วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาคอร์สการลงทุนของผม (ตอนที่ 1/2)

บทความนี้ถือเป็นการแชร์แนวคิดหลักทั้งหมดในการลงทุนของผมนะครับ

ในช่วง 1 ปีหลังจากลงทุนในตลาดหุ้น  (ปี 53)  ผมได้พัฒนาหลักสูตร  “การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน”  เพื่อสอนนักลงทุนทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การลงทุนเลย  โดยผมตั้งใจว่าจะให้ครอบคลุมแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการลงทุนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลา 2 – 3 ชั่วโมง

โดนแรงบันดาลใจในการสอนมาจาก  รุ่นน้องที่ภาควิชา 2 คน  ที่สนใจการลงทุนในตลาดหุ้น  และผมเองก็ต้องการแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นอยู่แล้ว  เนื่องจากตอนผมเริ่มต้นไม่มีคนสอนลงทุนเลย  ผมจึงอยากมอบโอกาสให้คนอื่นๆได้สิ่งที่ผมไม่เคยได้

สำหรับหลักสูตรนี้ผมสอนมาแล้ว 7 ครั้งให้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆรวมถึงคนรู้จักรอบตัวผม  และตั้งใจจะแชร์ให้กับบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสบ้าง

การที่ผมเป็นมือใหม่ที่ลงทุนมาไม่นาน  และผ่านช่วงความยากลำบากในการเรียนรู้ช่วงเริ่มต้นทำให้ผมเข้าใจว่ามือใหม่ต้องการอะไรติดขัดตรงไหน  โดยที่คนมีประสบการณ์หรือเซียนอาจจะไม่เข้าใจคนที่กำลังเริ่มต้นเท่าไรนัก

โดยหลักสูตรนี้ฟังได้ตั้งแต่คนที่ไม่รู้อะไรเลย...ไปจนถึงนักลงทุนที่ลงทุนมาแล้วหลายปีครับ

ปล.  ผมสอนฟรีนะครับ  (เป็นวิทยาทาน)  สอนทุกคนที่ตั้งใจอยากเรียน  (แต่ไม่รับคนไม่ตั้งใจจริง  ไม่รับคนต้องการมาขอหุ้นโดยไม่คิดจะทำการบ้าน  ไม่รับคนที่ต้องการมาลองภูมิครับ  เนื่องจากผมต้องเสียเวลาและแรงกายค่อนข้างมากจึงอยากเสียสละให้คนที่ต้องการจริงๆครับ)  และขอให้มีอย่างน้อยครั้งละ 5 คนขึ้นไป  (ยิ่งนักเรียนเยอะเท่าไรยิ่งดี)  เพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากการแชร์ความคิดกัน  และใช้เวลาทั้งหมด  2 ชั่วโมงครึ่งครับ  รวมเวลาตอบคำถามก็ประมาณ 3 ชั่วโมงครับ

ปล.2  update 14 มี.ค. 55 ผมของดสอนอย่างไม่มีกำหนดนะครับ เนื่องด้วยติดภารกิจทั้งเรื่องงาน การเรียนและครอบครัว ขอบคุณทุกคนที่สนใจนะครับ ผมเองก็ยังอยู่ตรงนี้ มีคำถามอะไรสามารถโพสถามหน้า wall หรือใน blog ได้เลยครับ

การบริหารการเงินส่วนบุคคลและการลงทุน

ผมจะเขียนค่อนข้างสรุปนะครับ  เพราะเนื้อหาเยอะมากจนหน้ากระดาษไม่พอ

1. การปรับทัศนคติเรื่องเงิน
- รับผิดชอบการกระทำและผลที่เกิดขึ้นกับตนเอง  ไม่เอาแต่โทษคนอื่น  ถ้าเปลี่ยนความคิดและการกระทำชีวิตจะเปลี่ยน
- เราคือผู้กำหนดโชคชะตาของตนเอง  ผ่านการคิด  การพูดและการกระทำ
- ความมั่งคั่งเริ่มต้นจากจิตใจ  สิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างเงินทองเกิดจากสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างจิตใจ  เหมือนรากอยู่ใต้ดินที่เรามองไม่เห็นได้คอยค้ำยันและให้อาหารต้นไม้จนมีการเจริญเติบโตและผลิดอกออกผลให้เรามองเห็น
- เงินไม่ใช่เป้าหมายของการมีชีวิต  แต่เงินช่วยให้การไปถึงเป้าหมายทำได้ง่ายขึ้นมาก
- สิ่งที่สำคัญไม่ใช่เงินแต่เป็น “เวลา”
- ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้การใช้กลยุทธ์  ต้องเชื่อมั่นว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ
- ความมั่งคั่ง ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากวาสนา  แต่เกิดจากการลงมือทำด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง
- เงินเป็นเพียงของกลางๆ  ...เงินไม่ใช่ความชั่วร้าย  เงินไม่ใช่พระเจ้า  เงินจะดีจะร้ายขึ้นอยู่กับผู้ใช้มัน  จงใช้มันให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
- ตั้งเป้าหมายทางการเงินเขียนลงในสมุด  ว่าจะมีเงินเท่าไรเป็นตัวเลขที่ชัดเจน  เมื่ออายุเท่าไร  จะมีเงินไปเพื่ออะไร (ไม่มีถูกไม่มีผิดครับ)

2. สูตรความมั่งคั่ง
มี 4 ขั้นตอน – เพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย  ออมเงิน  นำเงินไปลงทุน

2.1 เพิ่มรายได้
- ทำงานที่ตนเองรัก  เพราะโอกาสจะประสบความสำเร็จมีสูง  พยายามพัฒนาความสามารถตนเองให้อยู่ในกลุ่มผู้นำของอาชีพ  และเรียนรู้ตลอดชีวิต  (จงทำงานที่ตนเองรัก  แล้วเงินจะตามมาเอง)
- รายได้มาจากหลายทาง  บางทีรายได้อาจจะมาจากอาชีพเสริมหรืองานอดิเรกที่เราชอบ

2.2 ลดรายจ่าย
- ใช้สินค้าคุณภาพดีเมื่อเทียบกับราคาที่ไม่แพง  โดยอาจจะรอช่วงลดราคาสินค้า (Sale)
- ระมัดระวังการใช้บัตรเครดิต  เพราะเป็นการเอาเงินอนาคตมาใช้
- ทำบัญชีรายรับรายจ่าย  ลดหรืองดรายจ่ายที่ไม่มีประโยชน์ต่อชีวิต

2.3 ออมเงิน
- Pay yourself first !!  เมื่อได้รายได้มา  ให้ออมเงินก่อนที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย
- สูตรจะเปลี่ยนจาก  (รายได้ – รายจ่าย = เงินออม) เป็น (รายได้ – เงินออม = รายจ่าย)
- ออมเงินให้ได้อย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์  จำนวนเงินมากน้อยไม่เป็นไรขอให้สร้างนิสัยการออมที่ดีจะเป็นผลดีในระยะยาว
- การจัดสรรเงินออม – 1. เก็บเงินสำรองฉุนเฉินเท่ากับรายจ่าย 6 เดือนเผื่อว่าป่วยหรือออกจากงาน  2. นำไปช่วยเหลือผู้อื่น  ทำบุญ  ให้พ่อแม่  3. นำเงินไปลงทุน  ให้เงินทำงานแทนเรา
- ออมก่อนรวยกว่า  เพราะช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยทบต้นจะนานกว่า

2.4 นำเงินไปลงทุน
- เป็นการใช้พลังของดอกเบี้ยทบต้นทำให้เงินออมงอกเงย
- การลงทุนต้องมีความสุข  ข้อนี้สำคัญมากๆ  ...ถ้าลงทุนแบบไหนแล้วเครียดหรือทำให้ชีวิตแย่ลงไม่ควรจะลงทุนครับ  เพราะความสุขคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

3. ความเข้าใจเรื่องทรัพย์สิน (Asset) และหนี้สิน (Debt)
- ทรัพย์สิน หมายถึง สิ่งที่สร้างรายได้ให้กับเรา สร้างกระแสเงินสดให้กับเรา เช่น บ้านเช่า พันธบัตร
- หนี้สิน หมายถึง สิ่งที่ดึงกระแสเงินสดออกไปจากเรา  โดยแบ่งได้เป็นหนี้ดีกับหนี้เสีย  หนี้ดีคือหนี้ที่สร้างรายได้และกระแสเงินสดให้เรากลับมา เช่น การกู้เงินมาสร้างอพาร์ตเม้นท์หรือธุรกิจ  หนี้เสียคือหนี้ที่ดึงกระแสเงินสดออกอย่างเดียว  เช่น รถยนต์ (เพราะต้องเสียทั้งค่าน้ำมัน ค่าประกัน ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ)
- เคล็ดลับ...ให้เพิ่มทรัพย์สินและลดหนี้สิน

4. การลงทุน
- เราจะพิจารณา 4 ปัจจัย  1. Asset allocation  2. Market Timing  3. Portfolio management  4. Psychology
- ความสำเร็จในการลงทุนมาจาก 3 ปัจจัย  1. เงินต้น  (เงินออม)  2. ผลตอบแทนต่อปีทบต้น (ความสามารถในการลงทุน)  3. จำนวนปีที่ดอกเบี้ยทบต้น (ออมก่อนรวยกว่า)

5. ความเข้าใจเรื่องอิสรภาพทางการเงิน
- Financial freedom เกิดเมื่อ passive income จากทรัพย์สินในแต่ละปีมากกว่าหรือเท่ากับเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละปี
- สามารถใช้ชีวิตโดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องเงินเป็นหลัก  เช่น  อาจจะไปทำงานที่ชอบแม้ว่างานนั้นจะได้เงินน้อย  ออกเดินทางท่องเที่ยว  ทำกิจกรรมเพื่อสังคม  ให้เวลาครอบครัวได้เต็มที่

6. การพนัน VS การลงทุน
- ผมแยกด้วยกำไรคาดหวัง (Expected profit) ซึ่งคำนวณจาก expected profit = (upside x probability) – (downside x probability)
- การพนันกำไรคาดหวังเป็นลบหรือลบมากๆ เช่น หวยมีโอกาสถูกแค่ 1 ในพัน  ส่วนการลงทุนกำไรคาดหวังจะเป็นบวกหรือบวกมากๆ
- แต่ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือการพนันต่างก็มีความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้น  เพราะเป็นการเล่นกับความน่าจะเป็น
- การพนันคือ Zero sum game มีคนได้ก็ต้องมีคนเสีย  อย่าไปข้องแวะกับการพนันเด็ดขาด
- การลงทุนกับกำไรคาดหวังที่เป็นบวกควรลงทุน  เพราะระยะยาวผลตอบแทนจะวิ่งเข้าหากำไรคาดหวังเสมอ  แม้ว่าช่วงแรกๆผลตอบแทนอาจจะเป็นแบบสุ่ม (Random)
- คนที่เสี่ยงที่สุดคือคนที่ไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลย ... ดังนั้นจงกล้าลงทุนในกรณีสินทรัพย์มีกำไรคาดหวังเป็นบวก

7. สินทรัพย์ (Asset)  ต่างๆที่มีในตลาด ... ไล่จากความเสี่ยงน้อยไปมากนะครับ
- เงินสด (Cash) , เงินฝากระยะสั้น, กองทุนตราสารหนี้ที่สภาพคล่องสูง (Money market fund)
- เงินฝากระยะยาว, Bond (พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้เอกชน, ตราสารหนี้), ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
- เฟรนไชน์, ลงทุนธุรกิจส่วนตัวที่ถนัด
- กองทุนดัชนี (Index Fund) เช่น TMB SET50, SCB SET, TDEX
- กองทุนรวม (Mutual Fund) ให้ดูสัดส่วนของหุ้นและตราสารหนี้ และ นโยบายของกองทุน
- อสังหาริมทรัพย์ (Real estate)  เช่น บ้าน คอนโด (ให้เช่า หรือ ซื้อขายขาด)
- กองทุนเอกชน (Private equity)
- หุ้นสามัญ (Stock)
- ค่าเงิน (Forex)
- สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)  เช่น ทอง เป็นต้น
- Derivatives เช่น Future (TFEX, Stock future), Option, Gold future, บัญชีมาร์จิ้น(กู้เงินเล่นหุ้น), Short sell, Derivative warrant

8. การ approach สินทรัพย์
- มี  2  วิธี  1. Top down  2. Bottom up
- Top down – มองจากภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ  เลือกสินทรัพย์ที่น่าจะได้ผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดในสภาวะเศรษฐกิจนั้นๆ
- Bottom up – มองจากสินทรัพย์ที่เราเข้าใจหรือสนใจ  แล้วดูว่าสินทรัพย์นั้นจะได้รับการกระทบอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันและอนาคต

9. เข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomic) แบบง่ายๆที่มีผลต่อการลงทุน
- Demand VS Supply  กลไกตลาดเสรี  (Invisible hand)
- ดอกเบี้ยนโยบาย  VS  เงินเฟ้อ - เงินฝืด
- GDP (Gross Domestic Product) = Consumption + Investment + Government spending + (Export-Import)
- วงจรเศรษฐกิจ (รุ่งเรือง->ถดถอย->ตกต่ำ->ฟื้นตัว)
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Demand VS Supply)
- GDP leading indicator …SET index จะนำ GDP อยู่อย่างน้อย 6 เดือน ถ้าเรารอตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจเปลี่ยนอาจจะไม่ทันเวลา  เพราะตลาดหุ้นจะลงก่อนแล้วตัวเลขเหล่านี้ค่อยออกมาแย่ลงตามคาด  ดังนั้นเราต้องหาตัวนำ SET เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค, ยอดขายรถยนต์, ตัวเลขนำเข้าสินค้าทุน  เป็นต้น

10. ขยายความสินทรัพย์ต่างๆที่สำคัญ

10.1 เงินสด และ MMF
ข้อดี
- เป็นสินทรัพย์ที่ดีมากในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ...Cash is the king
- สภาพคล่องสูง จะเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้
- ความเสี่ยงต่ำมาก...
- การถือ MMF(Money market fund)  จะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินออมทรัพย์นิดหน่อย และความเสี่ยงต่ำกว่าเงินฝากกรณีที่เงินเกิน 1 ล้านบาท (เพราะอนาคตจะไม่มีการประกันเงินฝาก) เวลาขายเสียสภาพคล่องไปแค่ 1 วัน ถือเป็นตัวพักเงินชั้นดี
ข้อเสีย
- ไม่สร้างมูลค่าเพิ่มใดๆ...ในระยะยาวมูลค่าจะลดลงเรื่อยๆตามเงินเฟ้อ
- ฝากประจำระยะสั้นดีกว่าระยะยาว เพราะจะเสียโอกาสถ้าดอกเบี้ยเกิดปรับตัวขึ้น และเงินจะเสียสภาพคล่องไป

10.2 Bond (พันธบัตรและหุ้นกู้)
ข้อดี
- พันธบัตรเป็นสินทรัพย์ที่มั่นคงมาก...เพราะรัฐมีความสามารถชำระหนี้ได้ไม่จำกัด...มีปัญหาก็เก็บภาษีเพิ่มได้ (ยกเว้น ประเทศที่เศรษฐกิจและโครงสร้างทางการเงินไม่ดี  เช่น หนี้สาธารณะสูง)
- หุ้นกู้จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตร หุ้นกู้คือเราให้เงินเอกชนกู้และได้ดอกเบี้ยตอบแทน แต่จะเสี่ยงกว่าโดยมีการจัดอันดับหุ้นกู้...
- โดยอันดับความน่าเชื่อถือ  เช่น Tris rating จัดไว้ 8 อันดับ ตั้งแต่ AAA, AA, A, BBB, BB, B, C, D ระดับที่น่าลงทุนคือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป (ไล่จากความเสี่ยงน้อยไปเสี่ยงมาก  D คืออยู่ระหว่างการผิดนัด)
- ยิ่งระดับความเสี่ยงสูงขึ้น ผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้น (ดอกเบี้ยสูง)
ข้อเสีย
- bond ไม่มีสภาพคล่องเงินจมไปหลายปี รวมถึงตลาดตราสารหนี้ยังไม่มีสภาพคล่องให้ซื้อขายมากเท่าที่ควร
- ความเสี่ยงที่มูลค่า bond ลดลงถ้าดอกเบี้ยตลาดเพิ่มสูงขึ้นหรือความน่าเชื่อถือของบริษัทลดลง คนขายbond จะต้องลดราคาลงไม่อย่างนั้นคนก็ไม่ซื้อ เพราะคนจะไปซื้อตัวใหม่ที่ผลตอบแทนดีกว่า น่าเชื่อถือกว่า  เป็นต้น

10.3ประกันชีวิต
ข้อดี
- ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษี (เพราะรัฐต้องการส่งเสริมการออมเงิน)
- คนที่เหมาะทำประกันคือคนที่มีคนอื่นต้องดูแล  เช่น  ลูกเมียที่ทำงานไม่ได้พึ่งรายได้จากพ่อคนเดียว  ถ้าพ่อตายคนอื่นก็ไม่มีใครเลี้ยงดู
ข้อเสีย
- ได้เงินไม่คุ้มกับที่เสียเบี้ยประกันไป...เพราะมีการหักค่าบริหาร
- ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ บ.ประกันเอาเงินไปลงทุนความเที่ยงสูงแล้วเอาที่เหลือมาคืนเรา (ถ้าเราลงทุนเองได้มากกว่า)
หมายเหตุ – ประกันชีวิตไม่ได้ทำให้เราไม่ต้องป่วยต้องตาย  สำคัญที่สุดคือดูแลสุขภาพ  งดเหล้าบุหรี่ยาเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงทุกอย่างเพื่อคนที่เรารักและคนที่รักเรา

10.4 LTF (Long term equity fund)
- Highly recommend จากผม  เพราะต้องถือยาว 5 ปีถึงจะขายได้  และที่สำคัญได้สิทธิลดหย่อนภาษี  (กรณีขายก่อน 5 ปีจะเสียสิทธิ) ทำให้ไม่ต้องซื้อขายบ่อยๆซึ่งเป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่ขาดทุน...โอกาสค่อนข้างกำไรแน่นอน (แต่ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์)
- ได้สิทธิลดหย่อนภาษี  มูลค่าลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 15%ของรายได้สูงสุดถึง 500,000-700,000 บาทต่อปี คนที่ฐานภาษีสูงยิ่งได้ประโยชน์
- มีหลายแบบให้เลือก ทั้งหุ้น หรือหุ้นผสมตราสารหนี้ แต่ผมเชียร์กองทุนหุ้นเพราะถือยาวตั้ง 5 ปียังงัยก็กำไรค่อนข้างแน่นอน (ผลตอบแทนระยะยาว LTF อยู่ที่ 12%ต่อปี)
- ดูนโยบายกองทุนด้วยว่าเป็นเชิงรุกหรือเชิงรับ
- อาจจะซื้อแบบ Dollar cost average คือซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน ..ใช้เงินซื้อเท่าๆกันทุกเดือน

10.5สินค้าโภคภัณฑ์ (commodities)
- สินค้าโภคภัณฑ์ คือ ของที่เหมือนกัน  เช่น
-1.) Hard commodities (มนุษย์ผลิตไม่ได้) เช่น ทองคำ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เหล็ก เงิน(โลหะ) ...
-2.) Soft commodities (มนุษย์ผลิตได้) เช่น ยาง ถั่วเหลือง ข้าว น้ำตาล กาแฟ ข้าวโพด วัว เป็ดไก่ ...
- การลงทุนต้องดู demand vs supply เป็นหลัก  อันนี้สำคัญมากๆ...^^
- ถ้า demand > supply เป็นช่วงขาขึ้น  (ไม่ว่าจะเป็น demand เพิ่มหรือ supply ลดก็ตาม)
- ถ้า supply > demand เป็นช่วงขาลง  (ไม่ว่าจะเป็น supply เพิ่มหรือ demand ลดก็ตาม)
- ดู cycle ของสินค้าที่เข้ามาทดแทนใหม่แต่ละอย่างว่าใช้เวลาผลิตกี่ปี? เมื่อ supply ใหม่เข้ามาจะจบรอบขาขึ้น
- ราคาจะผกผันกับหุ้นบางตัว  เพราะบริษัทใช้สินค้าโภคภัณฑ์วัตถุดิบ ถ้าราคาสูงต้นทุนจะสูงและกำไรน้อย ยกเว้นบริษัทนั้นขายสินค้าโภคภัณฑ์ซะเอง...ช่วงแรกจะกำไรมาก  ตอนที่  Demand > Supply และบริษัทมีสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก
หมายเหตุ - ระวัง!!!  เพราะเป็นธุรกิจที่คาดเดายากต้องใช้ความรู้และข้อมูลมาก

10.6 อสังหาริมทรัพย์
- ขึ้นอยู่กับ Location Location และ Location
- ตัวอย่างเช่น  ที่ดิน บ้าน คอนโด ห้องแถว อพาร์ตเม้นต์ ...
- จะซื้อขายขาดหรือปล่อยให้เช่าก็ได้
- กรณีเช่า...ควรเลือกใกล้สถานศึกษาหรือที่ทำงาน โดยกลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นคนที่อาศัยอยู่ชั่วคราว เช่น นักศึกษาหรือชาวต่างชาติที่ทำงานไม่นานก็ต้องเปลี่ยนที่ไปไม่ได้อาศัยตลอดชีวิต
- ชนชั้นกลางจะชอบซื้อขาดมากกว่าที่จะเช่า
- กรณีซื้อขาด...ให้มีเงินทุนหมุนเวียนไว้ส่วนนึงเพราะซื้อขายไม่คล่อง
- บ้านที่เราพักอาศัยคือสินทรัพย์ที่น่าลงทุน
- แนวโน้มค่าที่ดินจะขึ้นตามจำนวนคนที่สัญจรไปมา

10.7 ทอง
- เป็น Hard currency ตัวนึงไปแล้ว
- เป็น Safe haven หรือที่พักเงิน กรณีคนไม่มั่นใจค่าเงินดอลล่าร์
- Supply มีจำกัด แต่ความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ(จากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ อิเล็กโทรนิค ธนาคารกลางของประเทศต่างๆเก็บเป็นเงินทุนสำรอง) ...น่าจะดีในระยะยาว  ระยะสั้นผันผวนคาดเดายาก
- ดีมากในช่วงเงินเฟ้อ หรือ เศรษฐกิจแย่มากๆ  สงคราม
- ค่าเงินบาทมีผลต่อราคาทอง...
ข้อเสีย
-ต้องหาที่เก็บและไม่มีดอกเบี้ยหรือปันผล ช่วงเศรษฐกิจปกติราคาจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก

ขอแบ่ง 2 ตอนนะครับ  เดี๋ยวจะยาวเกินไป  ตอนหน้าจะพูดถึงเรื่องหุ้นอย่างเดียวเลยครับ

ปล. เพื่อนๆนักลงทุนคนไหนที่สนใจจะเรียน  ให้แจ้งความสนใจไว้ในความเห็นของ blog หรือใน Web page facebook ของ mind investing blog ได้ครับ

 :D

33 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าไม่ลำบากเกินไปรบกวน post ลง youtube จะดีมากครับ

    ตอบลบ
  2. ความตั้งใจ เยี่ยมจริงๆครับ :D

    ตอบลบ
  3. @คุณ Lex ... ผมอยากจะเก็บประสบการณ์ให้มากที่สุดก่อนน่ะครับ จะได้เข้าใจผู้ฟัง สามารถพูดแล้วตรงใจและผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ผมชอบการสื่อสาร 2 ทางมากกว่าครับ แต่ถ้าผมมีทีมช่วยและมีประสบการณ์มากขึ้น ผมจะทำเป็น mass media แน่นอนครับ :D

    @คุณ Unsign ... ขอบคุณครับ :D

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดีมาก สนใจครับ

    ตอบลบ
  5. เนื่อหารอบด้านเลยค่ะ สนใจไปขอฟังด้วยคน

    ตอบลบ
  6. ขยัน เก่ง แล้วยังมีน้ำใจอีก
    ขอให้พอร์ตถึงพันล้านเร็วๆ นะครับ :)

    ตอบลบ
  7. @คุณ Decha คุณ ore ...ตอนนี้มี 3 คนแล้วครับ (รวมคุณตากล้องใน FB page) ขออีก 2 คนนะครับ

    @คุณ Pansa ... ขอบคุณครับพี่บี :D

    ตอบลบ
  8. ขอไปฟังด้วยคนครับ ball_1187@hotmail.com

    บอล

    ตอบลบ
  9. ขอเรียนรู้ด้วยคนน่ะครับพี่ _/\_ ขอบคุณครับ pol_e30@hotmail.com

    ตอบลบ
  10. ขอบคุณคุณบอล และคุณ pol ที่สนใจนะครับ ตอนนี้ครบ 5 คน แล้วถ้าได้เวลาที่ลงตัวผมจะแจ้งให้ทราบนะครับ ทาง blog, FB, และ emailที่แจ้งไว้นะครับ เวลาน่าจะเป็นเดือน ต.ค. หรือ พ.ย.อ่ะครับ :D

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ6 กันยายน 2554 เวลา 20:43

    สนใจสองที่ครับ
    wsnp_titi@yahoo.co.th
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ
  12. ขอร่วมฟังด้วยคนครับ จองหนึ่งทีครับ
    zake_orr@yahoo.com
    ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2554 เวลา 00:57

    อ่านแนวคิดของพี่แล้วน่าสนใจมากครับ แนวคิดรอบด้านอ่ะครับ
    ตอนนี้ผมเรียนแพทย์เหมือนกับพี่อ่าครับ เลยอยากไปแลกเปลี่ยนความคิดกันอ่ะครับ ขอจอง 1 ที่ครับ docapon@hotmail.com
    ถ้าโพสบอกใน facebook จะดีมากเลยครับ hotmail เมลเยอะไปหมดเลย ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  14. สนใจร่วมฟังด้วยค่ะ ไม่ทราบยังมีที่ว่างหรือเปล่าค่ะ

    ตอบลบ
  15. ยังไม่ได้จัดซักรอบเลยครับ เพราะช่วงนี้งานผมเข้ามากมายแล้วยังเรื่องน้ำท่วมกทม.อีกครับ ยังงัยผมจะแจ้งให้ทราบอีกทีนะครับ :D

    ตอบลบ
  16. เป็นความตั้งใจที่ดีของคุณก๊อบนะครับ ขอติดตามบล็อกด้วยคน ผมเองก็เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเช่นกันที่ MonkeyFreeTime.com และ ClubVI.com แนะนำ-ติชมได้ครับ

    ตอบลบ
  17. ขอบคุณคุณ Antoni'O' นะครับ

    ผมเข้าไปดู Website ทั้ง 2 แห่งแล้ว น่าสนใจมากครับ ขอติดตามด้วยคนนะครับ :D

    ตอบลบ
  18. สนใจมากครับ ถ้าเปิดอบรมช่วยติดต่อกลับ anuwat_sme@yahoo.com ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  19. ไม่ระบุชื่อ19 ธันวาคม 2554 เวลา 19:45

    อยากเข้าไปเรียนอยู่จ.สุรินทร์ มีเพื่อนร่วมลงทุนมือใหม่ 4 คน ไม่ทราบพอจะมีเวลาสอนไดไหมรับ sirimethagul@hotmail.com

    ตอบลบ
  20. ถ้าเปิดขอลงชื่อไปเรียนด้วยคนนะครับ 1 ที่ครับ

    eaw_cpe@yahoo.com

    ตอบลบ
  21. ผมรวบรวมคนที่สนใจเรียนได้ 5 คนแล้ว ถ้าเปิดคอร์สแล้วช่วยติดต่อกลับ mint_gozzi@hotmail.com
    ขอบคุณมากครับ
    Hmin

    ตอบลบ
  22. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2555 เวลา 19:42

    ขอแจมด้วยหนึ่งคนครับ
    salanwit@gmail.com
    นะ

    ตอบลบ
  23. จะเปิดเมื่อไหร่ครับ สนใจอยากเรียนรู้ด้วยครับ RATCHAPOL1@HOTMAIL.COM

    ตอบลบ
  24. ผมประทับใจแนวคิดที่ได้จากการอ่านบทความในblogของคุณก็อบ
    จะเปิดสอนอีกหรือเปล่าครับ ถ้าอย่างไรผมขอลงชื่ออีกึนนะครับ multimediaone@gmail.com

    ตอบลบ
  25. ถึงเพื่อนๆนักลงทุนทุกท่าน ผมของดการเปิดคอร์สสอนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องด้วยว่าจากช่วงนี้เป็นต้นไป ผมไม่สามารถมีเวลาว่างเหมือนเมื่อก่อน จากการสอบใหญ่ที่ใกล้เข้ามา การแต่งงาน และต้องมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น ช่วงเรียนจบต้องย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดกับภรรยา ผมไม่ต้องการเปิดการสอนการลงทุนเป็นอาชีพเหมือนหลายๆคนที่ทำกัน ตั้งใจทำเป็นงานอดิเรก ดังนั้นผมเองคงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้เวลากับอาชีพหลักและครอบครัวครับ

    ผมแนะนำการศึกษาตามหัวข้อที่ผมเขียนเอาไว้เพราะเป็น Outline ที่ผมใช้เวลาสอนเรื่องการลงทุน เหมือนแผนที่กว้างๆ ที่นำไปต่อยอดได้ครับ

    ขอบคุณทุกท่านมากๆที่สนใจมาฟัง ถ้าผมมีเวลาจะเขียนบทความ ไอเดียมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่าน รวมถึงมีคำถามอะไรสามารถโพสถามที่หน้า wall หรือ blog ได้เลยครับ ขอบคุณและขอโทษด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  26. มือใหม่ครับผม11 เมษายน 2555 เวลา 13:24

    รบกวน ขอวิธี ทีจะทำให้เรามีวินัยในการลงทุนครับ

    เช่น เวลา inducator เรามีสัญญาณ ให้ซื้อ เราก้ไม่ซื้อ พอราคา มันขึ้นไป ก็ยิ่งไม่กล้า ซื้อ
    ได้แต่เสียดาย ทำตาปริบๆ

    ช่วยแนะนำ วิธีแก้ ด้วยครับ

    ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. การที่เราจะมีวินัย (Discipline)ในการลงทุนได้

      1.เราต้องชัดเจนก่อนว่าหลักการลงทุนของเราคืออะไร? อะไรคือกฎของการลงทุนของเราที่ต้องปฎิบัติตาม ซึ่งหลักการเหล่านั้นต้องพิสูจน์ว่าได้ผลตอบแทนคาดหวัง (Expect profit) ที่เป็นบวกครับ

      2.เราต้องเข้าใจเบื้องหลังของกฎว่าเพราะอะไรถึงได้ผล เช่น การใช้ indicator ตัวนี้ True positive เท่าไร? False positive เท่าไร? หรือ การที่เราซื้อหุ้นตามพื้นฐานของบริษัทที่กำลังเติบโตราคาหุ้นจะขึ้นตามเพราะอะไร? การที่เราเข้าใจหลักการลงทุนของเราจะทำให้เรามี"ความเชื่อมั่น" จริงๆ

      3.เมื่อเรารู้แล้วว่าวินัยของเราคืออะไร(ข้อ 1) และเชื่อมั่นในระบบการลงทุนของเรา (ข้อ 2) เราจะทำตามวินัยได้มากขึ้นเพราะส่วนใหญ่ที่เราทำตามวินัยไม่ได้เพราะใจเราไม่ชัดเจนและเชื่อมั่นในหลักการลงทุนของเราเพียงพอว่าจะทำกำไรได้

      แล้วให้ทำตามวินัยหรือกฎที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัด โดยมีการประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ (เช่น ทำ check list ในสมุด)

      4.การให้รางวัลและลงโทษตนเอง การให้แรงเสริมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบางครั้งการปฎิบัติตามวินัยอาจจะไม่เห็นผลในทันที เช่น cut loss หุ้นดันขึ้น แต่ ถือเพื่อ let profit ต่อหุ้นดันลง ถ้าหลักการที่เราใช้ได้รับการพิสูจน์ว่าใช้ได้เราจะต้องให้รางวัลที่เราทำตามกฎได้ เช่น ซื้อของดีๆให้ตนเอง แม้ว่าจะได้ผลลบก็ตาม (เพราะไม่มีหลักการอะไรถูก 100% ไม่ผิดพลาดเลย)

      เราจะปฎิบัติได้สม่ำเสมอขึ้นเพราะมีแรงเสริมทางบวก (รวมถึงการลงโทษตนเองถ้าไม่ทำตามกฎที่ตั้งไว้ครับ)

      5.หมั่นตรวจสอบการลงทุนของเราว่ายังมีผลตอบแทนเป็นบวกหรือไม่? ถ้าเห็นว่าพัฒนาได้ก็ควรพัฒนาให้ดีขึ้น เพราะการมีวินัยแต่ยังขาดทุนไปเรื่อยๆย่อมไม่ดีแน่ครับ การมีวินัยควรมีในหลักการที่ใช้ได้ผลด้วยครับ

      ขอบคุณที่ถามนะครับ :D

      ลบ
  27. มือใหม่ครับผม23 เมษายน 2555 เวลา 10:49

    ขอขอบพระคุณ คุณGob Pongsakorn มากครับ _/|\_

    คำตอบ สุดยอดเลยครับ
    เดี่ยวจะ print เก็บไว้ปฏิบัติครับ :-)

    ปล.ขอโทษทีมาขอบคุณช้าครับ หายไปสงกรานต์ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณสำหรับคำถามดีๆเช่นกันครับ

      ส่วนนึงที่ผมชอบการสอนเพราะจะได้รับคำถามที่กระตุ้นความคิด...ได้เปิดสมองผมเองให้กว้างขึ้นน่ะครับ

      หวังว่าคำตอบจะเป็นประโยชน์นะครับ :D

      ลบ
  28. ผมเพิ่งได้เข้ามาอ่านใน blog ของคุณ Gob

    ได้รับความรู้ที่น่าสนใจทีเดียว

    โดยส่วนตัวผม พยายามที่จะหาวิธีการเก็บออม และทำให้เกิดดอกผลสูงสุด หลังจากลงทุนใน LTF แล้ว ผมจึงได้เริ่มเข้ามาศึกษาการเล่นหุ้นด้วยตัวเอง และจากที่ลองมาประมาณ สี่เดือนนั้น ได้ผลที่ค่อนข้างดี แม้ว่าจะมีการ cut loss บ้างช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ^^

    หลังจากอ่านที่คุณ Gob วิเคราะห์แล้วยิ่งน่าสนใจ ในเรื่องการวิเคราะห์ถึงแก่นในตัวสินค้า ผมได้ลองมาทั้งในรูปแบบเล่นสั้น เล่นไม่สั้นมาก(ประมาณเดือน) แล้วก็หุ้นปันผล

    สุดท้าย ผมรู้สึกอย่างมากว่า การเล่นสั้นไม่เหมาะกับผม เพราะมันทำให้เราต้องพยายามดูตลาดทุกครั้งที่ทำได้ เสียสมาธิกับงานมากๆ ครับ ดังนั้นผมจึงตัดสินใจ ตัดวิธีการเล่นเช่นนี้ทิ้งไป (เล่นรอบสั้น รายวัน) ดังนั้นวิธีการอ่านงบการเงิน ก็พยายามทำอยู่ แต่อยากได้รับรู้วิธีวิเคราะห์จากปัจจัยจริงๆ ของสินค้าตัวนั้นๆ ครับ

    ขออนุญาติติดตามและสอบถามต่อไปครับผม ^^

    จากที่อ่านมา พบว่า คุณ gob เพิ่งมีครอบครัวไม่นาน ขอให้มีความสุขกับครอบครัวมากๆ นะครับ

    ขอบคุณครับ ที่เขียนบทความดีๆ เช่นๆ นี้ มาให้อ่านกัน

    ผมจะพยายามไล่อ่านตามให้จบนะครับ ^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณคุณ Thanawat oak ที่ติดตามเช่นกันครับ ..หวังว่าจะได้ประโยชน์ทั้งในชีวิตการลงทุนและชีวิตด้านอื่นๆด้วยนะครับ :D

      ผมว่าสุดท้ายเราทุกคนต้องค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเราเหมาะกับแนวทางการลงทุนแบบไหน แต่ช่วงแรกอาจจะต้องลองศึกษาลองผิดลองถูกหน่อย แต่เราจะได้ประสบการณ์ที่กลับมาครับ

      ผมคิดว่าแนวทางการลงทุนในหุ้นเติบโตเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้...แต่ต้องจับให้ถูกจุดคือ การเข้าใจธุรกิจที่เราจะลงทุนเป็นอย่างดีจนคาดการณ์ความน่าจะเป็นของอนาคตกิจการของมาได้ ศึกษา Business Model ของธุรกิจเป็นหลัก ส่วนการอ่านงบการเงินเอาไว้ทำความเข้าใจลักษณะการเงินของธุรกิจและนำไปสู่การตังสมมุติฐานในอนาคตเชิงตัวเลขน่ะครับ

      ขอบคุณครับ

      :D

      ลบ
  29. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ ขอติดตามด้วยคนนะคะ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น