ้น)
แต่บางบริษัทอาจจะโตสวนตลาดได้เพราะคู่แข่งรายอื่นๆเจอพิษเศรษฐกิจเข้าไปแล้วล้มไปเพราะความแข็งแกร่งไม่เท่าหุ้นเติบโตที่เราสนใจอยู่ ทำให้บริษัทกิน Market share ได้เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่บริษัทที่ผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยแต่ถ้า Demand ยังไม่ตก กำไรก็อาจจะยังโตได้อยู่ครับ
อย่างช่วง Subprime ที่ผ่านมาหลายๆบริษัทก็ไม่ได้มีกำไรลดลงแต่กลับโตขึ้น อย่างเช่น CPALL BANPU APPLE เป็นต้น
ดังนั้นภาวะตลาดขาลงหรือเศรษฐกิจตกต่ำอาจจะไม่ได้ทำให้กำไรของบริษัทลดลงเสมอไป
โดยผมแบ่งผลกระทบของหุ้นเติบโตในตลาดขาลงเป็น 3 แบบ
1. หุ้นเติบโตที่กำไรลดในระยะสั้นช่วงตลาดตกต่ำ (ระยะยาวยังเติบโตสูงมากเป็นเวลานาน เพราะ demand กลับมาตามวงจรเศรษฐกิจ) แล้วราคาหุ้นลดลงด้วย
- หุ้นแบบนี้จะโดน 2 เด้ง (ทั้งกำไรลด ทั้ง PE ลด) ถ้าเราถือหุ้นแบบที่ 1 นี้ แล้วเห็นปัจจัยที่เข้ากระทบให้กำไรลดลงชัดเจน และราคายังไม่รับข่าวร้ายอย่างเต็มที่ (อาจจะเป็นช่วงที่ราคาหุ้นลดลงช่วงแรกๆ) อาจจะขายหุ้นออกไปก่อน ทั้งนี้เศรษฐกิจโดยรวมอาจจจะแย่และผลกระทบที่เกิดต้องกินเวลาหลายเดือนหรืออาจจะเป็นปี เราจะได้มีเงินสดไว้รอช้อนซื้อหุ้นตัวเดิมหรืออาจจะเป็นหุ้นตัวอื่นที่ upside สูงกว่า
โดยอาจจะต้องประเมินความคาดหวังของตลาดด้วย ถ้าตลาดผิดหวังแรงๆโอกาสที่หุ้นลงไปมากกว่าที่ควรจะเป็นก็มีสูง การถือหุ้นไว้เฉยๆจะเสียโอกาสได้
แต่นั่นเป็นแนวคิดที่ว่าเราคาดเดาแนวโน้มตลาดได้ ...ในความจริงเราคงคาดการตลาดได้ยากมากๆ (ถึงมากที่สุด) ว่าจะราคาหุ้นลงต่อหรือหยุดนิ่งเพราะลงมาเยอะแล้ว
ดังนั้นการที่ท่านปรมาจารย์ Fisher ทำคือ การถือหุ้น Motorola ไว้เฉยๆ แม้ว่าราคาจะลดลงมากย่อมเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะท่านคงจะมองข้ามกำไรที่ลดระยะสั้นรายเดือนรายปีแต่มองไปถึง 5 – 10 ข้างหน้าแล้ว
สรุปว่า...การขายหุ้นออกถ้ายังมีปัจจัยลบ กำไรมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ (ในหลายๆไตรมาสหรือลดในช่วง 1 ปี) โดยที่ราคาหุ้นยังไม่ตอบสนองถึงขีดสุด การทยอยขายหุ้นออกไปก่อนแล้วรอซื้อกลับ โดยเฉพาะกรณีพอร์ตยังเล็กใช้เวลาเก็บหุ้นและปล่อยหุ้นไม่นาน เพื่อไม่ไห้เสียโอกาส (โดยเฉพาะกรณีตลาดไทยที่ market semi-efficient )
แต่ถ้าพอร์ตใหญ่มากขึ้น การปล่อยหุ้นทำได้ลำบาก และต้องขายแบบกดราคาลงในภาวะที่คนแย่งกันขายสุดๆ การถือหุ้นไว้เฉยๆดีกว่าครับ เพราะศักยภาพของธุรกิจในระยะยาวยังเติบโตดีอยู่ราคาหุ้นต้องวิ่งกลับมาทำ New high ได้อย่างแน่นอนครับ (โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่ market efficient มากๆ และไม่มี ceiling - floor)
สิ่งที่ต้องระวังมากๆคือ...ระวังการวิเคราะห์หุ้นเติบโตว่ากำไรลดแค่ชั่วคราว แต่ในความจริงอาจจะเป็นการลดลงอย่างถาวรได้ เช่น จากการที่มีบริษัทคู่แข่งเข้ามามาก, พื้นฐานเปลี่ยนจนเสียความสามารถในการแข่งขันระยะยาว เพราะเวลาตลาดลงเรามักจะคิดว่าหุ้นของเราลงตามตลาดโดยไม่ได้มองดูผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นกับบริษัทในปัจจุบันครับ เวลาเปลี่ยน สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน คนเปลี่ยน ประมาทไม่ได้เลย
ส่วนที่เหลือ .... ข้อ 2-3
2. หุ้นเติบโตที่กำไรไม่ลด(หรืออาจจะโตขึ้น) แต่ราคาหุ้นกลับลงตามตลาด
3. หุ้นเติบโตที่กำไรไม่ลด(หรืออาจจะโตขึ้น) แล้วราคาหุ้นก็ไม่ลงด้วย
ควรถือหุ้นไว้เฉยๆและซื้อเพิ่มครับ
กำไรที่ลดลงชั่วคราว แต่ถ้าโครงสร้างหลักของธุรกิจยังมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เป็นโอกาสทองในการเข้าซื้อ สิ่งที่น่ากลัวจริงๆของการถือหุ้นเติบโตคือ การถึงเพดานของการเติบโตและไม่เหลือศักยภาพในการเติบโตอีกต่อไปแล้ว
และทั้งหมดนี้คือแนวคิดเรื่อง Exit Strategy ในการลงทุนหุ้นเติบโตครับ
ดังนั้น Key success factor ของการลงทุนในหุ้นเติบโตจึงเป็นการอ่าน Business model ความเข็งแกร่งของการเติบโตให้ขาด (แต่ถ้าอ่านการเคลื่อนไหวของราคาได้ขาดด้วยยิ่งดีเลยครับ แต่สำหรับผมมันยากเกินไป)
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ จิตใจที่มีสติสมาธิก่อให้เกิดปัญญา สามารถทำได้ตามแผนที่วางเอาไว้ได้สำเร็จครับ :)
"โดยในระหว่างนั้นมีช่วงที่ราคาหุ้นได้ลดลงจากจุดสูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวฟิสเซอร์ก็ไม่ได้สะทกสะท้านใดๆ ยังคงถือหุ้นต่อไป ไม่ได้ขายหุ้นจนบริษัทกลับมาทำกำไรเติบโตและราคาหุ้นทำ New high ได้อีกครั้ง"
ตอบลบถ้าจะให้ผมนับถือความโคตรเซียนของแกตรงไหน คงต้องบอกว่าใจแกโคตรนิ่งเลยครับ ถ้าไม่มั่นใจแนวทางตรเองจริงๆไม่มีทางทำได้ แต่ประเด็นอาจอยู่ที่ว่านั่นคือ maximum drawdown เฉพาะหุ้นเป็นตัวๆไปหรือปล่าว ในทางกลับกัน Max Drawdown ของทั้งพอร์ทแกอาจไม่มากขนาดนั้นหรือปล่าวครับ หรือแกอาจมองว่าเป็นเพียง 1 ในตัวที่แก bet เท่านั้น ผมไม่แน่ใจเหมือนกัน (ไม่ได้ศึกษาลงลึก) แต่ต้องยอมรับว่าหนังแกเหนียวมาก 55
"ดังนั้น Key success factor ของการลงทุนในหุ้นเติบโตจึงเป็นการอ่าน Business model ความเข็งแกร่งของการเติบโตให้ขาด (แต่ถ้าอ่านการเคลื่อนไหวของราคาได้ขาดด้วยยิ่งดีเลยครับ แต่สำหรับผมมันยากเกินไป)"
ผมมักได้ยินว่านักลงทุนพื้นฐานส่วนใหญ่มักเน้น focus แต่คำว่า focus ของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนบอก 3 บางคนบอก 10 เป็นไปได้หรืปล่าวว่า วิชา asset allocation อาจนำมาช่วยให้บาลานซ์ความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ดียิ่งขึ้น (แต่ไม่จำเป็นต้องกระจายมากเกินเพราะ pay off สูงมากอยู่แล้ว) จะได้ไม่ต้องแบกรับ drawdown สุดโหดขนาดนี้?
:D
นับถือความนิ่งของปู่ฟิสเซอร์เหมือนกันครับ
ตอบลบปู่ฟิสเซอร์ไม่ได้ถือหุ้น Motorola ตัวเดียวครับ น่าจะมี Texas instrument และตัวอื่นๆอีกหลายตัว พอร์ตปู่จะ Focus 7 - 8 ตัวครับ ดังนั้นพอร์ตโดยรวมไม่น่าจะลบถึง 75 เปอร์เซ็นต์น่ะครับ
ผมว่าความนิ่งจะเกิดได้ต้องมาจากความมั่นใจครับ ความมั่นใจจะเกิดได้ต้องมาจากความเชื่อมั่นในแนวทางการลงทุนของตนเองที่ผ่านการทดสอบมามาก, การศึกษาพื้นฐานของหุ้นอย่างถ่องแท้(Scuttlebutt) และมีวางแผนเตีรยมไว้ล่วงหน้าแล้ว ...ไม่งั้นผมว่าเราจะสติแตกไปเลยถ้าขาดการวางแผนเตรียมรับมือที่ดีพอครับ
ผมคิดว่าไม่ว่าเราจะลงทุนแบบไหนใจก็ต้องนิ่งครับ ไม่งั้นกลายเป็นว่าเราจะทำตามอารมณ์และละเลยการใช้เหตุผลและหลักการลงทุนไป ผมเลยให้ความสำคัญกับเรื่อง Psychology ไม่แพ้เรื่อง Stock selection, Timing, Portfolio management ครับ
ส่วนนักลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐานจะลงทุนแบบ Focus อย่างที่คุณมดบอก ซึ่งแล้วแต่ว่าจะ Focus ขนาดไหน แต่จะไม่เกิน 10 ตัวครับ เพราะยิ่งซื้อหลายๆตัวโอกาสที่ผลตอบแทนของพอร์ตจะชนะตลาดได้จะน้อยลง โดยเราจะใช้การลดความเสี่ยงด้วยการเข้าใจธุรกิจให้มากพอและซื้อที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับ intrinsic value (มี MOS) ครับ
ลงทุนแบบ Focus จะทำให้หุ้นในมือมีปริมาณมากกว่าหุ้นที่ซื้อขายในตลาด ถ้าไม่มั่นในในพื้นฐานและการเติบโตจริงๆการลงทุนแบบ Focus ตอนพอร์ตใหญ่จะทำได้ไม่ได้เลยครับ (เพราะปล่อยของทีต้องทิ้งกัน 5-10 ช่องเลยครับ T_T)
ผมเอง Focus หุ้นในพอร์ต 3 - 5 ตัวครับ น้อยกว่านี้ผมก็คิดว่าจะ exposed ความเสี่ยงมากเกินไป ( ทั้ง systemic และ non-systemic risk ครับ ) รวมถึงความเสี่ยงที่หุ้นจะราคานิ่งและเสียโอกาสในการลงทุนตัวอื่นด้วยครับ คนที่ Focus มากเท่าไรยิ่งต้องมั่นใจในหุ้นที่ซื้อมากเท่านั้น
หลังก.ย. นี้ผมเองก็จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัทในตลาด mai ตัวนึงแล้วนะครับ ผม bet กับ growth ของหุ้นตัวนี้มาก แต่แน่นอนว่าผม Limit exposure ไม่ให้น้ำหนักหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเกิน 40 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตแน่นอนครับ โดยเฉพาะหุ้นที่ปริมาณซื้อขายน้อยแบบนี้ซึ่งผมถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งเพราะเหมือนถูกขัง แต่ภายใน 3 ปีผมเชื่อว่าจะต้องมีคนมาเห็นคุณค่าของมันครับ^^
ปล. คุณมดมีแนะนำคอร์สกราฟหรือเทคนิคอลที่น่าสนใจไหมครับ? ผมเองจะลองนำมาปรับใช้ดูบ้าง ยิ่งถ้าคุณมดเปิดสอนเองยิ่งดีเลย จ่างแพงก็ยอม อิอิ
ขอบคุณนะครับสำหรับความเห็น ว่ากันยาวเลย :D
ตอบลบจริงๆเรื่องคำว่า focus ประเด็นที่ผมคิดว่าอันตรายของมันคือ มันไม่มีการ define กันอย่างแน่นอนว่าอะไรเท่าไหร่คือ focus แต่ถ้าโดยทั่วไปเข้าใจกันว่า 5 - 10 ผมว่าก็โอเคครับ แต่บางคนโดยเฉพาะมือใหม่ ได้ยินคำนี้แล้วมักเข้าใจว่า 1 - 3 ตัว ซัดหนักไปเลย (เพราะผมก็เคยเป็น 55)
แต่จากการที่เคยได้ลองทดสอบ ระบบการลงทุนหลายๆอย่าง ถึงแม้จะไม่มีโอกาสได้ทำกับข้อมูลพื้นฐานเท่าไหร่ แต่บางระบบการลงทุนทางเทคนิคนั้นก็มีระบบที่เป็น long term system ที่เน้นกินคำใหญ่ๆเช่นกัน ผลที่ออกมาก็คือ หากเรา focus มากเกินไปกว่าที่ความแม่นยำของเราจะรองรับไหว มันมักจะทำให้พอร์ทโตช้ากว่าการกระจายประมาณ 5 - 10 ตัวมาก เพราะมันจะเสียโอกาสหากว่าถือแล้วไม่ไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีตลาดอาจจบรอบใหญ่แล้วก็ได้
อีกในแง่มุมนึงคือ หากลอง simulate หรือสุ่มเลือกหุ้นจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้เลือกไว้ ถึงแม้หุ้นที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่างจะมีอัตรา payoff ที่สูง หรือแม่นยำมากหน่อย มันก็จะเกิดการแตกแขนงของผลตอบแทนออกไปได้หลายทิศทาง และมีความเบี่ยงเบนที่มากมายด้วย (สมมุติเงินต้น 1 ล้าน จบ 10 ปี บาง combination อาจรวย 100 ล้าน บาง combination อาจเหลือเพียง 5 - 6 แสนก็ได้) ซึ่งการไม่ focus หนักเกินไปจะทำให้ความเบี่ยงเบนตรงนี้ลดลง
มองในแง่สถิติแล้วถึงแม้ว่าเราจะมั่นใจจริงขนาดไหน แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันมีความเสี่ยงในการไม่รวยที่มากกว่า และถ้าลองพิจารณาดูจริงๆ ในความเห็นผมแล้ว มันทำให้เรามองผ่าน Survivorship bias ของเราได้เป็นอย่างดี เพราะโดยปกติแล้วเรามักจะมองเห็นแต่คนที่ประสบความสำเร็จ (โดยเฉพาะคนที่รวยพรวดพราดจากการซื้อขาย (sample space) ไม่กี่ครั้ง) แต่จริงๆแล้วคนที่ไม่สำเร็จก็อาจมีอยู่สูงเป็นจำนวนหนึ่งก็ได้ (แต่เสียงไม่ดัง)
ผมเองจึงคิดว่าการ diversify หรือการใช้วิธีการใดๆก็ตามเพื่อ manage risk และ opportunities จึงยังมีความจำเป็นอยู่มากเหมือนเดิม มันอาจจะทำให้รวยช้ากว่าหน่อยนึง แต่ช่วยบรรเทา Risk of ruin ลงไปได้เยอะมากเหมือนกันครับ :)
ปล1. เรื่องคอร์สเรียนกราฟ ผมไม่ได้เปิดสอนครับ 55 ไม่ใช่งกวิชา แต่ไม่มีอะไรจะสอนมากมาย ผมใช้มันเป็นเครื่องมือเฉยๆ ไม่ได้มีสูตรลับอะไรครับ
ถ้าจะให้แนะนำ อยากแนะนำให้อ่านหรือหาคอร์สเรียนที่ไม่เคลมว่า เขาสามารถเดา หรือเขาฟันธง หรือเขาบอกว่ามันคือสูตรเด็ดสูตรลับครับ เพราะนั่นกำลังแปลว่าเขากำลังโฆษณามากกว่ามันจน over value ไปแล้วครับ 55 คนใช้กราฟเป็นส่วนใหญ่ ใช้เพื่อเข้าถึงจิตวิทยามวลชน หรือความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แล้ววางแผนรับมือเมื่อเกิด a, b, c ครับ ไม่ได้เอาไว้เป็นลูกแก้ววิเศษหรือเชื่อจนงมงาย
ปล2. ขอให้โชคดีนะครับเรื่องหุ้นที่ bet ไปนะครับ ผมนี่ไม่รู้ตัวเลยจริงๆว่ากำลังคุยกับว่าที่เจ้าของบริษัทคนใหม่ อิอิ
ขอบคุณคุณมดสำหรับคำอวยพรนะครับ :D
ตอบลบผมต้องขอออกตัวก่อนว่าหุ้นที่ bet ไปเป็นหุ้น small Caps น่ะครับ ผมเองไม่ได้มีเงินมากมาย เป็นแค่นักลงทุนรายย่อยธรรมดาๆคนหนึ่งในตลาดหุ้นเท่านั้นเองครับ แหะๆ
ขอบคุณคุณมดสำหรับความคิดเห็นนะครับ เป็นประโยชน์มากๆ ...ผมเห็นด้วยเลยครับ ยิ่ง Focus มากเท่าไรโอกาสเจ๊งก็มากพอๆกันกับโอกาสได้ผลตอบแทนสูงๆ (แต่คนขาดทุนหนักๆไม่ได้ออกมาพูดเหมือนคนได้กำไรมากๆ) นักลงทุนอาจจะคิดว่าป้องกันความเสี่ยงด้วยการศึกษาหุ้นแล้ว ซื้อที่ราคาถูกแล้ว แต่เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นที่ทำให้บริษัทขาดทุนได้มากๆเช่นกัน อย่าง นิค ลีสัน คนเดียวยังล้มธนาคารแบริ่งที่มีประวัติยาวนานได้เลยครับ
ผมเองมองว่า ผลตอบแทนหุ้นในตลาดหุ้นจะเป็นรูประฆังคว่ำ Normal curved distribution ในช่วงตลาด side way จะมีหุ้นที่ได้กำไรไม่มาก หุ้นที่ชนะตลาดยิ่งน้อย อาจจะแค่ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนตลาดขาขึ้นและตลาดขาลงผลตอบแทนน่าจะเป็นกราฟเบ้ (Skewness) การกระจายความเสี่ยงจะช่วยให้ผลตอบแทนเราปลอดภัยจากการตกไปด้านลบมากๆได้(ตามความน่าจะเป็น) และยังสามารถชนะตลาดได้ไม่แพ้การถือหุ้น 1 - 3 ตัว (นอกจากนี้ยังสามารถปรับพอร์ตเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้อีกด้วยครับ)
ผมเห็นด้วยกับการกระจายความเสี่ยงเลยครับ ผมเองยังไม่เคยถือตัวเดียวโดดๆเลยครับ ต่อให้มั่นใจสุดขีดก็ตาม
ปล. เสียดายเลยไม่ได้เรียนกับคุณมด อิอิ ที่คุณมดพูดมาผมว่าเป็นแก่นของการดูเทนิคอลเลยครับ “เพื่อเข้าถึงจิตวิทยามวลชน” ผมเองพยายามจะไม่ใช้อารมณ์ในการซื้อขายก็จริงครับ แต่ผมไม่ได้ละเลยอารมณ์ที่เกิดขึ้นและพยายามรู้เท่าทันมัน เพราะผมคิดว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจเราเป็น indicator หนึ่งของการเข้าใจอารมณ์ตลาดครับ (ในความคิดผมนะครับ)
ยินดีมากๆที่ได้พูดคุยกับคุณมดนะครับ :)
"ดังนั้น Key success factor ของการลงทุนในหุ้นเติบโตจึงเป็นการอ่าน Business model ความเข็งแกร่งของการเติบโตให้ขาด"
ตอบลบคุณ Gob มีหลักในการดูอย่างไรบ้างครับ
เย้ๆ คุณ Unsign เข้ามาอีกแล้ว :D
ตอบลบการประเมินความแข็งแกร่งในการเติบโต
1.อุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ใน Megatrend ที่วิถีชีวิตของคนจะเปลี่ยนไปในทางนั้น เช่น การเติบโตของประเทศจีน (Raising of China) สังคมผู้สูงอายุ (Ageing economy) ผู้หญิงมีกำลังซื้อมากขึ้นทำงานมากขึ้น (Female economy) การอพยพเข้ามาอาศัยในเมืองเพิ่มขึ้น (Urbanization) คนใช้งานอินเตอร์เนตมากขึ้น (Internet and social network) การขนส่งที่ล้อตามนโยบาย FTA (Transportation) อุตสาหกรรมที่ล้อตาม Megatrend จะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆเพราะ Demand เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะปรับเข้าหากันตาม Globalization การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงๆจะอยู่ที่ประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น เอเชีย
ดังนั้น การลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มของอุตสาหกรรมโดยรวมเติบโตที่ล้อตาม Megatrend ในประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงง่ายต่อการเจริญเติบโตของบริษัท (แค่รักษา Market share ก็โตแล้ว) เหมือนพืชที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมเจริญได้ง่าย
2. ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทนั้นๆเอง
- คู่แข่งน้อยเพราะมี Barrier of entry เช่น กรณีมีสัมปทาน
- การที่บริษัทมีอะไรบางอย่างเป็นจุดเด่นที่เหนือคู่แข่ง เช่น ตราสินค้าเป็นที่นิยม, การจำกัดและบริหารต้นทุนได้ดีกว่ารายอื่น
- การอยู่ในวงจรแห่งความรุ่งเรือง เช่น เมื่อยอดขายโต เวลาจะต่อรองต้นทุนได้ถูกลง ทำให้กำไรเพิ่ม มีเงินสดเพิ่ม การลงทุนใช้เงินไม่มาก (เช่นขยายสาขา) แต่เพิ่มยอดขายได้อีก
- การถูกกระทบโดยปัจจัยมหภาค ไม่ใช่ทุกบริษัทที่กำไรจะลดลงเมื่อเศรษฐกิจโดยรวมแย่ อย่างบริษัท APPLE ที่ขาย iphone รายได้และกำไรเพิ่มขึ้น เพราะคนยังซื้อแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ดีก็ยังไปเข้าคิวกันเพื่อซื้อ ผู้คนพอใจความโก้หรูและประสิทธิภาพของการใช้งาน
3. Financial ratio เอื้อต่อการเติบโต
- กระแสเงินสดดี มีเงินสดมาลงทุน โดยไม่ต้องไปกู้ยืมหรือเพิ่มทุนบ่อยๆ
- หนี้สินไม่สูง เพราะภาระดอกเบี้ยสูง และการมีเพดานการกู้ยืมอีกมาก เพราะจะโอกาสกู้เงินมาขยายกิจการเมื่อมีโอกาส
- การเกิด Economy of scale เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น
คร่าวๆน่าจะประมาณนี้อ่ะครับ ยังงัยลองอ่านใน แนวทางการลงทุนของผมทั้ง 3 ตอนและเพดานของการเติบโตได้นะครับ ถ้าจะเอาลงรายละเอียดลองดูบทความกรณีศึกษา หุ้น Jubile ได้นะครับ
ขอบคุณมากครับ :D
ขอบคุณเช่นกันครับ :D
ตอบลบกรณีศึกษาของ Jubile หลังจาก swot แล้วมีภาคต่อไหมครับ อิอิ..
ในการวิเคราะห์แบบเชิงคุณภาพ โดยปกติแล้ว อาจจะมี bias โดยที่เราไม่รู้ตัว คุณ Gob มีวิธี feedback ว่าสิ่งที่คิดนี้เป็นสิ่งที่เป็น fact อย่างไรบ้างครับ
"ดังนั้น Key success factor ของการลงทุนในหุ้นเติบโตจึงเป็นการอ่าน Business model ความเข็งแกร่งของการเติบโตให้ขาด"
ผมชอบข้อความนี้นะครับ หลักจริงๆก็คงต้องเป็นแบบนี้
หลังจากวิเคราะห์ปัจจัยเชิงคุณภาพ จะมีการวิเคราะห์เชิงปริมาณครับ เช่น เงินสดในมือ, การรักษา Gross profit margin, แนวโน้มการเติบโตของรายได้ใน 2-3 ปีข้างหน้า, แล้วคำนวณ intrinsic value ออกมาครับ โดยปกติผมจะคิดเป็น range ใน 3 รูปแบบคือ conservative case, fair case, advance case (ผมไม่ได้แสดงการคิดเชิงปริมาณและคำนวณมูลค่าไว้เพราะกลัวจะเป็นการเชียร์หุ้นและชี้นำราคาอ่ะครับ – แต่จะมีบทความเกี่ยวกับการยกตัวอย่างโดยสมมุติของการคำนวณ intrinsic value แน่นอนครับ) โดยปกติผมจะดู Forward PE ครับ กรณี JUBILE เราจะกำหนดกลยุทธ์ครับ เช่น จะถือกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ขายเมื่อไร อะไรคือพื้นฐานเปลี่ยน อะไรไม่ใช่พื้นฐานเปลี่ยน จะถือนานแค่ไหน เป็นต้น
ตอบลบการมี Bias เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนครับเพราะเราเป็นเพียงปุถุขน สำคัญคือเราต้องตรวจสอบความคิดตัวเองโดยมองจากหลายๆมุม เช่น ถ้าเราไม่มีหุ้นเราจะมองหุ้นตัวนี้อย่างไร? ถ้าเราเป็นลูกค้าบริษัทนี้เราจะมองอย่างไร? การรับฟังความเห็นของผู้อื่น (ที่อาจจะมี Bias ได้เช่นกัน) จะช่วยลด Bias เราได้ครับ
และการตรวจสอบอีกอย่างคือการตรวจสอบสมมุติฐานผ่านงบการเงิน เช่น ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่ารายได้จะโต 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วงบออกมาโตจริงไหม? โตเพราะอะไร? ยั่งยืนหรือไม่? ถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่ากำไรจะเพิ่มจาก Gross profit สูงขึ้น แล้วงบออกมาสูงขึ้นไหม? สูงเพราะอะไร? เพราะงบการเงินจะเป็นตัวบอก Fact ที่เกิดขึ้นจริง
ผมว่าจริงๆแม้ว่าเราจะมีการวิเคราะห์หุ้นเติบโตมาอย่างดีแล้ว แต่เราก็ยังเล่นกับ probability อยู่ดีครับ ไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์ การกระจายความเสี่ยง การบริหารพอร์ต และการมี Exit strategy จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเลยครับ
ดีใจที่ได้พูดคุยกันครับ ^_^
"กรณี JUBILE เราจะกำหนดกลยุทธ์ครับ เช่น จะถือกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ขายเมื่อไร อะไรคือพื้นฐานเปลี่ยน อะไรไม่ใช่พื้นฐานเปลี่ยน จะถือนานแค่ไหน เป็นต้น"
ตอบลบในกลยุทธ exit ถ้าเราใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ มีปัจจัยอะไรให้เราลังเลไหมครับ เพราะจุดตัดสินใจไม่ใช้ตัวเลขเป๊ะๆ หรือ ต้องใช้ปัจจัยเชิงปริมาณร่วมด้วยครับ
"แต่เราก็ยังเล่นกับ probability อยู่ดีครับ ไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์ การกระจายความเสี่ยง การบริหารพอร์ต และการมี Exit strategy จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆเลยครับ"
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ Entry and Exit, MM, psychology เป็นหลักสำคัญที่ต้องมีในการลงทุน และ การลงทุนในหุ้นก็เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น อืม..แต่หลายคนไม่คิดอย่างนั้น แฮะ..
ยินดีที่ได้คุยเช่นกันครับ :D
การใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพในการ Exit จะสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพในการ Entry ครับ การเกิดจุดลังเลเกิดขึ้นได้หลากหลายเลยครับ ยกตัวอย่างนะครับ หุ้น MINT ถ้าเราเข้าซื้อเพราะบริษัทมีแบรนด์ Pizza HUT ที่เราคิดว่าแข็งแกร่งและน่าจะเติบโตได้อีกมาก (เมื่อก่อนนะครับ) แล้วกลายเป็นว่าเกิดขัดแย้งผลประโยชน์กับเจ้าของแฟรนไชน์จนทาง MINT ต้องออกมาทำแบรนด์ใหม่คือ Pizza company เมื่อปี 44 นักลงทุนต้องเกิดข้อลังเลแล้วว่า...แบรนด์ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาจะชนะแบรนด์เดิมได้หรือไม่? (เพราะจุด Entry เราคือ”แบรนด์แข็งแกร่งและเติบได้อีกมาก”) ซึ่งสิ่งที่ต้องติดตามต่อในตอนนั้นคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพในแง่ คุณภาพสินค้า ความนิยมในแบรนด์ และตามติดด้วยข้อมูลเชิงปริมาณคือยอดขายครับ
ตอบลบแต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเชิงคุณภาพชัดเจนจนอาจจะไม่ต้องรอปัจจัยเชิงปริมาณแล้วนะครับ (เพราะจะ Exit ไม่ทัน) เช่น กรณี RIMM ที่เป็นเจ้าของ Blackberry ผู้นำ smartphone แต่ต่อมามี Apple จะมาผลิต smartphone แข่งในรูปของ iphone ถ้าเรารอให้ยอดขายและกำไรของ RIMM ลดลงจะไม่ทันเวลาแล้วครับ เนื่องจากตลาด Down price จากการมองอนาคตแล้วว่า iphone จะต้องมาเป็นผู้นำตลาดและ BB จะหยุดเติบโตและถูกชิงส่วนแบ่งการตลาดไป ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะกินเวลาหลายปีครับ
ส่วนคนที่มั่นใจมากเกินไป (Overconfidence) ก็ปล่อยเค้าไปเถอะครับ ผมเองเขียนบทความ Anti-Overconfidence เพื่อไม่ให้นักลงทุนเชื่อมั่นอะไรมากเกินไป แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำลาย Overconfidence ได้สักกี่คน ...ยังงัยผมเองก็ต้องดูแลใจและบอกตัวเองเสมอแหละครับ...ในเรื่องการพร้อมรับความน่าจะเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงครับ (พยายามเอาตัวเองให้รอดก่อนจะได้ไปช่วยคนอื่นได้อ่ะครับ)
:D
ขอบคุณครับ :D
ตอบลบถ้าออกหนังสือ " How I made 1 Biliion before forty? อย่าลืมแจ้งด้วยนะครับ ดร.นิเวศน์ แกเขียนไม่ได้ เพราะอายุเกิน อิอิ..
ปล. ถ้าสนใจเรื่องกราฟ คงต้องจีบ mangmaoclub แล้วละครับ :D
ขอบคุณนะครับ :D
ตอบลบถ้าจะมีโอกาสได้เขียนหนังสือเล่มนี้ผมว่าต้องมี 2 ปัจจัย 1. ต้องฝึกฝนจนแทบรากเลือด 2. ดวงผมต้องดีมากๆๆๆๆๆ 555
ส่วนตัวผมขอแค่จากนี้ไป 5 ปี เอาตัวรอดได้ ไม่เจ๊ง สามารถรักษาเงินต้นและกำไรได้ ลงทุนเก่งขึ้น เท่านี้ผมก็พอใจมากๆแล้วครับ
ผมเคยขอให้คุณมดสอนแล้วครับ(ในกระทู้นี้) พอดีว่าคุณมดไม่รับลูกศิษย์อ่ะครับ T_T